Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2192
Title: Quality Improvement of Inpatient Medical Records in Yasothon Hospital
การพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยในของโรงพยาบาลยโสธร
Authors: Sunon Chankaew
สุนนท์ จันทร์แก้ว
Vorapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
Mahasarakham University
Vorapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
vorapoj@msu.ac.th
vorapoj@msu.ac.th
Keywords: การพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน
เวชระเบียนผู้ป่วยใน
Improving the quality of medical records
inpatient medical record
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This action research aims to improve the quality of inpatient medical records in Yasothon Hospital. The research process is based on the action research concept consisting of planning, practice, observation and reflection. Selection of the operation area and the sample group for the specific development (Perposive Sampling). The sample group was the Medical Record Quality Development Committee of 33 people. Quantitative data was collected using the Medical Record Audit Guideline 2020. of the National Health Security Office (NHSO). Descriptive statistical data were analyzed, including percentage, mean, standard deviation. Compare mean scores using Z-test Statistic qualitative data. using an in-depth interview group discussions, observations, meeting notes perform content analysis. The study found that The development of inpatient medical record quality in Yasothon Hospital consisted of a 9-step process: 1) a study of the context of the quality of medical record recording problems; ) Implementation according to the plan 5) Supervision follow-up 6) Evaluation of the quality improvement of inpatient medical records 7) Comparison of results 8) Organizing a forum to exchange knowledge 9) Summarize the development according to the steps. Quality development process Recording of medical records for inpatients of Yasothon Hospital, including training to educate the committee on assessment criteria and those who are interested. According to the 2020 medical record quality assessment manual, a workshop was organized to obtain an action plan for problem solving. Summary of the process Participants gained knowledge according to the assessment criteria. That is, before the training, 60 percent had moderate knowledge, after the training, 64 percent of the committee members had good knowledge and 32 percent had very good knowledge, and the process for improving the quality of medical record recording was obtained in 4 urgent criteria out of a total of 12 criteria. The evaluation is Criterion 3 Inform Consent is Criterion 4 History Criterion 5 Physical Exam Criterion 7 Consultation Record It can be seen that after the development there is an increase from the original 50.33 percent 55.78 71.29 77.78 according to The order of increase was 79.72%, 71.38, 76.49 and 58.02. From the data, it can be seen that criterion 7 Consultation Record has decreased percentage. which is an opportunity for further development In summary, it can be seen that the process of improving the quality of inpatient medical records at Yasothon Hospital have a better development trend. The success factor is the extension from the committee to those involved in the medical record recording. Promote participation in integrated development Strengthen incentives to improve the quality of medical records with more stakeholders.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยในของโรงพยาบาลยโสธร โดยมีขั้นตอนการวิจัยตามแนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล เลือกพื้นที่ดำเนินการและกลุ่มตัวอย่างในการพัฒนาแบบเฉพาะเจาะจง (Perposive Sampling) กลุ่มตัวอย่างคือคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพเวชระเบียน จำนวน 33 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้คู่มือตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน(Medical Record Audit Guideline) 2563 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนโดยใช้สถิติ Z-test Statistic ข้อ มูลเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกต แบบบันทึกการประชุม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยในของโรงพยาบาลยโสธร มีกระบวนการ 9 ขั้นตอนได้แก่ 1) การศึกษาบริบทของปัญหาการบันทึกคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน 2) การจัดประชุมว่างแผนเชิงปฏิบัติการ 3) จัดทำแผนปฏิบัติการ 4) การปฏิบัติการตามแผน 5) การนิเทศติดตาม 6) ประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยใน 7) การเปรียบเทียบผล 8) การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 9) สรุปผล การพัฒนาตามขั้นตอนได้กระบวนการพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยในของโรงพยาบาลยโสธร ได้แก่ การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินแก่คณะกรรมการและผู้ที่สนใจ ตามคู่มือแบบประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน 2563 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ได้แผนปฏิบัติการในการแก้ปัญหา สรุปผลกระบวนการดังกล่าว ผู้เข้าอบรมมีความรู้ตามเกณฑ์การประเมินเพิ่มขึ้น คือก่อนอบรมมีความรู้ระดับปานกลางร้อยละ 60 หลังอบรมคณะกรรมการมีความรู้ระดับดีร้อยละ 64 และระดับดีมากร้อยละ 32 และได้กระบวนการในการพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนใน 4 เกณฑ์เร่งด่วน จากทั้งหมด 12 เกณฑ์การประเมิน ได้แก่ เกณฑ์ข้อที่ 3 Inform Consent คือ เกณฑ์ข้อที่ 4 History เกณฑ์ข้อที่ 5 Physical Exam เกณฑ์ข้อที่ 7 Consultation Record จะเห็นได้ว่าหลังการพัฒนามีการพัฒนาที่เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 50.33 55.78 71.29 77.78 ตามลำดับเพิ่มขึ้นร้อยละ 79.72 71.38 76.49 และ 58.02 จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าเกณฑ์ข้อที่ 7 Consultation Record มีร้อยละที่ลดลง ซึ่งคือโอกาสในการพัฒนาต่อไป โดยสรุป จะเห็นได้ว่ากระบวนการการพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยในของโรงพยาบาลยโสธร  มีแนวโน้มในการพัฒนาที่ดีขึ้น ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือการต่อยอดจากคณะกรรมการสู่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบันทึกเวชระเบียน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแบบบูรณาการ เสริมสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มากยิ่งขึ้น
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2192
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63011481018.pdf9.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.