Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2260
Title: Guidelines for Promoting Cultural Tourism with Participation Chi -Long Forest Park Tha Khon Yang Subdistrict Kantharawichai District Mahasarakham Province
แนวทางการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม เขตวนอุทยานชีหลง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Pattarawat Surakhunthot
ภัทรวรรษ สุระขุนทด
Thitisak Wechkama
ฐิติศักดิ์ เวชกามา
Mahasarakham University
Thitisak Wechkama
ฐิติศักดิ์ เวชกามา
neoneonnong@hotmail.com
neoneonnong@hotmail.com
Keywords: แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
แนวทางส่งเสริม
การมีส่วนร่วม
Cultural Attractions
Participation
Guidelines
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The Chilong Forest Park has a beautiful natural, amazing view and wonderful Chi River. The community around Chilong Forest  has culture, traditions, and traditional beliefs of the Tai Yo people. The utility available in the locations. Convenient transportation is not far from Mueang Maha Sarakham district and close to Maha Sarakham University (Kham Riang Area). This sufficient to welcome tourists. It has the potential to develop into a cultural tourist attraction.This research is intended to1) To study the history of cultural attractions in Chilong Forest Park. 2) To study current conditions and problems in the development of participatory cultural attractions at Chilong Forest Park. 3) To propose management approaches cultural attractions with participation in Chilong Forest Park. The informant group includes: Ban Wang Wa Community Leader, Mayor of Tha Khon Yang Sub-district, The Provincial Cultural Office, Tourism and Sports Maha Sarakham Province and Chilong Forest Park. Data Collection Tools are Group Discussion Observation, Interviews and Questionnaires. Present the findings by analytical descriptive method.      The results showed that : 1) To study the history of cultural attractions in Chilong Forest Park. The development divided 3 phases: Phase 1 is the pioneering of arable land before 1981. Phase 2 is the Land expropriation in 1981. And phase 3 Community development in sustainable livelihoods 1982 – Present. 2) To study current conditions and problems in the development of participatory cultural attractions at Chilong Forest Park. In conclusion, there are three main points. 1.A lack of knowledge and understanding of the law about Forest conservation. 2.Information problems and communication problems between Park rangers and local community is one of the main barriers. 3. Socioeconomic issue, local people lack of money for getting involved is difficult. This problem found that there were intruders in the park's heaps to illegally cut down trees and poached wildlife until the resources were depleted. down. 3) To propose management approaches cultural attractions with participation in Chilong Forest Park. depend on corporate governance, public sector and local community. For study the needs to manage cultural tourism, the needs of tourists. Tourism is planned and tourism activities are selected using the cultural highlights of the attraction. Building a network of cooperation combined planning and defining tools to develop cultural tourism. This cultural tourism busines is a community-organized to encourage or support continuity in conservation work both in terms of nature and culture. Related to development Sadeu Isan Road Cultural tourism. Lead conservation Continuing and developing community culture continuously and strongly.                        In Conclusion, Chilong Forest Park has the potential to develop cultural tourism management. Includes many of supporting factor : It has a long interesting history, The local community has traditional culture. It has a beautiful natural. It is reasonable that community, government and private sector will work together to maintain and develop these cultural attractions for community sustainable livelihoods.
วนอุทยานชีหลง เป็นวนอุทยานทีมีสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติทัศนียภาพสวยงาม ลำน้ำชีที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบกับชุมชน มีวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ แบบดั้งเดิมของชาวไทญ้อ ภายใต้มีความเจริญเข้ามาถึงในระดับที่มีความพร้อมในเรื่องของสาธารณูปโภคที่ครบครัน การคมนาคมสะดวกสบาย ไม่ไกลจากตัวอำเภอเมืองมหาสารคามและอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (เขตพื้นที่ขามเรียง) ซึ่งพร้อมและเพียงพอต่อการต้อนรับนักท่องเที่ยว มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การวิจัยนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเขตวนอุทยานชีหลง 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม เขตวนอุทยานชีหลง 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วม เขตวนอุทยานชีหลง โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้นำชุมชนบ้านวังหว้า นายกเทศมนตรีตำบลท่าขอนยาง วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมหาสารคาม และวนอุทยานชีหลง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสังเกตการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์และแบบสอบถาม นำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์           ผลการวิจัยพบว่า 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเขตวนอุทยานชีหลง มีพัฒนาการแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ประกอบด้วย (ช่วงที่ 1) คือ บุกเบิกที่ดินทำกิน ก่อนปี 2524 (ช่วงที่ 2) คือ ช่วงเวนคืนที่ทำกิน ปี 2524 และ (ช่วงที่ 3) คือ ช่วงที่ชุมชนมีความมั่นคงในการดำรงชีพ ปี 2525 – ปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม เขตวนอุทยานชีหลง   พอสรุปได้เป็นประเด็นหลัก 3 ประเด็น คือ ปัญหาหรืออุปสรรคหนึ่งในการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ  1.การขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนับเป็นป่าอนุรักษ์ หากไม่สามารถทำความเข้าใจที่ถูกต้องได้ การเข้ามามีส่วนร่วมก็ไม่สามารถทำได้เต็มที่ตามที่ควรจะเป็น  2. ปัญหาด้านข้อมูลข่าวสาร ทั้งจากการขาดโอกาส และขาดประสิทธิภาพที่ดีในการสื่อสารของพื้นที่วนอุทยานไปสู่ท้องถิ่น และจากท้องถิ่นมาสู่พื้นที่วนอุทยาน อันนับว่าเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งของการมีส่วนร่วมในพื้นที่วนอุทยาน 3.ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากประชาชนในท้องถิ่นมีฐานะยากจน การเข้ามามีส่วนร่วมนั้นทำได้ยาก โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่วนอุทยาน ซึ่งเดิมเคยเป็นแหล่งทำมาหากินหลัก หากประชาชนยังคงมีความยากจน ความกดดันที่จะเข้ามาหาประโยชน์ในป่าย่อมจะเกิดขึ้น 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วม เขตวนอุทยานชีหลง ต้องดําเนินการแบบมีส่วนร่วมในรูปคณะกรรมการ ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน จัดให้มีการศึกษาถึงความต้องการที่จําเป็นในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และความต้องการของนักท่องเที่ยว มีการวางแผนการท่องเที่ยว และเลือกกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยใช้จุดเด่นทางวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยว มีการจัดตั้งเครือข่ายการท่องเที่ยวและสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เครือข่ายให้เครือข่ายดูแลแหล่งท่องเที่ยวและได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม ธุรกิจการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนี้ต้องเป็นการท่องเที่ยวที่จัดโดยชุมชน เพื่อชุมชน และเกิดประโยชน์ต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาวัฒนธรรมชุมชน มีการเพิ่มหรือต่อยอดจากเส้นทางการท่องเที่ยวถนนสายวัฒนธรรมสะดืออีสาน ซึ่งจะทําให้ชุมชนมีรายได้และหวงแหน วัฒนธรรมของตนเองและนำไปสู่การอนุรักษาสืบสานและพัฒนาวัฒนธรรมชุมชนอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็งต่อไป โดยสรุป วนอุทยานชีหลง มีศักยภาพในการพัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เนื่องด้วยปัจจัยเกื้อหนุนหลายประการคือมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ชุมชนโดยรอบยังคงมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม มีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติแวดล้อมที่สวยงาม สมควรที่ ชุมชน องค์กรของรัฐและเอกชน จักได้ร่วมมือกันรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเหล่านี้ให้ยั่งยืน เพื่อประโยชน์แก่ชุมชนสืบไป  
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2260
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62012151002.pdf7.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.