Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/235
Title: The Making of Political Legitimacy of the National Council for Peace and Order (2014-2016)
กระบวนการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ระหว่าง พ.ศ. 2557-2559
Authors: Prangtip Manthorn
ปรางทิพย์  มั่นธร
Nattakant Akarapongpisak
ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์
Mahasarakham University. The College of Politics and Governance
Keywords: กระบวนการสร้างความชอบธรรม
คสช.
ปฏิรูปประเทศไทย
Legitimation
NCPO
Thailand's Reform
Issue Date:  11
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis studies how the National Council for Peace and Order (NCPO) applied the idea of ‘reformation’ for legitimacy-building along the period between 2014 and 2017, and how the NCPO's opposition and supporters perceived the phenomenon. In-depth interviews are conducted with two groups of informants. Seven of them were involved in protests against the NCPO. The others supported the coup and the NCPO government and its measures. The findings suggest that from 2014 to 2017, the NCPO applied various methods to help it gain approval in administering the country. These methods, most of which differed from the ones employed by previous coup makers, included an application of laws issued arbitrarily by the NCPO and its leader, an involvement of the army in judicial processes, an advocacy of bureaucracy as a driving force for political reform, an emphasis of the roles of law intellectuals, and the use of ideological mechanisms such as the promotion of the so-called ‘12values’ and ‘reconciliation’ discourse. Although the NCPO tried various methods, the informants who opposed the NCPO government viewed ‘reformation’ as nothing but a mere discourse that contradicted fundamental democratic principles, appeared unfit for constantly changing political situations, and could not deliver reformation. In contrast, the informants who supported the NCPO government appreciated the NCPO ‘reformation’ attempts which they perceived as necessary measures to put an end to corruption. Also, they considered ‘reformation’ a task for the NCPO to fulfill as designated in the 2017 constitution.
วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดำเนินการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองผ่านการอ้างอิงแนวคิด“ปฏิรูปประเทศไทย”อย่างไร ระหว่าง พ.ศ. 2557-2559 และกลุ่มที่คัดค้านและสนับสนุน คสช. มีมุมมองอย่างไรต่อกระบวนการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านการอ้างอิงแนวคิด “ปฏิรูปประเทศไทย” ระหว่าง พ.ศ. 2557-2559 โดยการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคนที่เคยใช้วิธีการในเชิงสัญลักษณ์เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารและแนวทางหรือนโยบายของ คสช. จำนวน 7 คน และกลุ่มผู้ที่ให้การสนับสนุนในการทำรัฐประหารและสนับสนุนแนวทางหรือนโยบายของ คสช. จำนวน 7 คน เมื่อพิจารณาบริบทระหว่าง พ.ศ. 2557-2559 วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้เสนอว่า คสช. ได้ใช้เครื่องมือและกลไกรูปแบบต่างๆ ในการสร้างความชอบธรรมต่างออกไปจากคณะรัฐประหารชุดผ่านๆมา อาทิ การใช้กฎหมายจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงการใช้อำนาจเด็ดขาดของหัวหน้า คสช. และ คสช. ในการออกกฎหมาย การใช้กองทัพเป็นกลไกขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรม การอ้างเป้าหมายในการปฏิรูปการเมืองโดยใช้กลไกราชการ การอาศัยบทบาทปัญญาชนนักกฎหมาย ไปจนถึงการใช้กลไกทางอุดมการณ์ เช่น การเผยแพร่ค่านิยม 12 ประการ และวาทกรรม “ปรองดอง” แม้ว่า คสช. จะใช้กลไกและเครื่องมือที่หลากหลายภายใต้แนวทางปฏิรูปประเทศไทย แต่ผู้วิจัยพบว่า ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ มีความเห็นต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเกี่ยวกับการสร้างความชอบธรรมของ คสช. โดยกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการเข้ามาบริหารประเทศของ คสช. มองว่า การปฏิรูปประเทศไทยเป็นเพียงกลไกสร้างความชอบธรรมที่ขัดต่อหลักการพื้นฐานทางประชาธิปไตย ขัดต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และไม่ได้นำไปสู่การปฏิรูปที่แท้จริง ส่วนฝ่ายที่สนับสนุน มองว่า การปฏิรูปประเทศไทยเป็นเรื่องจำเป็น และเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
Description: Master of Political Science Program in Politics and Governments (M.Pol.Sci.)
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/235
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56011380017.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.