Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2195
Title: | Development of Care Model for Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorder, Yasothon Province การพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กสมาธิสั้น จังหวัดยโสธร |
Authors: | Narisara Arrirak นริศรา อารีรักษ์ Sumattana Glangkarn สุมัทนา กลางคาร Mahasarakham University Sumattana Glangkarn สุมัทนา กลางคาร sumattana.g@msu.ac.th sumattana.g@msu.ac.th |
Keywords: | ภาวะสมาธิสั้น การคัดกรอง ความชุก ปัจจัย Children with ADHD screening prevalence factors |
Issue Date: | 26 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Attention deficit hyperactivity disorder (ADHD) in children remains a major public health problem in Thailand and in Yasothon province. And the prevalence of children with ADHD has seen a consistent increased. The purpose of this study was to develop a care model for children with ADHD. The action research was used in two phases; 1) the situation study phase. and 2) the development of care for children with ADHD. The sample consisted of students, parents, and homeroom teachers of grade 1 at studying in schools in the municipalities of Muang Yasothon District, Yasothon Province. A questionnaire includes knowledge, perception, attitude and participation in caring for children with ADHD. The qualitative data were used content analysis. Quantitative data were used descriptive statistics, Multiple Logistic regression and t-test.
The results, on the context of the operation of children with ADHD found that the service was quite good, healthcare worker, medicines, medical supplies and information systems had sufficient. But screening was not comprehensive, participation from schools and parents were not much good. The prevalence of children with ADHD was 6.5%. Predictive statistical model for parent’s participation in the care of children with ADHD found four factors include gender (male), marital status (widowed, divorced, separated), income (>15,000 baht) and attitude (medium-high).
The care model for ADHD children included health promotion, prevention, treatment and rehabilitation. Effective of care for ADHD children found that parents between the treatment group and the control group had knowledge (p-value 0.405) and disease exposure (p-value 0.202) were not significantly different. However, the attitude towards ADHD (p-value <0.001) and participation in caring for ADHD children (p-value 0.037) were significantly different. The study intention and behavior of children with ADHD after receiving care improved to increase significantly (p-value < 0.001). The satisfaction of parents and teachers with the developed care model for ADHD children found that most of them were at a high level. The care model for children with ADHD that developed consisted of 5 components and 3 settings, namely (1) data system (2) empowerment (3) knowledge enhancement & screening (4) learning (Diagnose & Drug) and (5) environmental management. by operate in three settings: school, hospital and family. Therefore, this pattern is called "DEKDE 3 set" (Dek- De-three-set).
This evolved model of care for children with ADHD helps the operations to be clear and concrete. stakeholders had developed potential. Comprehensive screening for ADHD and can increase access to health care services. There was an adjustment in the environment that is conducive to behavioral change, involvement from all levels of stakeholders. โรคสมาธิสั้นในเด็กยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและในพื้นที่จังหวัดยโสธร และมีแนวโน้มสูงขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กสมาธิสั้น โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 2 ระยะ ได้แก่ ระยะศึกษาสถานการณ์ และระยะพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กสมาธิสั้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และครูประจำชั้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนในเขตตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร 5 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น แบบสอบถามความรู้ การรับรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กสมาธิสั้น ข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา, Multiple Logistic regression และ t-test ผลการศึกษา สถานการณ์บริบทการดำเนินงานของโรคสมาธิสั้น พบว่า ด้านการให้บริการค่อนข้างดี มีความพร้อมทั้งบุคลากร ยา เวชภัณฑ์ และระบบสารสนเทศ แต่การคัดกรองยังไม่ครอบคลุม การมีส่วนร่วมจากโรงเรียนและผู้ปกครองค่อนข้างน้อย ความชุกเด็กสมาธิสั้น ร้อยละ 6.5 ปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กสมาธิสั้นของผู้ปกครอง ได้แก่ เพศ (ชาย) สถานภาพสมรส (หม้าย หย่า แยกกันอยู่) รายได้ (>15,000 บาท) และ ทัศนคติ (พอใช้-ดี) สำหรับรูปแบบการดูแลเด็กสมาธิสั้น เป็นกิจกรรมครอบคลุมทั้งด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ ผลของรูปแบบการดูแลเด็กสมาธิสั้น พบว่าผู้ปกครองระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ มีความรู้ (p-value 0.405) และการรับรู้การเกิดโรค (p-value 0.202) ไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่ทัศนคติต่อโรคสมาธิสั้น (p-value <0.001) และการมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กสมาธิสั้น (p-value 0.037) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านความตั้งใจเรียนและพฤติกรรมของนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้นหลังได้รับการดูแลดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อรูปแบบการดูแลเด็กสมาธิสั้นที่ได้พัฒนาขึ้น ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง รูปแบบการดูแลเด็กสมาธิสั้นที่พัฒนาขึ้น มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ระบบข้อมูล (Data System) 2) การเสริมพลัง (Empowerment) 3) เพิ่มพูนความรู้และการคัดกรอง (Knowledge & screening) 4) การวินิจฉัยโรคและการกำกับการกินยา (Diagnose & Drug) และ 5) การจัดสิ่งแวดล้อม (Environment) โดยดำเนินการใน 3 setting ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาลและครอบครัว จึงเรียกว่ารูปแบบนี้ว่า “DEKDE 3 set” (เด็กดีทรีเชต) สรุป รูปแบบการดูแลเด็กสมาธิสั้นที่พัฒนาขึ้นนี้ ช่วยให้การดำเนินงานมีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม ภาคีเครือข่ายได้รับการพัฒนาศักยภาพ มีการคัดกรองภาวะสมาธิสั้นอย่างครอบคลุม เพิ่มการเข้าถึงบริการและดูแลเด็กสมาธิสั้นได้ มีการปรับสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเกิดการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2195 |
Appears in Collections: | The Faculty of Public Health |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63011490003.pdf | 7.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.