Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/234
Title: Isan and the Politics of Space : From “Lao Principalities” to the “Red Shirts”
อีสานและการเมืองเรื่องพื้นที่ : จาก “หัวเมืองลาว” ถึง “คนเสื้อแดง”
Authors: Theerapong Kantam
ธีรพงษ์  กันทำ
Alongkorn Akkasaeng
อลงกรณ์ อรรคแสง
Mahasarakham University. The College of Politics and Governance
Keywords: อีสาน
การเมืองเรื่องพื้นที่
ความหมาย
Isan
Politics of Space
Meaning
Issue Date:  30
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis aims to investigate and explains changing definitions of Isan as a space since 1882 up to the coup in 2014, using Henri Lefebvre’s concept of the production of space and Michel Foucault’s concept of discourse analysis as the major theoretical frameworks. The study focuses on different definitions of Isan as appeared in different timings, to see how definitions of the space have transformed. The study shows that the definitions of Isan can be distinguished into 6 different periods of timings. The first period began with a migration of Lao that settled down as new communities in Isan, followed by a spreading of the Thai state’s influences into the region that gave birth to a space of Lao principalities (1882-1891). This was transformed in the second period when the Thai state began to apply integration policy that created a space of Thai nationhood (1892-1932), and fade away notions of differences between nationalities. In the third period, Isan was seen as a troubled space (1933-1957) due to poverty and underdevelopment of the region that reflected unequal power-relation between Isan and Bangkok. This led to the fourth period where Isan, as a security-risk space (1958-1980), was put under development projects to solve poverty and communist insurgency in the region. In the fifth period, Isan has become a strategic space of electoral campaigns (1981-2007) due to its massive population that is of one-thirds of the country, making the region becoming the largest political battle ground where the party that won most seats in Isan tends to from the government. This led to the sixth period where after the coup in 2006, the red shirt movement has emerged mainly from Isan population, making the region becoming the largest mass-base for the red shirt, leading to the construction of Isan as a red shirt space (2008-2014). Conclusively, changing definitions of Isan as a space, in accordance to a changing period of times, shows us that space is a mere phenomenon discourse that emerges due to how it is imagined of or defined.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาค้นคว้าเพื่ออธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางความหมายของพื้นที่อีสานนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2425 จนกระทั่งถึงการรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยนำแนวคิดการผลิต/สร้างพื้นที่ของอองรี เลอเฟบวร์ และการวิเคราะห์วาทกรรมของมิแช็ล ฟูโกต์ มาเป็นกรอบศึกษา โดยทำการศึกษาหาความหมายของพื้นที่อีสานที่ปรากฏในช่วงเวลาต่าง ๆ ว่าความหมายของพื้นที่อีสานแปรเปลี่ยนความหมายไปอย่างไร จากการศึกษาพบว่า ความหมายของพื้นที่อีสานแบ่งออกได้ 6 ช่วงเวลา อันได้แก่ ช่วงแรก การอพยพของกลุ่มคนลาวที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งชุมชนใหม่ขึ้นในพื้นที่อีสานพร้อมกับการแผ่ยายอำนาจของรัฐไทยก็ได้นำไปสู่การผลิต/สร้างพื้นที่หัวเมืองลาว (พ.ศ. 2425-2434) ทำให้ในช่วงที่สอง ถูกผลิต/สร้างขึ้นเป็นพื้นที่ของการสร้างความเป็นชาติของไทยในอีสาน (พ.ศ. 2435-2475) เพื่อลบเลือนความรู้สึกความแตกต่างในทางชาติพันธุ์ ในช่วงที่สาม พื้นที่ภูมิภาคที่เป็นปัญหา (พ.ศ. 2476-2500) ซึ่งปรากฏให้เห็นจากสภาพความยากจนและด้อยพัฒนาในอีสานที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างอีสานกับกรุงเทพฯ ได้นำไปสู่ช่วงที่สี่ พื้นที่ของการพัฒนาเพื่อความมั่นคง (พ.ศ. 2501-2523) อันเนื่องมาจากปัญหาความยากจนและภัยคอมมิวนิสต์ในอีสาน ในช่วงที่ห้า พื้นที่ของการเลือกตั้ง (พ.ศ. 2524-2550) อันเป็นผลมาจากอีสานมีประชากรคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของประเทศทำให้เป็นเวทีของการต่อสู้ในการเลือกตั้งที่ใหญ่ที่สุด ถ้าหากพรรคการเมืองได้รับคะแนนเสียงในอีสานมากที่สุดก็มีมโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลสูง และนำไปสู่ช่วงที่หก ภายหลังการรัฐประหารในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 การกลายเป็นคนเสื้อแดงของคนอีสานและเป็นฐานมวลชนของขบวนการเสื้อแดงได้นำไปสู่การผลิต/สร้างพื้นที่คนเสื้อแดง (พ.ศ. 2551-2557) ปรากฏตัวขึ้นมา อย่างไรก็ดี ความหมายของพื้นที่อีสานที่แปรเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลานั้นสะท้อนเห็นว่า พื้นที่เป็นปรากฎการณ์เชิงวาทกรรม เพราะพื้นที่ปรากฎขึ้นมาจากวิธีที่สถานที่นั้นถูกจินตนาการถึงหรือให้ความหมาย
Description: Master of Political Science Program in Politics and Governments (M.Pol.Sci.)
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/234
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56011380015.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.