Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2344
Title: | The Development of Learning packages of STEM education for Matthayomsuksa 1 students การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
Authors: | Anothai Jaiboae อโณทัย ใจเบอะ Phamornpun Yurayat ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์ Mahasarakham University Phamornpun Yurayat ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์ pacharaporn.y@msu.ac.th pacharaporn.y@msu.ac.th |
Keywords: | ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ Learning packages of STEM education, learning achievement, science process skills |
Issue Date: | 7 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purposes of this research were 1) study effective of Learning packages of STEM education for Matthayomsuksa 1 students criteria at 70/70, 2) to compare the learning achievement between before and after by Learning packages of STEM education for Matthayomsuksa 1 students, 3) to develop science process skills of Mathayomsuksa 1 students learned by Learning packages of STEM education in order to not lower than the criterion of 70 percent. The sample in thisstudy were 33 Mattayomsuksa 1, during the second semester (2nd semester) of 2020 academic year of Buraphaphitthayakhan Municipal School, Under the Education Division of MahaSarakham Municipality. The research tools were : 1) 3 sets of Learning packages of STEM education in the subject Our atmosphere for Matthayomsuksa 1 students, 2) 8 lesson plans of Science learning management plan in the subject Our atmosphere for Matthayomsuksa 1 students, 3) 30 items of achievement test in the subject Our atmosphere for Matthayomsuksa 1 students, and 4) 30 items of test of integrated science skills for Matthayomsuksa 1 students. The statistics used in the study were mean, average, and standard deviation. One sample t-test were used for testing the research hypothesis.
The results are :
1. The learning packages of STEM education for Matthayomsuksa 1 students an effectiveness was equal to 75.35/76.77
2. the learning achievement between before and after by Learning packages of STEM education for Matthayomsuksa 1 students Average score after learned higher than those before at .05 of statistical significance
3. the science process skills of Mathayomsuksa 1 students learned by Learning packages of STEM education of higher than the criterion 70 percenat .05 of statistical significance
In conclusion, Learning packages of STEM education for Matthayomsuksa 1 students were appropriately efficient. It enhanced the students to have higher learning achievement and science process skills.It is suitable for using as instruction media for students to learn by their own ability. So, teachers must be support and apply STEM Education to learning management in Science subject area and the other subjects. การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 33 คน ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง บรรยากาศของเราชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง บรรยากาศของเรา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 แผน 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง บรรยากาศของเรา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 ข้อ 4) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.35/76.77 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ผ่านตามเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสรุป การจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเหมาะสม นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น เหมาะสมที่จะนำมาเป็นสื่อในการเรียนเพื่อให้นักเรียนมีศักยภาพ ดังนั้นจึงควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนได้นำแนวทางสะเต็มศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2344 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60010552012.pdf | 7.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.