Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2342
Title: The Synthesis of Research on Instruction Methods that Affect Science and Creative Learning Achievement, of Secondary School
การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับวิธีจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 
Authors: Tawanporn Chubkuntod
ธวัลพร ชุบขุนทด
Montree Wongsaphan
มนตรี วงษ์สะพาน
Mahasarakham University
Montree Wongsaphan
มนตรี วงษ์สะพาน
montree.v@msu.ac.th
montree.v@msu.ac.th
Keywords: การสังเคราะห์งานวิจัย
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ความคิดสร้างสรรค์
A Synthesis of Research
Achievement
Creative thinking
Issue Date:  9
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this study were (1) to analyze and classify methods of science learning management in junior high school level from research and thesis that published during the year 2007 – 2019. (2) to study the effect size. The methods of teaching and learning that affect the academic achievement of science learning and creativity in junior high school level. (3) to compare the effect size between the different methods of learning management which affects the learning achievement of science and creativity in junior high school students, totaling 43 researches. The research instruments were the research quality assessment and research summary feature. The data used consist of the effect size was analyzed by meta-analysis using the glass method of 43 values. The data were analyzed using descriptive statistics and comparing the effect size with analysis of variance (one-way ANOVA) The study revealed these results:                 Based on the analysis of fundamental research studies on methods of teaching that affect the academic achievement of science and creativity in junior high school level for 43 researches. It was found that the year of publication of the work the most was 2007 (23.26%) The most studied subjects were branches of curriculum and instruction. Srinakharinwirot University Institute produces the most research (23.26%) Research that is an integral part of the study (Thesis study or independent study) (97.76%) The most studied learning management method was the most Constructionism method (46.51%) The most directional hypothesis (64.44%) Most of the data sources used were from the sample group (97.67%) The samples were selected randomly split among the highest (37.21%). The most studied sample group was grade 7 (39.53%) The research design used in the research was Randomized One Group Pretest - Posttest Design (72.09%) The sample used research 1 group the most (76.74%) The number of samples of the experimental group used in the study the most were 31-40 people (37.21%) The highest number of samples of the control group studied 21-30 people (40%) The number of independent variables used in the study was the learning management method (72.09%), the variables studied with achievement and creativity the most was science process skills (3.96%) The research instruments used to collect the most were learning achievement and creativity measurements (72.88%) The quality of all research instruments was examined. The difficulty was found at (27.40%). The most used basic statistic was the mean, standard deviation (53.49%), the t-test statistic (97.73%) The effect size of learning management method that affected the academic achievement of science and creativity in junior high school level. The results indicated that the cooperative learning method, the average effect size was 2.957. Learning management by using the brain base learning, the average effect size was 3.531. The Inquiry-based learning method, the average effect size was 2.618 and method of constructionism, the average effect size was 2.695             Comparing the effect size between the different methods of learning management that affected the academic achievement of science and creativity of junior high school students. The results revealed that first and foremost learning management method that affected the academic achievement of science and creativity was learning management by using the brain base learning. Secondly, the cooperative learning method. Thirdly, the inquiry-based learning method. Lastly, the constructionism method respectively. The effect size compared with one-way analysis of variance (One - way ANOVA) it was found that the learning management by using the brain base learning that affected the learning achievement and creativity were higher than the cooperative learning method. Inquiry-based learning method and constructionism method there were statistically significant at the .05 level it affected the academic achievement no different.              To sum up, the learning management by using the brain base learning. The cooperative learning method. The Inquiry-based learning method and constructionism method affected the achievement and creative higher than normal teaching and each learning method had a statistically significant difference in academic achievement. Consequently, teachers should choose to utilize different methods of learning management to suit the content of the lesson, education level, learner's ability, the environment of teaching and learning to provide students to have higher academic achievement and be able to apply them effectively.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์จำแนกวิธีการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากงานวิจัยและงานวิทยานิพนธ์ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี 2550 – 2562  2) เพื่อศึกษาหาค่าขนาดอิทธิพล วิธีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพล ระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 43เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยและแบบสรุปคุณลักษณะงานวิจัย ข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วย ค่าขนาดอิทธิพลโดยการวิเคราะห์อภิมานด้วยวิธีของกลาส (Glass) จำนวน 43 ค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการบรรยาย และเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)            ผลการศึกษาพบว่า                        1. จากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 43 เรื่อง พบว่า ปีที่พิมพ์เผยแพร่ผลงานมากที่สุดคือ ปี พ.ศ. 2550 (ร้อยละ 23.26) สาขาวิชาที่ศึกษามากที่สุดคือ สาขาหลักสูตรและการสอน  สถาบันมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒผลิตงานวิจัยมากที่สุด (ร้อยละ23.26) งานวิจัยที่เป็นงานวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา (การศึกษาวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระ) (ร้อยละ 97.76) วิธีการจัดการเรียนรู้ที่ศึกษามากที่สุดคือ วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองมากที่สุด (ร้อยละ 46.51) ลักษณะของสมมติฐานแบบมีทิศทางมากที่สุด(ร้อยละ64.44) ส่วนใหญ่แหล่งข้อมูลที่ใช้ศึกษามาจากกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด(ร้อยละ 97.67) และมีลักษณะการกำหนดสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นแบบกำหนดเอง (ร้อยละ100)  ลักษณะการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มแบบแบ่งกลุ่มมากที่สุด (ร้อยละ 37.21) ระดับชั้นของประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 มากที่สุด (ร้อยละ 39.53) แบบแผนการวิจัยในงานวิจัยที่นำมาใช้ Randomized One Group Pretest - Posttest Design มากที่สุด (ร้อยละ 72.09) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 1 กลุ่ม มากที่สุด(ร้อยละ 76.74) ซึ่งจำนวนตัวอย่างของกลุ่มทดลองที่ใช้ในการศึกษา 31 – 40 คน มากที่สุด (ร้อยละ 37.21) จำนวนตัวอย่างของกลุ่มควบคุมที่มีการศึกษา 21-30 คน มากที่สุด (ร้อยละ 40.0) จำนวนตัวแปรอิสระที่ใช้ศึกษามากที่สุด คือ วิธีจัดการเรียนรู้ (ร้อยละ 72.09 ) ตัวแปรตามที่ศึกษาร่วมกับผลสัมฤทธิ์และความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด คือทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ (ร้อยละ 3.96) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด(ร้อยละ 72.88) ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกงานวิจัยหาค่าความยากง่ายมากที่สุด (ร้อยละ 27.40) สถิติพื้นฐานที่ใช้มากที่สุดคือค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(ร้อยละ 53.49) สถิติทดสอบ t-test มากที่สุด (ร้อยละ 97.73)                    2. ค่าอิทธิพลวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า วิธีการจัดการเรียนแบบร่วมมือ มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ย คือ 2.957 วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ย คือ 3.531 วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ย คือ 2.618 และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ย คือ 2.695                        3. เมื่อเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพล ระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า วิธีจัดการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนได้ดีที่สุด คือ วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน รองลงมาคือ วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ตามลำดับ เมื่อนำค่าขนาดอิทธิพลมาเปรียบเทียบด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA)  ปรากฏว่า วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์สูงกว่า วิธีจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิธีจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะและวิธีจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน                                โดยสรุป วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลต่อการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าการสอนตามปกติ และแต่ละวิธีจัดการเรียนรู้ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นครูผู้สอนควรเลือกใช้วิธีจัดการเรียนรู้แบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาของบทเรียน ระดับการศึกษาความสามารถของผู้เรียนและสภาพแวดล้อมของการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2342
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010552007.pdf8.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.