Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2351
Title: | The Multi-level Causal Factors Affecting the Digital Citizenship of Lower Secondary School Students in Mukdahan Province ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดมุกดาหาร |
Authors: | Rittiya Thammasawas ฤทธิ์ติยา ธรรมสวาสดิ์ Tatsirin Sawangboon ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ Mahasarakham University Tatsirin Sawangboon ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ tatsirin.s@msu.ac.th tatsirin.s@msu.ac.th |
Keywords: | ปัจจัยเชิงสาเหตุ พหุระดับ ความเป็นพลเมืองดิจิทัล Causal Factors Multilevel Digital Citizenship |
Issue Date: | 5 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The present study aimed 1) to examine multi-level causal relationship models factors affected the digital citizenship of lower secondary school students in Mukdahan Province, 2) to study the multi-level causal factors affected the digital citizenship of student and classroom level and 3) to study guidelines to promote students' digital citizenship. The study divided into 2 phases. Phase 1 was studying the factors affected the digital citizenship of students, the sample was 1,632 students from 110 classrooms in lower secondary schools in Mukdahan Province who were studying in 2020 academic year and the sample was selected by multi-stage random sampling. The data were collected by using a questionnaire consisted of 96 items with .217 to .737 of the discrimination and .965 of the reliability. Phase 2 was investigation the guidelines to promote students' digital citizenship, the participants were 5 experts selected by purposive sampling. The instrument used was a questionnaire. The data were analyzed using correlation analysis, confirmatory factor analysis and the multilevel structure equation model.
The results of the study were shown as follows:
1. The results revealed that the multi-level causal relationship models factors affected the digital citizenship of lower secondary school students in Mukdahan province were related to constructed validity and related with the empirical data considered from the index of verifying model’ s validity comprised of : Chi–square = 389.424, df = 196, p = .00, CFI = 0.99, TLI = 0.99, RMSEA = 0.03, SRMRw = 0.03, SRMRb = 0.11, Chi–square/df = 1.99.
2. The variable which was students impacted directly to students' digital citizenship statistics significantly consisted of being aware of social media influence, using social media motivation, self-directed learning with the level of influence 0.35, 0.20 and 0.14 respectively. Indirect variable affected students’ digital citizenship was parenting which the level of influence was 0.30. The variable which was classroom affected students' digital citizenship statistics significantly consisted of classroom atmosphere which the level of influence was 0.87. The set of variables predicted the student level and the classroom level variables which could be explained the variance of student’s digital citizenship (r2) at 62.30 percent and 48.80 percent respectively.
3. The guidelines to promote students' digital citizenship of lower secondary school students yielded that being aware of social media influence was the highest influence. The guidelines to promote students' digital citizenship was the cooperation of parents, teachers and related people to raising awareness for students by presenting of the positive and negative effects of technology and social media. Students should be advised by parents of using technology frequently. At school, there should have teaching and learning to promote retention of good students' digital citizenship continuously. การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ตรวจสอบความตรงของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุ พหุระดับที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดมุกดาหาร 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลทั้งในระดับนักเรียนและระดับห้องเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียน การวิจัยครั้งนี้มี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียน ตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2563 จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 1,632 คน จำนวน 10 โรง จาก 110 ห้อง ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม/แบบวัด จำนวน 1 ฉบับ รวม 96 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .217 ถึง .737 ค่าความเชื่อมั่น .956 และระยะที่ 2 การหาแนวทางส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ (MCFA) และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ (The Multilevel Structure Equation Model : MSEM) ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนมีความตรงเชิงโครงสร้างหรือมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยพิจารณาจากค่าดัชนีที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ Chi–square = 389.424, df = 196, p = .00, CFI = 0.99, TLI = 0.99, RMSEA = 0.03, SRMRw = 0.03, SRMRb = 0.11) และ Chi–square/df = 1.99 2. ตัวแปรระดับนักเรียนที่ส่งอิทธิพลทางตรงต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความตระหนักในอิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ แรงจูงใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.35, 0.20 และ 0.14 ตามลำดับ ตัวแปรที่ส่งอิทธิพลทางอ้อมคือ การอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.30 ส่วนตัวแปรระดับห้องเรียนที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ บรรยากาศในชั้นเรียนมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.87 ทั้งนี้ชุดของตัวแปรทำนายระดับนักเรียนและระดับห้องเรียนสามารถอธิบายความแปรปรวนในความเป็นพลเมืองดิจิทัลได้ร้อยละ 62.30 และ 48.80 3. แนวทางการส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนพบว่า ความตระหนัก ในอิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลสูงสุดมีแนวทางส่งเสริมคือ ผู้ปกครอง ครู และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรร่วมมือกันสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นกับนักเรียนโดยการแนะนำให้รู้ถึงผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบของเทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์ โดยผู้ปกครองต้องคอยแนะนำ ดูแลเอาใจใส่และติดตามการใช้เทคโนโลยีของนักเรียนอยู่เสมอ ด้านการจัดการศึกษาควรจัดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้นักเรียนมีความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีและคงทน |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2351 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62010584001.pdf | 11.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.