Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2280
Title: Aew Lao Wiang : Creation of Contemporary Isan Folk Dance Lao Wiang ethnic group in Nakhon Ratchasima Province
แอ่วลาวเวียง : การสร้างสรรค์นาฏศิลปพื้นเมืองอีสานร่วมสมัย กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง ในจังหวัดนครราชสีมา
Authors: Kanokwan Khwaenkonchim
กนกวรรณ แคว้นคอนฉิม
Pattamawadee Chansuwan
ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ
Mahasarakham University
Pattamawadee Chansuwan
ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ
pattamawadee.c@msu.ac.th
pattamawadee.c@msu.ac.th
Keywords: แอ่วลาวเวียง
การสร้างสรรค์
นาฏศิลป์พื้นเมืองอีสานร่วมสมัย
Aew Lao Wiang
Creation
Contemporary Isan folk dance
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:      A Research on Lao Vieng: The Creation of Isan Traditional Dance Beginning with the Dance Culture of the Sample Group of Laos Vientiane Nakhon Ratchasima was qualitative research as usual 1) Academic teaching for this purpose and dancing of the Lao Wiang sample group, Nakhon Ratchasima 2) To disseminate traditional dance from Lao Wiang tribal dance culture by studying field dissemination documents. using random selection method without specificity the sample group consisted of 2 experts, A group of experts and examiners of the creative evaluation form, 3 people 6 practitioners, and 20 general people by in-depth interviews. The tools used were surveys, non-participant observations. structured and unstructured interview forms the results of the data analysis were then presented by a descriptive analysis method.      The study found that Dance culture of the Lao Wiang ethnic group From the historical evidence in terms of documents and mural paintings of Wat Na Phra That. which conveys cultural adaptation in habitats with ethnic differences such as language, dress, occupation, but the same thing is Heet 12 traditional dance culture appears to be a culture that has been handed down to the present day. By using the concept of artificial dance by Suraphon Wirunrak as a framework for designing and creating works. together with the concept of cultural capital and related theories, including cultural integration theory creative theory aesthetic theory Until becoming a contemporary Isaan folk dance that is complete, showing the identity of the Lao Wiang community Inheriting the dance culture and to create a valuable cultural value and ethnic identity to continue to be the heritage of the community.
     การวิจัย แอ่วลาวเวียง : การสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นเมืองอีสานร่วมสมัย จากวัฒนธรรมการฟ้อนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติและวัฒนธรรมการฟ้อน กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง ในจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อสร้างสรรค์นาฏยศิลป์พื้นเมืองร่วมสมัย จากวัฒนธรรมการฟ้อน กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยและข้อมูลภาคสนาม โดยใช้วิธีสุ่มเลือกแบบไม่เจาะจง กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้รู้ จำนวน 2 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้ตรวจแบบประเมินนผลงานสร้างสรรค์จำนวน 3 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 6 คน และกลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสำรวจ แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์      ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมการฟ้อนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ด้านเอกสารและภาพจิตกรรมฝาหนังวัดหน้าพระธาตุ ซึ่งสื่อให้เห็นการปรับปรนทางวัฒนธรรมในแหล่งที่อยู่อาศัยมีความแตกต่างกันด้านชาติพันธุ์ เช่น ภาษา การแต่งกาย อาชีพ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ วัฒนธรรมการฟ้อนประเพณีฮีต 12 ปรากฏเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจนปัจจุบัน โดยใช้แนวคิดนาฏยประดิษฐ์ของ สุรพล วิรุฬห์รักษ์ มาเป็นกรอบในการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงาน ร่วมกับแนวคิดทุนทางวัฒนธรรม และทฤษฎีเกี่ยวข้อง ได้แก่ ทฤษฎีผสมผสานทางวัฒนธรรม ทฤษฎีสร้างสรรค์ ทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ จนเกิดเป็นนาฏศิลป์พื้นเมืองอีสานร่วมสมัยที่มีความสมบูรณ์แสดงถึงความเป็นตัวตนของชุมชนลาวเวียง สืบทอดวัฒนธรรมการฟ้อน และเป็นการสร้างมูลค่าทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ให้ดำรงอยู่เป็นมรดกของชุมชนต่อไป
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2280
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64012453019.pdf11.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.