Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2182
Title: Knowledge Management and Organizational Cooperation affecting on Public Sector Manangement Quality : The Case Study of the 4th administrative area of Probation Office 
การจัดการความรู้และความร่วมมือในองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ : กรณีศึกษา คุมประพฤติเขต 4
Authors: Mingkhwan Kumwong
มิ่งขวัญ คุ้มวงศ์
Chinnawat Chuea
ชินวัตร เชื้อสระคู
Mahasarakham University
Chinnawat Chuea
ชินวัตร เชื้อสระคู
chinnawat.c@msu.ac.th
chinnawat.c@msu.ac.th
Keywords: การจัดการความรู้
ความร่วมมือในองค์การ
คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
Knowledge Management
Cooperation in the Organization
Public Management Quality
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were to study 1) the level view of knowledge management, 2) the level view of cooperation in the organization, 3) the level view of quality of public sector management, 4) the elements of knowledge management and the elements of cooperation in organizations that influence the quality of public management and 5) comments and/or suggestions on Knowledge Management, Cooperation in organization and Public Management Quality. The study that applied in the research was mixed-methods approach. The sample included 217 staff, which were civil servants, full-time and temporary employees. The questionnaires were the 5-likert scales, while statistics used to analyze the data are frequency, percentage, mean, standard deviation and multiple regression analysis. 6 Informants were executives, which were collected by in-depth interview.  The results showed that 1) the overall level of knowledge management was very agreeable (Mean = 3.96), 2) the level of cooperation in the organization as a whole was very agreeable (Mean = 4.02), 3) the quality level of public sector management in the overall was very agreeable (Mean = 4.03). Independent variables, including Knowledge Management and Organizational Cooperation had a statistically significant prediction of the Public Management Quality at a level of 0.05 and predictive power as of 84.4 percent. The goal recognition variable has the most power to forecast, which the regression coefficient of forecasting. 30.6 percent, followed by resource sharing at 23.7 percent. The study can be discussed that Individual employees should know their own indicators, as well as in departmental and organizational categories as well as Executives should ensure and provide availability of resources such as materials, supplies, and equipment are prepared so that there are no problems in the work that will affect the organizational effectiveness. Recommendations from the study were found to be consistent with relevant research that studied knowledge management as an administrative tool that enhances the competitiveness of the organization. Apart from knowledge management within the office, there should be an interchange of learning among different offices to increase knowledge and promote activities continuously. In terms of cooperation in the organization, it is a preferable culture that helps to create unity, bonding in the organization and helping each other solve problems. Executives and related departments such as Human Resources should organize formal vs informal activities such as meetings, mentoring and team building to help organizations achieve their goals better and faster.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นการจัดการความรู้ 2) ระดับความคิดเห็นความร่วมมือในองค์การ 3) ระดับความคิดเห็นคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4) องค์ประกอบของการจัดการความรู้และความร่วมมือในองค์การที่มีอิทธิพลทำนายคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 5)ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่มีต่อการจัดการความรู้ ความร่วมมือในองค์การและคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ การศึกษาใช้วิธีวิจัยเชิงผสมผสานกลุ่มตัวอย่างประกอบไปด้วย ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 217 คนโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามการรับรู้แบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ และกลุ่มตัวอย่างผู้ให้สัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้อำนวยการ จำนวน 6 คน โดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการความรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.96) 2) ความร่วมมือในองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.02) 3) คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.03) 4) ตัวแปรอิสระอันได้แก่การจัดการความรู้และความร่วมมือในองค์การต่างมีอิทธิพลต่อการทำนายคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีอำนาจการพยากรณ์ ได้ร้อยละ 84.4  โดยองค์ประกอบความร่วมมือในองค์การ ด้านเป้าหมายเป้าประสงค์ มีอำนาจพยากรณ์ตัวแปรตามได้มากที่สุดที่ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของการพยากรณ์ ร้อยละ 30.6 รองลงมา คือ การแบ่งปันทรัพยากร ร้อยละ 23.7 โดยสามารถอภิปรายผลได้ว่า นอกเหนือจากการสื่อสารให้บุคคลากรได้ตระหนักถึงความสำคัญของตัวชี้วัดรายบุคคล รายกลุ่ม (แผนก) และระดับองค์การแล้ว ผู้บริหารต้องสร้างความมั่นใจว่าได้เตรียมทรัพยากรทางการบริหารอัน ได้แก่ วัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ไม่มีปัญหาในด้านการทำงานอันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพขององค์การต่อไป   ข้อเสนอแนะ จากผลการศึกษาพบความสอดคล้องกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งศึกษาด้านการจัดการความรู้ว่าเป็นเครื่องมือทางการบริหารที่ช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันขององค์การ นอกจากจะให้ความสำคัญในเรื่องการจัดการความรู้ภายในสำนักงานแล้ว ควรจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรต่างสำนักงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้และส่งเสริมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ในด้านความร่วมมือในองค์การเป็นวัฒนธรรมที่ช่วยสร้างความสามัคคี ความผูกพันในองค์การและช่วยกันแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี ผู้บริหารและแผนกที่เกี่ยวข้องเช่น ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ควรจัดกิจกรรมทั้งที่เป็นทางการ เช่น การประชุม การมีระบบพี่เลี้ยงและที่ไม่เป็นทางการ เช่น การสร้างทีม เพื่อช่วยให้องค์การบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นต่อไป
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2182
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64011382002.pdf3.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.