Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2186
Title: The Development of Inpatient Medication ReconciliationAt  Na Yia Hospitals, Ubon Ratchathani Province
การพัฒนากระบวนการประสานรายการยา (Medication Reconciliation)งานบริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลนาเยีย  จังหวัดอุบลราชธานี
Authors: Samaporn Santhawasakul
สมาพร สันถวะสกุล
Terdsak Promarak
เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์
Mahasarakham University
Terdsak Promarak
เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์
trairong.s@msu.ac.th
trairong.s@msu.ac.th
Keywords: กระบวนการประสานรายการยา
ความคลาดเคลื่อนทางยา
Medication Reconciliation
Medication Error
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Medication reconciliation can reduce medication errors. This action research aimed to development of inpatient medication reconciliation at Na Yia Hospitals, Ubon Ratchathani province. This research is action research, which consists of 4 steps (PAOR), which are step 1 planning, step 2 action, step 3 observation, and step 4 reflection. The main target group were 17 personnel in Nayia Hospital, the secondary target group was 84 NCDs patients. Quantitative data was collected using questionnaires, opinion assessment form on the context and situation of medication reconciliation and prescription error report form.The data were collected by using focus group discussion and questionnaire. The quantitative data were mainly analyzed through descriptive statistics and the qualitative data were mainly analyzed through content  analysis. The results showed that: The most of the personnel were female, 76.47%. Most were in the range of 30 to 39 years old, 47.06%6, with a mean age of 42.46 +8.28 years, service years < 10 58.82%, departments affiliated with inpatient department the most, 47.06 %, professional nurse the most, 41.18%, graduated with a bachelor's degree the most, 46.47%, experience in medication reconciliation 10-19 years, mean 18.62 ± 9.68 years. Opinions on the medication reconciliation process, the role in the medication reconciliation process and the satisfaction in the development of the medication reconciliation process were at a high level. The process of medication reconciliation with the participation of the verification classification reconciliation and transfer. The medication reconciliation system was developed through operational research process using the Na Yia (Note, Ability, Year, Improvement ,Analysis), resulting in the overall drug tolerance was reduced. The success factors are Na Yia (Notice, Able, Yield, Adjust). Conclusion The MUANGMAI model can develop a medical supply management system in sub-district health promotion hospitals.
การประสานรายการยาสามารถลดความคลาดเคลื่อนเหตุใช้ยา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการประสานรายการยา (Medication Reconciliation) งานบริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) 4 ขั้นตอน (PAOR) คือ ขั้นที่ 1 การวางแผน (Planning) ขั้นที่ 2 การปฏิบัติ (Action)  ขั้นที่ 3 การสังเกตผล (Observation) ขั้นที่ 4 การสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มเป้าหมายหลัก เป็นบุคลากรในโรงพยาบาลนาเยีย จำนวน 17 คน กลุ่มเป้าหมายรองเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรค NCDs จำนวน 84 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม แบบประเมินความเห็นต่อบริบทและสถานการณ์การประสานรายการยา  แบบบันทึกในกระบวนการประสานรายการยา และแบบรายงานความคลาดเคลื่อนการสั่งใช้ยา และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.47 มีอายุอยู่ในช่วง 30-39 ปี มากที่สุด ร้อยละ 47.06 อายุเฉลี่ย 42.46 ± 8.28 ปี อายุราชการอยู่ในช่วง < 10 ปี ร้อยละ 58.82 หน่วยงานสังกัดงานผู้ป่วยในมากที่สุด ร้อยละ 47.06 ปฏิบัติงานในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพมากที่สุด ร้อยละ 41.18 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 46.47 ประสบการณ์ในการประสานรายการยา 10-19 ปี เฉลี่ย 18.62 ± 9.68 ปี ความคิดเห็นในการพัฒนากระบวนการประสานรายการยา บทบาทในการพัฒนากระบวนการประสานรายการ และ ความพึงพอใจในการพัฒนากระบวนการประสานรายการยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก กระบวนการประสานรายการยาอย่างมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย การทวนสอบ (Verification) การตรวจสอบ (Classification) การเปรียบเทียบ (Reconciliation) และการสื่อสารส่งต่อข้อมูล (Transfer) มีการพัฒนากระบวนการประสานรายการยาด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ด้วยต้นแบบ NAYIA คือ Note การบันทึกในการประสานรายการยา Ability พัฒนาศักยภาพบุคลากร Year การกำหนดกิจกรรมในหนึ่งปี Improvement ปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง Analysis  การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้ความคลาดเคลื่อนทางยาในภาพรวมลดลง ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการประสานรายการยา คือ NAYIAประกอบด้วย   Notice : ประกาศนโยบาย แนวปฏิบัติในการพัฒนากระบวนการประสานรายการยา ให้บุคลากรทราบเพื่อนำสู่การปฏิบัติ Able : มีทักษะที่ดีของบุคลากร Yield : การยินยอมปฏิบัติตามหลักการ Instrument : เครื่องมืออุปกรณ์ เพียงพอ Adjust: มีการปรับปรุงพัฒนาสม่ำเสมอ
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2186
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61051480017.pdf4.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.