Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2193
Title: Effect of The Self-Efficacy Enhancement Program on Fall Prevention among The Elderly in Sisaket Municipality, Sisaket Province 
ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองต่อการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
Authors: Tatiya Pengchai
ตติยา เพ็งชัย
Surasak Thiabrithi
สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์
Mahasarakham University
Surasak Thiabrithi
สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์
surasak.t@msu.ac.th
surasak.t@msu.ac.th
Keywords: ผู้สูงอายุ
โปรแกรมการป้องกันการหกล้ม
การรับรู้ความสามารถของตนเอง
พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม
Elderly
Fall prevention program
Self-efficacy
Behaviors of fall prevention
Issue Date:  19
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The aim of this quasi-experimental research was to study the effect of the self-efficacy enhancement program on fall prevention among the elderly in Sisaket Municipality, Sisaket Province. The participants were then randomly selected and divided into the experimental group (n=33) and the controlled group (n=33). The experimental group received the self-efficacy enhancement program on fall prevention consisting of group education, TaiJi Qigong exercise, Ambulation training program, Mobility aid training program, Environment modification program and Home visiting program. while The control group received usual care. Data were collected by the researcher using questionnaires. Data were analyzed using descriptive statistics, comparing general data and environmental data with Chi-square test and t-test. It's was found that after the intervention the experimental group had higher average score of self-efficacy, outcome expectation and behaviors of fall prevention than before the intervention and the control group (p <0.001).  The finding support that the effect of the self-efficacy enhancement program on fall prevention among the elderly in Sisaket Municipality, Sisaket Province. can promote behaviors of fall prevention among the elderly, Furtue study choose add the booster activities to sustain behaviors of fall prevention among the elderly.
วัตถุประสงค์ของการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental research) ครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองต่อการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 66 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองต่อการป้องกันการหกล้ม ประกอบด้วย 1) กิจกรรมเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการหกล้ม 2) การออกกำลังกายไท่จิชี่กง 3) ทักษะการเปลี่ยนท่าทางอิริยาบถต่างๆ 4) การสาธิตการใช้อุปกรณ์ช่วยการเคลื่อนไหว 5) การปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในนอกบ้าน และ 6) ออกติดตามเยี่ยมบ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ แบบสอบถามความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ และแบบสอบถามพฤติกรรมในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบ Chi-square และการทดสอบสถิติที (Independent t-test และ Paired t-test) ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันการหกล้ม ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันการหกล้ม และพฤติกรรมในการป้องกันการหกล้มมากกว่าก่อนทดลอง และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001).  สรุปว่า การศึกษาโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองต่อการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษครั้งนี้ สามารถช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันได้ การศึกษาครั้งต่อไปควรจัดโปรแกรมกระตุ้นช่วยป้องกันการหกล้มอย่างต่อเนื่อง เพื่อคงไว้ซึ่งพฤติกรรมการป้องการหกล้มในระยะยาว
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2193
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63011481023.pdf6.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.