Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2347
Title: The Evaluation of Science Mathematics Program Curriculum for Upper Secondary Students in Buakao School
การประเมินโครงการหลักสูตรห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบัวขาว หลักสูตรปรับปรุงปีการศึกษา 2554
Authors: Ketsaraporn Thinchamnong
เกษราภรณ์ ถินจำนงค์
Jiraporn Chano
จิระพร ชะโน
Mahasarakham University
Jiraporn Chano
จิระพร ชะโน
jiraporn.j@msu.ac.th
jiraporn.j@msu.ac.th
Keywords: หลักสูตร
หลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
การประเมินหลักสูตร
Curriculum
Science Mathematics Program Curriculum
Curriculum Evaluation
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The present study aimed 1) to evaluate the elements congruence of Science Mathematics program curriculum for upper secondary students in Buakao School, 2) to evaluate quality of learning management of Science Mathematics program curriculum for upper secondary students in Buakao School and 3) to evaluate students’ quality in Science Mathematics program curriculum of Buakao School. The sample of the study were 213 consisted of 5 school’s administrators, 10 committee of Science Mathematics program curriculum, 18 teachers in Science Mathematics program curriculum, 90 students in Science Mathematics program curriculum and 90 parents of students in Science Mathematics program curriculum.  The sample was sized by using Krejcie and Morgan table with 95% of reliability level. The instruments used to collect data were 1) questionnaire of elements congruence, 2) questionnaire of learning management quality, 3) questionnaire of students’ quality and 4) unstructured interview. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, and standard deviation. The results of the study revealed as follows; 1. The results of evaluation the elements congruence of Science Mathematics program curriculum for upper secondary students in Buakao School shown that overall of the elements rated in the most level (x̅ = 4.56–4.88), when considered into each aspect shown that 1) objectives of curriculum rated in the most level, 2) structure of curriculum rated in the most level, 3) contents of curriculum rated in the most level, 4) learning management process of curriculum rated in the most level and 5) evaluation and assessment of curriculum rated in the most level. 2. The results of evaluation quality of learning management of Science Mathematics program curriculum for upper secondary students in Buakao School yielded that overall of the quality rated in the most level (x̅ = 3.60–4.93), when considered into each aspect pointed out that 1) child–centered learning design rated in the most level, 2) facilities of learning management rated in the most level, 3) learning materials rated in the most level, 4) curriculum implementation rated in the most level, curriculum administration, planning and processing rated in the most level. 3. The results of evaluation students’ quality in Science Mathematics program curriculum of Buakao School indicated that overall of students’ quality rated in the most level (x̅ = 2.93–4.90), when considered into each aspect revealed that 1) healthy and aesthetics rated in the most level, 2) morality, ethics and desired value rated in the most level, 3) self-directed learning skill and self-development rated in the most level, 4) creative thinking, systematical thinking, and problem solving skill rated in the most level, and 5) knowledge and skills for the curriculum rated in the most level. 
จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้คือ 1) เพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบัวขาว หลักสูตรปรับปรุงปีการศึกษา 2554 2) เพื่อประเมินคุณภาพด้านการจัดการเรียนการรู้ตามหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบัวขาว หลักสูตรปรับปรุง หลักสูตรปรับปรุงปีการศึกษา 2554 และ 3) เพื่อประเมินคุณภาพนักเรียนที่เรียนรู้ตามหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบัวขาว หลักสูตรปรับปรุงปีการศึกษา 2554 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น 213 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 5 คน คณะกรรมห้องเรียนพิเศษ 10 คน ครูผู้สอนหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน 18 คน นักเรียนห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน 90 คน และผู้ปกครองนักเรียนห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน 90 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาที่ระดับความเชื่อมั่น 95 %  โดยใช้ตารางการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie และ Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตร 2) แบบสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร 3) แบบสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพนักเรียนที่เรียนรู้ตามหลักสูตร และ 4) แบบสัมภาษณ์ชนิดไม่มีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน     ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบภายในของหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบัวขาว หลักสูตรปรับปรุงปีการศึกษา 2554 รวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.56–4.88) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า 1) ด้านวัตถุประสงค์ของหลักสูตร อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านโครงสร้างของหลักสูตร อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ด้านเนื้อหาสาระของหลักสูตร อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุดและ 5) ด้านการวัดและการประเมินผล อยู่ในระดับมากที่สุด   2. ผลการประเมินคุณภาพด้านการจัดการเรียนรู้ของหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษ ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบัวขาว หลักสูตรปรับปรุงปีการศึกษา 2554 ภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 3.60–4.93) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า 1) ด้านออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดทำการจัดการเรียนรู้ 3) ด้านวัสดุอุปกรณ์/สื่อการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ด้านการนำหลักสูตรไปใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด 5) ด้านการบริหารหลักสูตร วางแผน และ 6) ด้านการดำเนินงานวิชาการ อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการประเมินคุณภาพนักเรียนที่เรียนรู้ตามหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบัวขาว หลักสูตรปรับปรุงปีการศึกษา 2554 ภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 2.93–4.90) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า 1) ด้านสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ด้านทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองรักการเรียนและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ด้านความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบคิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุสมผล อยู่ในระดับมากที่สุด 5) ด้านความรู้ ทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2347
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010585035.pdf7.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.