Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2267
Title: Light and sound show, the legend of the city of Fa Daet Song Yang: Guidelines creative economy in the context of localism
การแสดงแสง สี เสียง ตำนานเมืองฟ้าแดดสงยาง : แนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในบริบทท้องถิ่นนิยม  
Authors: Gaweechai Boonwong
กวีชัย บุญวงค์
Thanyalak Moonsuwan
ธัญลักษณ์ มูลสุสรรณ
Mahasarakham University
Thanyalak Moonsuwan
ธัญลักษณ์ มูลสุสรรณ
thanyalak.moo@msu.ac.th
thanyalak.moo@msu.ac.th
Keywords: การแสดงแสง สี เสียง
ฟ้าแดดสงยาง
แนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ท้องถิ่นนิยม
light and sound show
Fa Daet Songyang
creative economy approach
local popularism
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were 1) to study the history and development of light and sound performances in the legend of Fa Daet Song Yang. in the worship of Phra That Ya Khu Kalasin Province 2) to study the components of the light and sound performance of the legend of Fa Daet Song Yang in the worship of Phra That Ya Khu Kalasin Province 3) To study creative economy approaches in the light and sound show, the legend of Fa Daet Song Yang. Worship Phra That Ya Khu in a popular local context The samples used in the research were: A group of knowledgeable people, 4 people, 12 practitioners, and a group of general informants, 30 people, by selecting a purposive sampling. The research tools were 1) a survey 2) an interview.                     The results showed that Light and sound show of the legend of Fa Daet Song Yang The first show was held in 2015 and continues every year. by responding to the policy and economic development plans for secondary cities Therefore, the form of activities has been determined. And to arrange a show in the form of light, color, sound related to the legend Fa Daet Song Yang City and Phra That Yakhu The form of the show will have a variety of characters. and distinguished by the roles of various characters to convey the story of the legend Fa Daet Song Yang City And there will be a dramatic performance during the performance. Subsequently, the style of the show was modified to allow the characters to play more roles by inserting current content into each performance period. in the worship of Phra That Ya Khu Kalasin ProvinceThe great also shows love and unity. and conscience of local preservation realize the value and saw the benefits of inheriting historical stories local wisdom, way of life, and unique culture of Kalasin people through the process of telling stories through performances Both the development of the form of performances dramatic form, dramatic form, musical form used in the performance and various elements that have changed from the original every year and 3) the legend of Fa Daet Songyang City of Kalasin Province. Was transmitted in the form of performances, light, color, sound. It was found that there has been a development in the form of presentation, performances and various elements every year has been changed from the original. Appearing in various media to promote tourist attractions to stimulate the cultural economy and respond to the policies of the province to promote tourism in line with current conditions lead to the creative economy in a popular local context A study of the development of light, color, sound and performance performances. and mixed media that appears in the light and sound show, the legend of Fa Daet Song Yang City in the worship of Phra That Ya Khu Kalasin Province will cause knowledge in show management and integrated technologies that benefit the community. and can be creative It also stimulates the job economy to be modern in today's era.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาพัฒนาการ การแสดงแสง สี เสียง ตำนานเมืองฟ้าแดดสงยาง ในงานบูชาพระธาตุยาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการแสดงแสง สี เสียง ตำนานเมืองฟ้าแดดสงยาง ในงานบูชาพระธาตุยาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ 3) เพื่อศึกษาแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในการแสดงแสง สี เสียง ตำนานเมืองฟ้าแดดสงยาง งานบูชาพระธาตุยาคู ในบริบทท้องถิ่นนิยม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มผู้รู้จำนวน 4 คน ผู้ปฏิบัติจำนวน 12 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไปจำนวน 30 คน โดยทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสำรวจ 2) แบบสัมภาษณ์                               ผลการวิจัยพบว่า การแสดงแสงสีเสียงตำนานเมืองฟ้าแดดสงยาง จัดงานแสดงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2558 และจัดต่อมาทุกปี โดยได้ตอบสนองนโยบาย และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองรอง จึงได้กำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรม และให้จัดการแสดงในรูปแบบ แสง สี เสียง ที่เกี่ยวกับตำนาน เมืองฟ้าแดดสงยาง และพระธาตุยาคู ซึ่งรูปแบบการแสดงจะมีตัวละครที่หลากหลาย และโดดเด่นตามบทบาทของตัวละครต่าง ๆ เพื่อสื่อให้เห็นถึงเรื่องราวของตำนาน เมืองฟ้าแดดสงยาง และจะมีการแสดงนาฏกรรมประกอบในระหว่างการทำการแสดง ต่อมามีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงให้ตัวละครมีบทบาทมากยิ่งขึ้นโดยมีการสอดแทรกเนื้อหาปัจจุบันเข้าไปในแต่ละช่วงการแสดง 2) การแสดงแสง สี เสียง ตำนานเมืองฟ้าแดด   สงยาง ในงานบูชาพระธาตุยาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ยิ่งใหญ่ยังแสดงให้เห็นถึงความรักความสามัคคี และจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่น ตระหนักถึงคุณค่า และเล็งเห็นประโยชน์ในด้านการสืบทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต รวมถึงวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดกาฬสินธุ์   ที่ผ่านกระบวนการเล่าเรื่องราวผ่านการแสดง ทั้งเกิดการพัฒนาในด้านรูปแบบการแสดง รูปแบบนาฏกรรม รูปแบบบทละคร รูปแบบดนตรี  ที่ใช้ประกอบการแสดง และองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิม           ในทุก ๆ ปี และ 3).ตำนานเมืองฟ้าแดดสงยางของจังหวัดกาฬสินธุ์ ถูกถ่ายทอดมาในรูปแบบการแสดง แสง สี เสียง พบว่ามีการพัฒนาด้านรูปแบบการนำเสนอการแสดงและองค์ประกอบต่าง ๆ ในทุก ๆ ปีมีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิม ที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวการกระตุ้นเศรษฐกิจทางวัฒนธรรม และสนองนโยบายของจังหวัด เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน นำไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในบริบทท้องถิ่นนิยม การศึกษาพัฒนาการของการแสดง แสง สี เสียง และรูปแบบการแสดง และสื่อผสมที่ปรากฏในการแสดง แสงสี เสียง ตำนานเมืองฟ้าแดดสงยาง ในงานบูชาพระธาตุยาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ จะทำให้เกิดความรู้ทางด้านการจัดการแสดง และเทคโนโลยีแบบผสมผสานซึ่งเป็นประโยชน์แก่ชุมชน และสามารถสร้างสรรค์ ทั้งยังกระตุ้นเศรษฐกิจในงานให้มีความทันสมัยในยุคปัจจุบัน
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2267
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64012453001.pdf12.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.