Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2198
Title: EFFECTS OF A MINDFULNESS MEDITATION PROGRAM FOR REDUCING BLOOD PRESSURE IN PREHYPERTENSION PERSONS: A RANDOMIZED CONTROLLED TRIAL
ผลของโปรแกรมการฝึกสติต่อการลดความดันโลหิตของผู้มีภาวะก่อนความดันโลหิตสูง: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
Authors: Rattanawalee Pukdeesamai
รัตนาวลี ภักดีสมัย
Nirun Intarut
นิรันดร์ อินทรัตน์
Mahasarakham University
Nirun Intarut
นิรันดร์ อินทรัตน์
nirun.i@msu.ac.th
nirun.i@msu.ac.th
Keywords: กลุ่มก่อนภาวะความดันโลหิตสูง,สติบำบัด,การฝึกสติแบบสั้น
HypertensionPre-hypertension
mindfulnessMindfulnessBased-Brife Intervention
Issue Date:  11
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Background: To test the effectiveness of mindfulness meditation program on blood pressure reduction in the pre-hypertension people. Materials and Methods: A randomized control trials was used. A pre-hypertension people with SBP 130-139 and DBP 80-89 mmHg were randomly assigned to either the intervention (27 people) or the control group (27 people). Mindfulness based brief intervention program (MBBI) has been performed 8 weeks. We measure the blood pressure at baseline, 8 weeks, 12 weeks, and 20 weeks. Mixed linear regression was used to test the effect of the MBBI. Results: A total number of 70 participants were included and allocated to either the intervention (n=35) or the control group (n=35). MBBI had the effect to lower systolic blood pressure compared to the control group at 8 week (mean difference: -3.50; 95% confidence interval: -5.13, -1.87), 12 week (mean difference: -5.63; 95% confidence interval: -7.25, -3.99), and 20 week (mean difference: -7.81; 95% confidence interval: -9.44, -6.18). For the DBP, we also observed statistical significant only at 12 week (mean difference: -3.09; 95% confidence interval: -6.15, -0.02). Conclusion: We observed the effect of mindfulness based brief intervention program on decreasing systolic blood pressure and diastolic blood pressure.
วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบผลของการฝึกสติในการลดความดันโลหิตในผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นโรคความดันโลหิตสูง วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบสุ่มโดยมีกลุ่มควบคุม กลุ่มอาสาสมัครงานวิจัยจะมีความดันโลหิตตัวบนอยู่ที่ 130 -139 มิลลิลิตรปรอทและความดันโลหิตตัวล่างอยู่ที่ 80 – 89 มิลลิลิตรปรอท จากนั้นทำการสุ่มอาสาสมัครงานวิจัยเพื่อเข้ารับกลุ่มทดลองจำนวน 27 คน และ กลุ่มควบคุม 27 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้ทำการฝึกสมาธิบำบัดจำนวน 8 สัปดาห์ การวัดผลลัพธ์หลักคือความดันโลหิต วัดก่อนการทดลอง  8 สัปดาห์ 12 สัปดาห์ และ 20สัปดาห์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวัดผลลัพธ์หลักใช้สถิติ Mixed linear regression ผลการศึกษา: ในการศึกษานี้ได้ศึกษาในอาสาสมัครงานวิจัยจำนวน 70 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 35 คน ผลการวิเคราะห์พบว่าที่ 8 (ค่าความแตกต่าง: -3.50; ช่วงเชื่อมั่นที่ 95%: -5.13, -1.87), 12 (ค่าความแตกต่าง: -5.63; ช่วงเชื่อมั่นที่ 95%: -7.25, -3.99) และ 20 สัปดาห์ (ค่าความแตกต่าง: -7.81; ช่วงเชื่อมั่นที่ 95%: -9.44, -6.18) ค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตตัวบนมีการลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ, และค่าความดันโลหิตตัวล่างกลุ่มทดลองมีค่าแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 12 สัปดาห์ (ค่าความแตกต่าง: -3.09; 95% ช่วงเชื่อมั่นที่ 95%: -6.15, -0.02). สรุป: การทดลองนี้พบว่าการฝึกสติสามารถลดค่าความดันโลหิตตัวบนและตัวล่างได้ และเป็นทางเลือกในการลดความดันโลหิตที่กลุ่มเสี่ยงสามารถฝึกได้ด้วยตัวเอง
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2198
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011562001.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.