Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2201
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Tharinee Srisaknok | en |
dc.contributor | ธารินี ศรีศักดิ์นอก | th |
dc.contributor.advisor | Ranee Wongkongdech | en |
dc.contributor.advisor | ราณี วงศ์คงเดช | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University | en |
dc.date.accessioned | 2023-09-07T14:50:39Z | - |
dc.date.available | 2023-09-07T14:50:39Z | - |
dc.date.created | 2023 | |
dc.date.issued | 7/4/2023 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2201 | - |
dc.description.abstract | The purpose of this action research was to develop a program for the elderly in terms of medications and health products usage in the Northeastern elderly schools. This research was conducted during March 2021 to Novermber 2022 using the Plan - Aciotn - Observe-Reflect process (P-A-O-R), divided into 3 phases: 1) The study of the situation of knowledge and behavior of medications and health product usage (P) was a cross-sectional research and used a Mixed-Method by a questionnaire, an in-depth interview and a focused group. 2) Development of a knowledge-enhancing program (A) used a participatory procedure of the key informants and stakeholders from the development. 3) Trial (O), evaluation and reflection of the program (R), Randomized Solomon Four-Group Design. The data were analyzed by RStudio program with 1) Descriptive Statistics using number, percentage, mean and standard deviation 2) Inferential Statistics using chi-square test, Multiple logistic regression, One–Way ANOVA, Paired t-test and Mann–Whitney's U. test 3) In-depth interview transcript and group discussion process. The results of the research revealed that in Phase 1, 1,599 elderly people from 13 schools had a low level of health literacy in medication and health product usage (less than 50% of the total score). The lowest part was a self-management in medication and health product usage. When dividing the scores into 3 levels of knowledge, it was found that most of them were at Functional Health Literacy level. The three levels of health literacy were low (≤50 points). Factors affecting to low health literacy in medications and health products usage, were single status (OR=2.27, 95% CI: 1.18, 4.40), lack of family support (OR=1.54, 95% CI: 1.24, 1.91), and having a smartphone (OR=1.58, 95% CI: 1.21, 2.06) with the ability to browse the internet (OR=1.72, 95% CI: 1.28, 2.31). By the way, the health behaviors of those elderly people in medication and health product usage were at a moderate level The highest scores of this level were from the item “If there is an abnormal symptoms from medication and health product usage, they will immediately consult a doctor or a pharmacist”, followed by “Before choosing a drug or a health product, will read the label thoroughly every time”. While the lowest scores were from the item “Sharing or spreading the online information by claiming that the information was from a physician. You will also let the others know too.” When analyzed the factors that correlated with drug selection behavior, it was found that education was higher than grade 6 ( OR : 1.82,95% CI : 1.17,2.81, p = .008), marital status ( OR : 2.63,95% CI : 1.16,588, p = .021), no occupation (OR 1.49 ,95% CI : 1.181.88, p < .001), live in rural area (OR 6.33, 95% CI : 2.18,18.31 , p < .001), having enough money (OR : 1.31, 95% CI : 1,1.72, p = .046), no underlying disease (OR : 1.78,95% CI : 1.37,2.38, p < .001), and those who could not use a smartphone (OR: 1.72, 95% CI: 1.25,2.38, p < .001), there would be a low risk of having health behaviors in medication and health product usage. Phase 2) Creating a program to promote health literacy 3 T. “Tong Tuad Tad” (Must Check, Decide) consisting of the essence, objectives, learning content, activities and assessment. This program consists of discussions, exchange of knowledge, lectures, practical exercises. In the tryout group, it was found that the average knowledge score was increased statistically significantly (p < .001). Phase 3) It was divided into 4 groups; each group consists of 45 people. It was found that the score of the group measured before receiving the program and the group did not measure the results before accepting the program there was no difference. The groups receiving the program had the significant increased scores statistically (p < .001). When comparing each aspect, it was found that the group receiving the program had higher average scores than the group without the program in all aspects (p < .001). The group with health literacy was at a high level (≥75%). The aspect with the highest score was a decision-making skills in drug selection. Behaviorally, it was found that the group receiving the program had higher scores than the group that did not receive all items (p < .001). Overall satisfaction with the training was at a very good level which gained more knowledge and understanding. It can be used to take care of their own health. The consistency of the program was found to be at a high level. The highest average score was the activities that are consistent in line with current issues of the elderly, direct beneficial to the target group and being able to solve problems / promote health. In conclusion, the findings of this study shown that the health literacy programs in selecting medicines and health products were designed in line with the elderly, with good productive, and the elderly people had more knowledge. They can be put into practice or share health literacy about selecting medicines and health products with the others correctly and more appropriately. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลือกใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งดำเนินการในช่วงเดือนมีนาคม 2564 - พฤศจิกายน 2565 โดยใช้กระบวนการ Plan - Aciotn - Observe-Reflect (P-A-O-R) แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) การศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้และพฤติกรรมกรรมการเลือกใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (P) เป็นการวิจัยแบบตัดขวาง และใช้วิธีการวิจัยแบบผสม โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม 2) การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ (A) โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ของผู้ที่มีข้อมูลสำคัญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการพัฒนา และ 3) การทดลองใช้ (O) ประเมินผล และสะท้อนผลของโปรแกรม (R) ทำการศึกษาสี่กลุ่มแบบโซโลมอนโดยการสุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม RStudio โดย 1) สถิติเชิงพรรณนา ใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเชิงอนุมาน ใช้ chi square test , Multiple logistic regression ,One–Way ANOVA, Paired t -test และ Mann–Whitney’s U test 3) การถอดบทสัมภาษณ์เชิงลึก และกระบวนการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าระยะที่ 1 จำนวนผู้สูงอายุ 1,599 ราย จาก 13 โรงเรียน มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลือกใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ (น้อยกว่า 50%ของคะแนนทั้งหมด) ด้านที่น้อยที่สุดคือด้านการจัดการตนเองในการเลือกใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เมื่อแบ่งคะแนนตามระดับความรอบรู้ 3 ระดับ พบว่าส่วนใหญ่อยู่ระดับความรู้พื้นฐาน มีคะแนนระดับต่ำทั้งสามระดับ (≤50 คะแนน) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ต่ำคือ สถานะโสด (2.27,95% CI : 1.18,4.4) , ไม่มีการสนับสนุนทางครอบครัว (1.54, 95% CI : 1.24,1.91) มีสมาร์ทโฟน (1.58,95% CI : 1.21,2.06) มีความสามารถในการใช้โทรศัพท์ค้นข้อมูลในอินเทอร์เนต (1.72,95% CI : 1.28,2.31) ส่วนด้านพฤติกรรมสุขภาพในการเลือกใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง โดยข้อที่ได้คะแนนมากที่สุดคือ “การมีอาการผิดปกติจากการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพจะรีบไปปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร” รองลงมาคือ “ก่อนเลือกใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ จะอ่านฉลาก อย่างละเอียดทุกครั้ง” ส่วนคะแนนที่น้อยที่สุดคือ “การแชร์หรือบอกต่อข้อมูลออนไลน์ส่งต่อกันมา ที่อ้างว่าเป็นข้อมูลจากแพทย์ จะส่งเพื่อให้ผู้อื่นได้ทราบด้วย” เมื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการเลือกใช้ยาทีละหลายปัจจัย พบว่า การศึกษาสูงกว่าชั้นป.6 ( OR :1.82,95% CI : 1.17,2.81, p =.008), สถานะสมรส(OR : 2.63,95% CI : 1.16,588, p = .021), ไม่มีอาชีพ (OR 1.49 ,95% CI : 1.181.88, p < .001), อาศัยอยู่ชนบท (OR 6.33, 95% CI : 2.18,18.31, p < .001), มีเงินพอใช้ (OR :1.31, 95% CI : 1,1.72, p = .046), ไม่มีโรคประจำตัว (OR :1.78,95% CI : 1.37,2.38, p < .001), และผู้ที่ไม่สามารถใช้สมาร์ทโฟนได้ (OR: 1.72, 95% CI : 1.25,2.38, p < .001 ) จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมสุขภาพในการเลือกใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่ำ ระยะที่ 2) การจัดทำโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3 ต. “ต้อง ตรวจ ตัด” ประกอบด้วย สาระสำคัญ วัตถุประสงค์ สาระการเรียนรู้ กิจกรรม และการประเมินผล กิจกรรมมีการอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ บรรยาย การฝึกปฏิบัติจริง ได้ทดลองในกลุ่ม tryout พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ระยะที่ 3 แบ่งเป็น 4 กลุ่มกลุ่มละ 45 คน พบว่า คะแนนกลุ่มที่วัดผลก่อนได้รับโปรแกรมฯ และกลุ่มไม่ได้วัดผลก่อนรับโปรแกรมฯ ไม่มีความแตกต่างกัน และกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม มีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) เมื่อเปรียบเทียบรายด้าน พบว่า กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมในทุกด้าน (p< .001) มีความรอบรู้ด้านสุขภาพฯอยู่ในระดับสูง (≥75%) โดยด้านที่มีคะแนนมากที่สุดคือ ทักษะการตัดสินใจในการเลือกใช้ยา ส่วนด้านพฤติกรรมพบว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับทุกข้อ (p < .001) มีความพึงพอใจต่อโปรแกรมในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ทำให้ได้รับความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น และสามารถนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้ และด้านความสอดคล้องของโปรแกรม พบว่าอยู่ในระดับสูง ด้านคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดคือ กิจกรรมมีความสอดคล้องกับประเด็นปัญหาของผู้สูงอายุในปัจจุบัน มีประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายโดยตรง และสามารถแก้ปัญหาและส่งเสริมสุขภาพ สรุปผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลือกใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ออกแบบให้สอดคล้องกับผู้สูงอายุ มีประสิทธิผลที่ดี ผู้สูงอายุมีความรอบรู้ด้านสุขภาพมากขึ้น สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงหรือสามารถบอกต่อ เกี่ยวกับเลือกใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสมได้มากยิ่งขึ้น | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | ความรอบรู้สุขภาพ | th |
dc.subject | พฤติกรรมสุขภาพ | th |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th |
dc.subject | การเลือกใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ | th |
dc.subject | Health Literacy | en |
dc.subject | Health behaviors | en |
dc.subject | Elderly | en |
dc.subject | Older adults | en |
dc.subject | Medication and Health products usage | en |
dc.subject.classification | Health Professions | en |
dc.subject.classification | Health Professions | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Human health and social work activities | en |
dc.subject.classification | Pharmacy | en |
dc.title | The Development of the Health Literacy Enhancing Program for the Elderly in terms of Medications and Health Products Usage in the Northeastern Elderly Schools | en |
dc.title | การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ในการเลือกใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียนผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Ranee Wongkongdech | en |
dc.contributor.coadvisor | ราณี วงศ์คงเดช | th |
dc.contributor.emailadvisor | ranee.w@msu.ac.th | |
dc.contributor.emailcoadvisor | ranee.w@msu.ac.th | |
dc.description.degreename | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description.degreename | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.degreelevel | Doctoral Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาเอก | th |
dc.description.degreediscipline | Office Secretary Medicine | en |
dc.description.degreediscipline | สำนักงานเลขา คณะแพทย์ | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Medicine |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62011562001.pdf | 6.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.