Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2185
Title: Out Patient Department System Development of Chayangkul Primary Care Cluster, Sunpasitthiprasong Hospital, Ubon Rachathani Province
การพัฒนาการบริการผู้ป่วยนอกของคลินิกหมอครอบครัวชยางกูร  โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
Authors: Phana Mingchai
พนา มิ่งไชย
Terdsak Promarak
เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์
Mahasarakham University
Terdsak Promarak
เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์
trairong.s@msu.ac.th
trairong.s@msu.ac.th
Keywords: การพัฒนาบริการผู้ป่วยนอก
วิจัยเชิงปฏิบัติการ
TEAM
Outpatient service development
Action research
TEAM
Issue Date:  8
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The Family Doctor Clinic is one of the developments in the primary care system based on the heart of family medicine, which is patient-centered care. This research aims to To develop outpatient services of the Chayangkun Family Doctor Clinic Sappasitthiprasong Hospital Ubon Ratchathani Province It is an action research with 4 steps: 1. Planning 2. Implementation 3. Observation 4. Reflection It was conducted between February and April 2023. The sample group was 21 members of the Chayangkun Primary Care Network Executive Committee and 385 recipients of the Chayangkun family doctor's clinic. Data were collected by using a questionnaire. and an assessment form for quality criteria and standards for primary health care services Data were analyzed using mean, percentage, standard deviation. Comparison before and after development by Paired t-test dependent and content analysis. The study found that Outpatient service development process consists of 9 steps: 1. Context and situation analysis. 2. Prepare an action plan. 3. Develop the potential of the Chayangkun family doctor team. 4. Bring information technology to use in family doctor clinics. 5. Proactive implementation in the community 6. Workshop “Infection prevention and control system” 7. Support, follow-up, supervision 8. Assessment of quality criteria and standards for primary health care services 9. Take lessons learned, arrange exchange forums The operational analysis found that service providers had an average level of roles and satisfaction in outpatient services increased from before development at a statistical significance level of 0.05 (P-value < 0.001). The service recipients had a high level of satisfaction in receiving the service. After the development, it was found that Chayangkun Family Doctor Clinic passed the quality criteria and standards for primary care services 2023 in all aspects, with success factors as follows: TEAM consists of: T (Teamwork) means working together as a team E (Effectiveness) means efficiency of work A (Access) means people's access to primary care services M (Mastery) means having leadership
คลินิกหมอครอบครัวจัดเป็นพัฒนาการขั้นหนึ่งของการจัดระบบบริการในระดับปฐมภูมิโดยอาศัยหัวใจของเวชศาสตร์ครอบครัว คือ การดูแลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการบริการผู้ป่วยนอกของคลินิกหมอครอบครัวชยางกูร โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน คือ 1.การวางแผน 2.การปฏิบัติ 3.การสังเกต 4.การสะท้อนผล ดำเนินการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เมษายน 2566 กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการบริหารเครือข่ายบริการปฐมภูมิชยางกูร จำนวน 21 คน และกลุ่มผู้รับบริการในคลินิกหมอครอบครัวชยางกูร จำนวน 385 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบประเมินเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนาด้วย Paired t-test dependent และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการพัฒนาการบริการผู้ป่วยนอกมีทั้งหมด 9 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1.การวิเคราะห์บริบทและสถานการณ์ 2.จัดทำแผนปฏิบัติการ 3.พัฒนาศักยภาพทีมหมอครอบครัวหมอครอบครัวชยางกูร 4.นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในคลินิกหมอครอบครัว 5.การดำเนินงานเชิงรุกในชุมชน 6.ประชุมเชิงปฏิบัติการ “ด้านระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ” 7.สนับสนุนติดตาม นิเทศงาน 8.ประเมินเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ 9.ถอดบทเรียนจัดเวทีแลกเปลี่ยน ซึ่งการวิเคราะห์การดำเนินงาน พบว่า ผู้ให้บริการมีระดับค่าเฉลี่ยของบทบาทและความพึงพอใจในการบริการผู้ป่วยนอกเพิ่มสูงขึ้นจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P-value<0.001) ผู้รับบริการมีระดับความพึงใจในการมารับบริการในระดับมาก หลังการพัฒนา พบว่าคลินิกหมอครอบครัวชยางกูรผ่านเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566 ทั้ง 8 ด้าน ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนาการบริการผู้ป่วยนอกของคลินิกหมอครอบครัวชยางกูร โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี คือ TEAM ประกอบด้วย T (Teamwork) หมายถึง การทำงานร่วมกันเป็นทีม E (Effectiveness) หมายถึง ประสิทธิภาพของการทำงาน A (Access) หมายถึง การเข้าถึงบริการด้านปฐมภูมิของประชาชน M (Mastery) หมายถึง การมีภาวะผู้นำ  
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2185
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61051480016.pdf7.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.