Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2311
Title: Phytochemicals and Antioxidant Activity from the Extract of Wild Grape (Ampelocissus martinii Planch.) Wine Residues
สารพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากกากไวน์องุ่นป่า (Ampelocissus martinii Planch.)
Authors: Kiattisak Rattanacunsart
เกียรติศักดิ์ รัตนคุณศาสน์
Prasong Srihanam
ประสงค์ สีหานาม
Mahasarakham University
Prasong Srihanam
ประสงค์ สีหานาม
prasong.s@msu.ac.th
prasong.s@msu.ac.th
Keywords: กากไวน์องุ่นป่า, สารพฤกษเคมี, ไวน์, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, สหสัมพันธ์
Wild grape pomace
phytochemicals
wine
antioxidant activity
correlation
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objective of this work was to screen the total phytochemicals; phenolic (TPC), flavonoid (TFC), saponin (TSC), condensed tannin (CDT) and proanthocyanidin (TPAC) contents and antioxidant activity of wild grape (Ampelocissus martinii Planch.) pomace extracts derived from wine production. The results found that the highest contents of phytochemicals were found in the immature extract and the CDT has the highest content. However, the TPAC, TPC and TSC also found in high contents. Types and contents of phytochemicals in the extracts were analyzed by high performance liquid chromatography (HPLC). The results indicated that gallic acid, quercetin, resveratrol and epicatechin are the main phenolic compounds in the immature and ripe of wild grape wine pomaces, while caffeic acid was another substance found in mature of wild grape wine pomace instead the epicatechin. The antioxidant activity of the extracts investigated by DPPH and ABTS radicals scavenging assays indicated that all extracts have low values of IC50, which revealed the highest antioxidant capacity. Contrast all extracts showed low reducing power potential by FRAP assay. However, they have high reducing power on CUPRAC assay which was higher potential than FRAP over 120 folds. The phytochemicals showed a different correlations to the antioxidant activity. This work indicated that the wild grape pomace from wine production is a good source of bioactive phytochemicals with high potential of antioxidant activity.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจคัดกรองปริมาณสารพฤกษเคมีทั้งหมด ได้แก่ ฟีนอลิก (TPC) ฟลาโวนอยด์ (TFC) ซาโปนิน (TSC) คอนเดนส์แทนนิน (CDT) และโพรแอนโทไซยานิดิน (TPAC) และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากกากองุ่นป่า (Ampelocissus martinii Planch.) ที่ผ่านการหมักไวน์ ผลการทดลอง พบว่า ปริมาณสารพฤกษเคมีสูงสุดพบในสารสกัดจากกากไวน์ที่ได้จากผลองุ่นอ่อนและปริมาณคอนเดนส์แทนนินมีปริมาณสูงสุด อย่างไรก็ตาม ตรวจพบปริมาณโพรแอนโทไซยานิดิน ฟีนอลิกและซาโปนินสูงเช่นกัน เมื่อทำการวิเคราะห์ชนิดและปริมาณสารพฤกษเคมีด้วยเครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC) ผลการทดลอง พบว่า gallic acid, quercetin, resveratrol และ epicatechin เป็นสารหลักที่ตรวจพบในสารสกัดจากกากไวน์องุ่นป่าอ่อนและสุก ในขณะที่ในสารสกัดจากกากไวน์องุ่นป่าแก่ จะมี  caffeic acid แทน epicatechin เมื่อตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบด้วยวิธีดักจับอนุมูล DPPH และ ABTS พบว่า สารสกัดทั้งหมดมีค่า IC50 ต่ำ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สารสกัดที่ตรวจสอบมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูง ในทางตรงกันข้าม สารสกัดทุกตัวอย่างมีค่าต่ำเมื่อทดสอบด้วยวิธี FRAP อย่างไรก็ตาม สารสกัดให้ค่าสูงเมื่อทดสอบด้วยวิธี CUPRAC โดยมีค่าสูงกว่าเมื่อทดสอบด้วยวิธี FRAP ประมาณ 120 เท่า สารพฤกษเคมีที่พบในสารสกัดมีค่าสหสัมพันธ์กับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแตกต่างกัน  ผลการทดลองที่ได้นี้แสดงให้เห็นว่ากากองุ่นป่าที่ผ่านการหมักไวน์เป็นแหล่งสำคัญของสารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2311
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010284001.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.