Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2188
Title: Drug Management of Sub-District Health Promotion Hospitals, Srimuangmai District, Ubon Ratchathani Province
การพัฒนาระบบบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขตพื้นที่เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอศรีเมืองใหม่  จังหวัดอุบลราชธานี
Authors: Chonchanok Yongkunwanitchanan
ชนม์ชนกต์ ยงกุลวณิชนันท์
Terdsak Promarak
เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์
Mahasarakham University
Terdsak Promarak
เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์
trairong.s@msu.ac.th
trairong.s@msu.ac.th
Keywords: ระบบบริหารคลังเวชภัณฑ์
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
MUANGMAI model
medical supplied inventory management
participatory-action research
MUANGMAI model
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The sub-district health promotion hospital also encountered problems with the administration of medical supplies. Objectives : To develop a management system for medical supplies in health promotion hospitals in sub-district areas, network of primary health care units. Si Muang Mai District, Ubon Ratchathani Province. 65 staff by Purposive Sampling, 16 sub-district health promotion hospitals. Method : This research is action research, which consists of 4 steps (PAOR), which are Step 1 Planning, Step 2 Action, Step 3 Observation, and Step 4 Reflection. From May 2022 to September 2022, quantitative data was collected using questionnaires. The assessment form and indicators The data was analyzed with descriptive statistics. The chi-square test and the Wilcoxal range sequence before and after development of qualitative data Collect information from group conversations. Finding problems and finding ways to develop pharmaceutical management Performance reflection issues Qualitative data was analyzed using content analysis. The results showed that, according to the results of the study, most of the personnel were female, 75.4%. Most were in the range of 30 to 39 years old, 38.5%, with a mean age of 41.78 ± 10.29 years. The satisfaction in developing the pharmaceutical management system of the sample was measured at the level. 72.3% satisfaction rate. The pharmaceutical inventory management system was developed through the operational research process using the MUANGMAI model, resulting in the inventory rate not exceeding the target number of shortages. Decreased value of expired or worn out medicines The discrepancy in the amount of medicine inventory compared to the control account decreased. and the assessment of the drug administration is increasing. The key success factors (UBON) is Unity Budget Oner & Network. Conclusion The MUANGMAI model can develop a medical supply management system in sub-district health promotion hospitals.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยังพบปัญหาเกี่ยวกับการบริหารเวชภัณฑ์ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขตพื้นที่เครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ  อำเภอศรีเมืองใหม่  จังหวัดอุบลราชธานี เจ้าหน้าที่จำนวน 65 คน ด้วยวิธีจำเพาะเจาะจง จำนวนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 16 แห่ง วิธีการดำเนินการ การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน (PAOR) คือ ขั้นที่ 1 การวางแผน (Planning) ขั้นที่ 2 การปฏิบัติ (Action)  ขั้นที่ 3 การสังเกตผล (Observation) ขั้นที่ 4 การสะท้อนผล (Reflection) ในช่วงเดือน พฤษภาคม 2565 ถึง เดือน กันยายน  2565 ข้อมูลเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม แบบประเมินและตัวชี้วัดตามมาตรฐานรพสต.ติดดาว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา  การทดสอบไคสแควร์ และลำดับพิสัยวิลคอกซอล ก่อนหลังการพัฒนา ข้อมูลเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม การค้นหาปัญหาและหาแนวทางพัฒนางานบริหารเวชภัณฑ์ ประเด็นสะท้อนผลการปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.4 ส่วนใหญ่ มีอายุอยู่ในช่วง 30 ถึง 39 ปี ร้อยละ 38.5 อายุเฉลี่ย 41.78 ± 10.29  ปี ความพึงพอใจในการพัฒนาระบบบริหารเวชภัณฑ์ของกลุ่มตัวอย่างวัดเป็นระดับ พบว่า ส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจมาก ร้อยละ72.3 มีการพัฒนาระบบบริหารคลังเวชภัณฑ์ด้วยกระบวนการการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ด้วยต้นแบบ MUANGMAI model ส่งผลให้ อัตราคงคลังไม่เกินเป้าหมาย จำนวนรายยาขาดลดลง มูลค่ายาหมดอายุหรือเสื่อมสภาพลดลง ความคลาดเคลื่อนจำนวนยาคงคลังเทียบกับบัญชีคุมลดลง และคะแนนการประเมินการบริหารเวชภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น โดยมีปัจจัยความสำเร็จ (UBON)    คือ 1.ความร่วมมือ (Unity) 2.งบประมาณ (Budget) 3.บุคลากรทางด้านสาธารณสุข (Oner) 4.การสร้างเครือข่าย (Network) สรุป ต้นแบบ MUANGMAI model สามารถพัฒนาระบบการบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2188
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61051480019.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.