Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2199
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorKanokjun Khamenkanen
dc.contributorกนกจันทร์ เขม้นการth
dc.contributor.advisorPissamai  Homchampaen
dc.contributor.advisorพิศมัย หอมจำปาth
dc.contributor.otherMahasarakham Universityen
dc.date.accessioned2023-09-07T14:50:39Z-
dc.date.available2023-09-07T14:50:39Z-
dc.date.created2023
dc.date.issued1/2/2023
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2199-
dc.description.abstractThis exploratory sequential mixed-methods research study aimed to construct a family skill development model for the alleviation of behavioral problems of attention deficit hyperactivity disorder (ADHD) in at risk preschool children. The study comprised two phases. Phase 1 was a qualitative study on family experience in caring for preschool children with ADHD, while Phase 2 involved the construction of a family skill development model for the alleviation of behavioral problems in the ADHD at risk preschool children, and experimental study aiming to assess the effectiveness of the constructed family skill development model. Both quantitative and qualitative data were collected, and qualitative data were analyzed by means of content and thematic analysis using the ATLAS.ti 22 program. Quantitative data analysis using frequency, percentage, mean, standard deviation, repeated measure ANOVA, and  analysis of covariance ANCOVA with the application of the SPSS version 22.0 package. Results in Phase 1 were derived from the in-depth interviews with 14 caretakers of the ADHD children who were all women with an age range of 22 to 60 years and their mean age (SD) of 42.0 (±11.8) years. The children for whom they cared (n=14, mean age (SD)=7.1 (±0.9) years, boys=7) had been diagnosed with ADHD ranging from 8 months to 3 years, with a mean (SD) of 1.5 (±0.6) years. The caretakers reported three categories of behavioral problems in the ADHD-affected children, including 1) hyperactivity, reflected by being energetic and restless; 2) impulsiveness, reflected by being hot-headed, aggressive, and impatient; and  3) inattention, reflected by having short attention span, lack of self-discipline, forgetfulness, lack of caution and due diligence. The caretakers’ behavioral responses to alleviate such behavioral problems of their affected children were increasing interaction between family and children and using positive parenting in upbringing the child within a family. The Family Skill Development Model (FSDM) derived from Phase 2 comprised: 1) setting up a workshop training to enhance family’s knowledge and skills in at risk of ADHD screening and child-rearing to alleviate behavioral problems and 2) increasing family-child interaction to develop executive function-and positive parenting skills through the "Sati-Chuay-Kid Oog" (Being mindful-help-cognition-exercise) activities, and implementation of the FSDM in 30 dyads of a caretaker and an ADHD at risk preschool child who utilized services at the Child Development Clinic of a selected tertiary care hospital in the Northeast region. Of which, they were divided into two groups (mean age (SD) of the caretaker, the child), experimental 15 dyads (39.1 (±11.2), 5.2 (±0.8)) and control groups 15 dyads (38.9 (±13.8), 4.9 (±0.6)) and each group equally had 12 boys and 3 girls. Results showed a significant decrease of behavioral problems among the ADHD at risk children in an experimental group both at post-test and follow-up (p<0.05) comparative to the baseline value, with a small effect size. Findings indicated the FSDM promoting family caretakers’ knowledge and practical skills to develop ADHD at risk screening, executive function, and positive parenting skills can alleviate behavioral problems of the ADHD at risk preschool children. The model can also assist the family in modifying their behaviors better to appropriately respond to the behavioral problems of this group of children at an early stage, thereby increasing the quality of life while reducing potential severe impacts and enhancing the effectiveness of proper therapy in the future.en
dc.description.abstractการวิจัยแบบผสานวิธีแบบสำรวจตามกาลเวลาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบการพัฒนาทักษะครอบครัวในการลดปัญหาพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้นประกอบด้วย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อสะท้อนประสบการณ์ของครอบครัวในการดูแลเด็กปฐมวัยโรคสมาธิสั้น ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาตัวแบบการพัฒนาทักษะครอบครัวในการลดปัญหาพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้น และเป็นการศึกษาเชิงทดลองเพื่อประเมินประสิทธิผลของตัวแบบการพัฒนาทักษะครอบครัว เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้โปรแกรม ATLAS.ti 22 และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated measure ANOVA) และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of covariance ANCOVA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 22.0    ผลการศึกษา พบว่า ในระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นผู้ดูแลเด็กโรคสมาธิสั้น 14 คน เป็นเพศหญิงทั้งหมด มีอายุระหว่าง 22-60 ปี อายุเฉลี่ย 42.0 ±11.8 ปี ให้การดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นมีอายุเฉลี่ย 7.1±0.9 ปี เป็นเพศชายและเพศหญิงจำนวนเท่ากัน คือ 7 คน ระยะเวลาที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น 8 เดือน-3 ปี ระยะเวลาเฉลี่ย 1.5±0.6 ปี ผู้ดูแลรับรู้ปัญหาพฤติกรรมของเด็กโรคสมาธิสั้น ครอบคลุม 3 กลุ่ม คือ 1) พฤติกรรมซนไม่อยู่นิ่ง ได้แก่ ซุกซน 2) พฤติกรรมวู่วาม/หุนหันพลันแล่น ได้แก่ โมโหง่าย ก้าวร้าว ขาดการอดทนรอคอย  3) พฤติกรรมขาดสมาธิ  ได้แก่ สมาธิสั้น ขาดระเบียบวินัย ขี้ลืม ขาดความระมัดระวัง  และขาดความรอบคอบ ผู้ดูแลมีพฤติกรรมการปฏิบัติต่อเด็กโรคสมาธิสั้นเพื่อลดปัญหาพฤติกรรม ได้แก่ เพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเด็ก และใช้การอบรมเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกในครอบครัว ระยะที่ 2 ได้ผลลัพธ์การพัฒนา คือ “ตัวแบบการพัฒนาทักษะของครอบครัว” ประกอบด้วย 1) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการคัดกรองความเสี่ยงและการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นของผู้ดูแลเพื่อลดปัญหาพฤติกรรม 2) เพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเด็กเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหารและการอบรมเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกด้วยกิจกรรม “สติ-ช่วย-คิดออก” การประเมินประสิทธิผลของตัวแบบที่พัฒนาขึ้นกับคู่ผู้ดูแลและเด็กปฐมวัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้นที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกพัฒนาการเด็กในโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในกลุ่มทดลอง 15 คู่ เป็นผู้ดูแลอายุเฉลี่ย 39.1±11.2 ปี และเด็กอายุเฉลี่ย 5.2±0.8ปี และกลุ่มควบคุม 15 คู่ ผู้ดูแลอายุเฉลี่ย 38.9±13.8 ปี และเด็กอายุเฉลี่ย 4.9±0.6 ปี ซึ่งในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยเด็กกลุ่มเป้าหมายเพศชาย 12 คน และเพศหญิง 3 คน พบว่าภายหลังการทดลองและระยะติดตามผลเด็กที่ศึกษาในกลุ่มทดลองมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น กล่าวคือมีค่าคะแนนปัญหาพฤติกรรมลดลงน้อยลงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีขนาดอิทธิพลอยู่ในระดับน้อย ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าตัวแบบการพัฒนาทักษะของครอบครัวที่เน้นการพัฒนาความรู้และทักษะในการปฏิบัติของผู้ดูแลเพื่อพัฒนาทักษะการอบรมเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกในครอบครัวและการพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กช่วยลดปัญหาพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้น และยังทำให้ครอบครัวมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติต่อเด็กกลุ่มดังกล่าวที่ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ลดผลกระทบที่รุนแรงและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาต่อไปในอนาคตth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectตัวแบบการพัฒนาทักษะครอบครัวth
dc.subjectเด็กปฐมวัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้นth
dc.subjectปัญหาพฤติกรรมth
dc.subjectทักษะการคิดเชิงบริหารth
dc.subjectการอบรมเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกth
dc.subjectFamily skill development modelen
dc.subjectAt risk of attention deficit hyperactivity disorder (ADHD) preschool childrenen
dc.subjectBehavior problemsen
dc.subjectExecutive functionen
dc.subjectPositive parenting styeen
dc.subject.classificationNursingen
dc.subject.classificationHuman health and social work activitiesen
dc.subject.classificationNursing and caringen
dc.titleFamily skill development model for alleviation of behavior problems in preschool children at risk of Attention Deficit Hyperactivity Disorderen
dc.titleตัวแบบการพัฒนาทักษะครอบครัวในการลดปัญหาพฤติกรรมของเด็กปฐมวัย ที่มีความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้นth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorPissamai  Homchampaen
dc.contributor.coadvisorพิศมัย หอมจำปาth
dc.contributor.emailadvisorpissamai.h@msu.ac.th
dc.contributor.emailcoadvisorpissamai.h@msu.ac.th
dc.description.degreenameDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.description.degreenameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.degreelevelDoctoral Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาเอกth
dc.description.degreedisciplineOffice Secretary Medicineen
dc.description.degreedisciplineสำนักงานเลขา คณะแพทย์th
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62011560001.pdf4.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.