Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2340
Title: The Development of English Speaking Skill Test for Students of Junior High School
การพัฒนาแบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Authors: Phatarakamol Nantana
ภทรกมล นันตะนะ
Boonchom Srisa-ard
บุญชม ศรีสะอาด
Mahasarakham University
Boonchom Srisa-ard
บุญชม ศรีสะอาด
Boonchom111@gmail.com
Boonchom111@gmail.com
Keywords: การพัฒนาแบบวัดทักษะ
แบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ
The Development of English Speaking Skills Test
English Speaking Skills Test
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research were to develop and to determine a quality of English speaking skills test for 390 students of third stage who were randomly selected by multi-stage random sampling in Mahasarakham province. The instrument used to collect data included the research-constructed observation form for practical English speaking skills comprising 2 parts; description and discussion which concentrated in 5 areas; pronunciation, grammar, fluency, vocabulary, and comprehensibility. We tested in the first to the third time in order to improve the instrument by discrimination reliability and Concurrent Validity. In the last test, we determined a quality of the instrument by discrimination, reliability, rater agreement index, and concurrent Validity The analyses of the quality of English speaking skills test indicated that: 1. The discrimination of the description in the first time is from 0.85 to 0.92, the second time is from 0.84 to 0.89, the third time is from 0.85, the fourth time is from .76 to 0.84 and the fifth time is from 0.85 to 0.91. The discrimination of the discussion in the first time is from 0.83 to 0.88. The second time is from 0.71 to 0.84, the third time is from 0.82 to 0.89, the fourth time is from .69 to 0.92, and the fifth time is from 0.82 to 0.88, considered the classifying power at the appropriate quality level. 2. The reliability of the description from 5 testing by using the alpha coefficient in the first time is 0.96, the second time is 0.96, the third time is 0.96, the fourth time is 0.94 and the fifth time is 0.95. The reliability of the discussion in the first time is 0.95. The second time is 0.93, the third time is 0.95, the fourth time is 0.95, and the fifth time is 0.95, It is considered that the reliability of the English speaking skill test is very high. 3. The rater agreement index of the description in the first time is 0.995, the second time is 0.975, the third time is 0.994, the fourth time is 0.969, and the fifth time is 0.944. The rater agreement index of the discussion in the first time is 0.985. The second time is 0.973, the third time is 0.985, the fourth time is 0.977, and the fifth time is 0.985, It is considered that the rater agreement index of the English speaking skill test is very high. 4. The concurrent validity of the description from 5 testing by using Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient in the first time is 0.82, the second time is 0.77, the third time is 0.91, the fourth time is 0.80 and the fifth time is 0.86. The concurrent validity of the discussion in the first time is 0.81. The second time is 0.75, the third time is 0.89, the fourth time is 0.83, and the fifth time is 0.77, It is considered that the concurrent validity of the English speaking skill test is quite high.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อหาคุณภาพของแบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 390 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้มี 1 ฉบับ คือ แบบสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษาอังกฤษ 2 ด้าน ได้แก่ การพูดบรรยายภาพ และการพูดอภิปราย แต่ละรายการสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษาอังกฤษ 5 ด้าน ได้แก่ การออกเสียง การใช้ไวยากรณ์ ความคล่องแคล่ว การใช้คำศัพท์ ความเข้าใจ โดยทำการทดลองครั้งที่ 1 ถึง 4 เพื่อปรับปรุงแก้ไข โดยหาค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัด ค่าความเชื่อมั่นของผู้สังเกต 2 คน และการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพ การทดลองครั้งที่ 5 เพื่อหาคุณภาพโดยหาค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัด ค่าความเชื่อมั่นของผู้สังเกต 2 คน และการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. แบบสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีคุณภาพดังนี้ การวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ รายการที่ 1 การบรรยายภาพ (Description) ในการทดสอบครั้งที่ 1 มีค่าตั้งแต่ 0.85 ถึง 0.92 ครั้งที่ 2 มีค่าตั้งแต่ 0.84 ถึง 0.89 ครั้งที่ 3 มีค่าตั้งแต่ 0.85 ถึง 0.91 ครั้งที่ 4 มีค่าตั้งแต่ .76 ถึง 0.84 และครั้งที่ 5 มีค่าตั้งแต่ 0.85 ถึง 0.91 ถือว่าค่าอำนาจจำแนกมีคุณภาพที่เหมาะสม รายการที่ 2 การอภิปราย (Discussion) ในการวัดครั้งที่ 1 มีค่าตั้งแต่ 0.83 ถึง 0.88 ครั้งที่ 2 มีค่าตั้งแต่ 0.71 ถึง 0.84 ครั้งที่ 3 มีค่าตั้งแต่ 0.82 ถึง 0.89 ครั้งที่ 4 มีค่าตั้งแต่ .69 ถึง 0.92 และครั้งที่ 5 มีค่าตั้งแต่ 0.82 ถึง 0.88 ถือว่าค่าอำนาจจำแนกอยู่ในระดับมีคุณภาพที่เหมาะสม 2. ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา ปรากฏว่า แบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ จากการทดสอบ 5 ครั้ง โดยรายการที่ 1 การบรรยายภาพ (Description) ครั้งที่ 1 มีค่า 0.96 ครั้งที่ 2 มีค่า 0.96 ครั้งที่ 3 มีค่า 0.96 ครั้งที่ 4 มีค่า 0.94 และครั้งที่ 5 มีค่า 0.95 รายการที่ 2 การอภิปราย (Discussion) ครั้งที่ 1 มีค่า 0.95 ครั้งที่ 2 มีค่า 0.93 ครั้งที่ 3 มีค่า 0.95 ครั้งที่ 4 มีค่า 0.95 และครั้งที่ 5 มีค่า 0.95 ถือว่ามีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษสูงมาก 3. การวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของผู้ตรวจให้คะแนนหรือผู้สังเกต 2 คน ของแบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ จาการทดสอบ 5 ครั้ง โดยรายการที่ 1 การบรรยายภาพ (Description) ครั้งที่ 1 มีค่า 0.995 ครั้งที่ 2 มีค่า 0.975 ครั้งที่ 3 มีค่า 0.994 ครั้งที่ 4 มีค่า 0.969 และครั้งที่ 5 มีค่า 0.944 รายการที่ 2 การอภิปราย (Discussion) ครั้งที่ 1 มีค่า 0.985 ครั้งที่ 2 มีค่า 0.973 ครั้งที่ 3 มีค่า 0.985 ครั้งที่ 4 มีค่า 0.977 และครั้งที่ 5 มีค่า 0.985 ถือว่ามีค่าความเชื่อมั่นของผู้สังเกต 2 คน สูงมาก 4. ค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพของแบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ระหว่างคะแนนจากการสังเกตพฤติกรรมการพูดกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ปรากฏว่า แบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพ จาการทดสอบ 5 ครั้ง โดยรายการที่ 1 การบรรยายภาพ (Description) ครั้งที่ 1 มีค่า 0.82 ครั้งที่ 2 มีค่า 0.77 ครั้งที่ 3 มีค่า 0.91 ครั้งที่ 4 มีค่า 0.80 และครั้งที่ 5 มีค่า 0.86 ถือว่า การบรรยายภาพ (Description) มีความเที่ยงตรงเชิงสภาพสูง รายการที่ 2 การอภิปราย (Discussion) ครั้งที่ 1 มีค่า 0.81 ครั้งที่ 2 มีค่า 0.75 ครั้งที่ 3 มีค่า 0.89 ครั้งที่ 4 มีค่า 0.83 และครั้งที่ 5 มีค่า 0.77 ถือว่า รายการที่ 2 การอภิปราย (Discussion) มีความเที่ยงตรงเชิงสภาพค่อนข้างสูง
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2340
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010584019.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.