Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2202
Title: A Study of  Traditional Thai Massage on Cervical Range of Motion In Patients with Office Syndrome in Khonkaen Hospital, Thailand 
การศึกษาผลของการนวดไทยแบบราชสำนักต่อองศาการเคลื่อนไหวคอในผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรมในโรงพยาบาลขอนแก่น 
Authors: Pakawat Chaiyachit
ภควัต ไชยชิต
Choosak Nithikathkul
ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล
Mahasarakham University
Choosak Nithikathkul
ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล
nithikethkul2016@gmail.com
nithikethkul2016@gmail.com
Keywords: การนวดไทยแบบราชสำนัก
โรคออฟฟิศซินโดรม
กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด
จุดกดเจ็บ
Traditional Thai massage (TTM)
Office Syndrome (OFS)
Myofascial pain syndrome (MPS)
Trigger points (TrPs)
Issue Date:  17
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Background: Office Syndrome (OFS) has been frequently found in OFS is a group of common symptoms related to office workers and impacts on the worker’s productivity. OFS refers to pain in the spine and muscles caused by sitting in the same position without sufficient movement. In another phase, it seems like an ordinary pain, and go able into a chronic and harder one. Those, impact the ability of body movement and related functions, although the Traditional Thai massage (TTM), has long been applied for the treatment of OFS, little empirical evidence. As been reported regarding its effectiveness. The present study aimed to examine the effects of TTM on OFS patients.   Methods: The patients who participated in the study had already been diagnosed by the medical specialists in the general medicine clinic at Khon Kaen Hospital in Khon Kaen. A simple random sampling technique was applied to gain 45 subjects. The total time of this study was approximately 5 weeks. We started on 2, 3, and 4 weeks, once/week, The Cervical Range of Motion (CROM) of the neck of the patients in the experimental group, was assessed before and after TTM with a goniometer, and their pain intensity using the visual analog scale (VAS), back scratch test (Shoulder flexibility), and quality of life by 36-item short-form health survey (SF-36). Results:  The prevalence of office syndrome after treatment of all categories of cervical range of motion increased significantly (p < 0.01), the level of severity on the visual analog scale was reduced significantly (p < 0.01), the scores of right shoulder flexibility increased significantly (p < 0.01) while the other side showed no statistically significant difference, and the quality of life scores which comprised of the physical component summary and the mental component summary scores were significantly improved (p < 0.01) Conclusion and Discussion:  TTM may be an effective treatment for OFS. Therefore, this intervention is a non-pharmacologic intervention with no adverse effects. We recommend that this message could be considered one of the effective interventions for patients with OFS.
เหตุผลของการทำวิจัย: ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)  คือ กลุ่มอาการทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในออฟฟิศและส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน โดยออฟฟิศซินโดรม หมายถึง อาการปวดกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อที่เกิดจากการนั่งในท่าเดิมๆนานๆ โดยไม่มีการเคลื่อนไหวที่เพียงพออีกนัยหนึ่ง ดูเหมือนเป็นความเจ็บปวดธรรมดา และสามารถเป็นเรื้อรังและรุนแรงขึ้นได้ สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อความสามารถในการเคลื่อนไหวของร่างกายและการทำงาน แม้ว่าการนวดแผนไทย จะใช้ในการรักษาออฟฟิศซินโดรมมานานแล้วก็ตาม จากหลักฐานเชิงประจักษ์เพียงเล็กน้อย ตามที่ได้รายงานเกี่ยวกับประสิทธิผลของการรักษา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนวดไทยแบบราชสำนักต่อผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม ตัวอย่างและวิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการศึกษาได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทางที่คลินิกเวชปฏิบัติทั่วไปโรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น อาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัยจำนวน 45 ราย โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling)  ระยะเวลาการรักษาและติดตามผลการวิจัย 5 สัปดาห์ เริ่มสัปดาห์ที่ 2, 3 และ 4 สัปดาห์ละ 1 ครั้ง อาสาสมัครได้รับการวัดองศาการเคลื่อนไหวของคอ (Cervical Range of Motion: CROM) ก่อนและหลังการนวดแผนไทยแบบราชสำนักด้วย goniometer, ระดับของความเจ็บปวด (pain intensity) โดยใช้  Visual Analog  Scale (VAS) , การวัดสมรรถภาพความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหัวไหล่ (Back Scratch Test) และ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพโดยใช้ แบบสำรวจสุขภาพ Short Form 36 (SF36) ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่าหลังการรักษาองศาการเคลื่อนไหวคอ (CROM) เพิ่มขึ้นในทุกทิศทางการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) นอกจากนี้ ระดับของความเจ็บปวด (VAS) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) คะแนนความยืดหยุ่นของไหล่ขวาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.01) ในขณะที่อีกข้างไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และคะแนนคุณภาพชีวิตทั้งทางกายและจิตใจ (SF-36) ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) สรุปและอภิปราย: การนวดไทยแบบราชสำนักเป็นการรักษาที่มีประสิทธิผลสำหรับผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรม ดังนั้น การรักษานี้จึงเป็นการรักษาที่ไม่ใช้ยาโดยที่ไม่มีผลข้างเคียง เราขอแนะนำว่าการนวดนี้ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในการรักษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม  
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2202
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63011581004.pdf3.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.