Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2253
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Nuttapon Nathuntong | en |
dc.contributor | ณัฐพล นาทันตอง | th |
dc.contributor.advisor | Taveesinp Subwattana | en |
dc.contributor.advisor | ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University | en |
dc.date.accessioned | 2023-09-07T15:50:16Z | - |
dc.date.available | 2023-09-07T15:50:16Z | - |
dc.date.created | 2023 | |
dc.date.issued | 28/3/2023 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2253 | - |
dc.description.abstract | This research aimed 1. To study the history and development of Ku Ka Sing community 2. To study the cultural bargaining of Ku Ka Sing community 3. To study the politics culture of the Ku Ka Sing community, the researcher used qualitative research. There are research instruments, interviews and observations. Targets in the research was 5 local philosophers, 20 practitioners and 5 general groups that came from specific selection. Then brought the information collected from the interview form and related documents to analyze in the content The results show that The area around Ku Ka Sing community has been established before found from archaeological sites in 3 areas: Ku Ka Sing, Ku Phon Wij, Ku Phon Rakhang is an art form in Khmer culture. The community area was abandoned until in 1903 BE, a village was established. The era can be divided into three eras, the first era, the settlement era in 1903-1972 BE, there were 3 groups of people traveling from Chaturaphak Phiman, Suvarnabhumi and from Kaset Wisai The reason for choosing a settlement area is because the area is fertile, can be found in natural sources. The second era, the development of the area into the jasmine rice production system in 1973-2002 BE was a time when it was developed by the government in utilities. It was a major pioneer of agricultural areas because the original area could not do a lot of agriculture. From the development of the state, it led to the saying that "Thung Kula Taek", resulting in more areas in the community can do more agriculture. In addition, the government also developed rice varieties suitable for the area. Rice varieties named ‘Khao Dawk Mali 105’ developed into jasmine rice. Can build a reputation for the Ku Ka Sing community and other areas in Thung Kula Rong Hai District, the third era, creating identity for tourism 2003-2022 BE The development of the government makes the Ku Ka Sing community the largest source of jasmine rice in Thung Kula Rong Hai. In 2002 BE, A tourism policy was established in Roi Et province to choose the Ku Ka Sing area to organize an event. ‘Kin Khao Tung Noong Pha Mhai’ chaired by Mr. Sorra-ut Klinpratoom, Minister of Agriculture and Cooperatives. Provincial agriculture from all over the country attended the event. Make the community more known from outsiders. In 2003 BE, the ‘Kin Khao Tung Noong Pha Mhai’ is scheduled. This time, the community is involved in the event. Together, prepare the area in the community to prepare to welcome tourists from outside to attend this event. The preparation of this community area is close to success. If the percentage is about 80 percent, but Roi Et Province announced at the meeting to prepare for ‘Kin Khao Tung Noong Pha Mhai’ that There is a move of this venue to Bueng Planchai. As a result, the community is very dissatisfied and not traveling to this event. Later, In 2005 BE, there was a research project on the local history of the senior research method. Professor Srisakon Walliphodom, a community in Thung Kula Rong Hai area jointly conducted a research project on the local history series of Thung Kula Rong Hai according to the issues of each community, which the Ku Ka Sing community chose to study on "Eco-tourism management model that is suitable for the potential of Ban Ku Ka Sing Community" after the research is completed, the community can discover cultural capital that exists within the community, such as Ku Ka Sing archaeological sites, Ku Phon Wij, Ku Phon Rakhang, Song Ku tradition, rocket festival tradition and the community brings these activities as a cultural bargain By bringing traditions, archaeological sites, including various cultural capital in the community to create a tourist attraction by the community. Politics culture is the struggle as an area to compete for power. ‘Kin Khao Tung Noong Pha Mhai’ is scrambled by Roi Et province, which has the first important reason. Thung Kula jasmine rice is an important symbol that conveys that Thung Kula is not dry and can build a reputation for the nation. Secondly, raising the level of ‘Kin Khao Tung Noong Pha Mhai’ to be great. It is a provincial event that can build a reputation and attract tourists to Roi Et province. Third, it is announcing the reputation of jasmine rice that belongs to Roi Et Province. The format of the event has a 12-month traditional procession. Received budget support from local government agencies, which is an important force in support. Politicians, whether local politicians and national politicians. Ban Ku Ka Sing Community is one community that can bring the potential of the area and the potential of the community from the change of Thung Kula Rong Hai to create cooperation. Unity and become a tourist attraction caused by the awareness of the local community through community tourism activities By pulling out the culture that exists in the community to build confidence for people in the community And it creates the identity of the Ku Ka Sing community. To negotiate with the government that the community can manage tourism within their own community As well as being able to set an example for other communities. | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 1.เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของชุมชนกู่กาสิงห์ 2.เพื่อศึกษาการต่อรองทางวัฒนธรรมของชุมชนกู่กาสิงห์ 3.เพื่อศึกษาการเมืองวัฒนธรรมของชุมชนกู่กาสิงห์ งนี้ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือปราชญ์ท้องถิ่น 5 ท่าน กลุ่มผู้ปฏิบัติ 20 ท่าน และกลุ่มทั่วไป 5 ท่าน ที่มาจากการเลือกแบบเจาะจง แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสัมภาษณ์และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ในเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่บริเวณชุมชนกู่กาสิงห์มีการตั้งชุมชนมาก่อนหน้าพบได้จากโบราณสถานในพื้นที่ 3 แห่งคือ กู่กาสิงห์ กู่โพนวิจ กู่โพนระฆัง เป็นรูปแบบศิลปะในวัฒนธรรมเขมร พื้นที่ชุมชนถูกปล่อยทิ้งร้างกระทั่งพ.ศ. 2446 มีการตั้งหมู่บ้านสามารถแบ่งยุคสมัยเป็นสามยุค ยุคแรก ยุคการตั้งถิ่นฐาน พ.ศ. 2446-2515 มีกลุ่มคนอพยกเข้ามา 3 กลุ่มคือกลุ่มที่เดินทางมาจากจตุรพักรพิมาน จากเมืองสุวรรณภูมิ และจากเมืองเกษตรวิสัย สาเหตุของการเลือกพื้นที่ตั้งถิ่นฐานเนื่องจากพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์สามารถหาอยู่หากินตามแหล่งธรรมชาติได้ ยุคที่สอง การพัฒนาพื้นที่เข้าสู่ระบบผลิตข้าวหอมมะลิ พ.ศ. 2516-2545 เป็นช่วงเวลาที่ได้รับการพัฒนาจากภาครัฐด้านสาธารณูปโภค เป็นการบุกเบิกพื้นที่การเกษตรครั้งใหญ่เนื่องจากพื้นที่เดิมไม่สามารถทำการเกษตรได้จำนวนมาก จากการพัฒนาของรัฐนำไปสู่คำกล่าวว่า “ทุ่งกุลาแตก” ส่งผลให้พื้นที่ในชุมชนสามารถทำการเกษตรมากขึ้น นอกจากนั้นรัฐยังพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ได้พันธุ์ข้าวชื่อ “ข้าวดอกมะลิ105” พัฒนาไปสู่ข้าวหอมมะลิ สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับชุมชนกู่กาสิงห์และพื้นที่อื่นในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ ยุคที่สาม การสร้างตัวตนเพื่อการท่องเที่ยวพ.ศ.2546-2565 การการพัฒนาของภาครัฐทำให้ชุมชนกู่กาสิงห์เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ใหญ่ที่สุดในทุ่งกุลาร้องไห้ พ.ศ.2545 มีการกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ดเลือกพื้นที่กู่กาสิงห์จัดงาน “กินข้าวทุ่งฯนุ่งผ้าไหม” มีนายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน มีเกษตรจังหวัดจากทั่วประเทศเข้ามาร่วมงาน ทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จักจากคนภายนอกมากขึ้น ต่อมาปี พ.ศ. 2546 มีกำหนดการจัดงานกินข้าวทุ่งนุ่งผ้าไหมครั้งที่สองขึ้น ครั้งนี้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดงาน ร่วมกันเตรียมสถานที่พื้นที่ในชุมชนเพื่อเตรียมต้อนรับนักท่องเที่ยวจากภายนอกที่จะมาร่วมงานในครั้งนี้ การจัดเตรียมพื้นที่ของชุมชนครั้งนี้ใกล้สำเร็จหากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์คงประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ แต่จังหวัดร้อยเอ็ดก็ประกาศในที่ประชุมเตรียมงานกินข้าวทุ่งนุ่งผ้าไหมว่า มีการย้ายสถานที่จัดงานในครั้งนี้มาที่บึงพลาญชัย ส่งผลให้ชุมชนเกิดความไม่พอใจอย่างมากไม่เดินทางไปร่วมการจัดงานในครั้งนี้ ต่อมาพ.ศ. 2548 มีโครงการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นทุ่งกุลาร้องไห้ของเมธีวิจัยอาวุโส ศาสตราจารย์พิเศษศรีศักร วัลลิโภดม ชุมชนในพื้นที่บริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ได้ร่วมกันทำโครงการวิจัยชุดประวัติศาสตร์ท้องถิ่นทุ่งกุลาร้องไห้ ตามประเด็นของแต่ละชุมชน ซึ่งชุมชนกู่กาสิงห์เลือกศึกษา เรื่อง “รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่เหมาะกับศักยภาพของชุมชนบ้านกู่กาสิงห์” หลังจากวิจัยเสร็จสิ้น ชุมชนสามารถค้นพบทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ภายในชุมชนเช่น โบราณสถาน กู่กาสิงห์ กู่โพนวิจ กู่โพนระฆัง ประเพณีการสรงกู่ ประเพณีบุญบั้งไฟ และชุมชนนำเอากิจกรรมเหล่านี้มาเป็นเครื่องต่อรองทางวัฒนธรรม โดยการยกเอาประเพณี โบราณสถาน รวมถึงทุนวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ในชุมชนมาสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน การเมืองวัฒนธรรมคือการต่อสู้ในฐานะที่เป็นพื้นที่การช่วงชิงการครองอำนาจ การจัดงานกินข้าวทุ่งนุ่งผ้าไหม มีการช่วงชิงไปโดยจังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งมีสาเหตุสำคัญประการแรก ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่สื่อให้เห็นว่าทุ่งกุลาไม่ได้แห้งแล้งและสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติได้ ประการที่สอง ยกระดับการจัดงานกินข้าวทุ่งนุ่งผ้าไหมให้มีความยิ่งใหญ่เป็นงานประจำจังหวัดสามารถสร้างชื่อเสียงและดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าสู่จังหวัดร้อยเอ็ด ประการที่สาม เป็นการประกาศชื่อเสียงของข้าวหอมมะลิว่าเป็นของจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งรูปแบบการจัดงานมีการจัดขบวนแห่ฮีต 12เดือน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานราชการ ท้องถิ่น ซึ่งกำลังหลักสำคัญด้านการสนับสนุนคงหลีกหนีไม่พ้นนักการเมืองไม่ว่านักการเมืองท้องถิ่น นักการเมืองระดับชาติ ชุมชนบ้านกู่กาสิงห์เป็นชุมชนหนึ่งที่สามารถนำศักยภาพของพื้นที่และศักยภาพของชุมชนจากความเปลี่ยนแปลงของทุ่งกุลาร้องไห้มาสร้างความร่วมมือ ความสามัคคีและกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เกิดจากสำนึกร่วมของชุมชนในท้องถิ่นผ่านการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยดึงเอาวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชนออกมาใช้เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในชุมชน และเป็นการสร้างตัวตนของชุมชนกู่กาสิงห์ เพื่อต่อรองกับรัฐว่าชุมชนสามารถจัดการการท่องเที่ยวภายในชุมชนของตนเอง ตลอดจนสามารถเป็นแบบอย่างให้กับชุมชนอื่นได้ | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | การเมืองวัฒนธรรม | th |
dc.subject | ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น | th |
dc.subject | การต่อรองทางวัฒนธรรม | th |
dc.subject | Cultural Politics | en |
dc.subject | Local History | en |
dc.subject | Cultural bargaining | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Education | en |
dc.subject.classification | History and archaeology | en |
dc.title | Politics Culture in Ku Ka Sing Community, Roi Et province | en |
dc.title | การเมืองวัฒนธรรมในชุมชนกู่กาสิงห์จังหวัดร้อยเอ็ด | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Taveesinp Subwattana | en |
dc.contributor.coadvisor | ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ | th |
dc.contributor.emailadvisor | thaveesilp.s@msu.ac.th | |
dc.contributor.emailcoadvisor | thaveesilp.s@msu.ac.th | |
dc.description.degreename | Master of Arts (M.A.) | en |
dc.description.degreename | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) | th |
dc.description.degreelevel | Master's Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาโท | th |
dc.description.degreediscipline | สำนักงานเลขา | en |
dc.description.degreediscipline | สำนักงานเลขา | th |
Appears in Collections: | Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61012180011.pdf | 4.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.