Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2352
Title: The Development of the Growth Mindset Scale for the Lower Secondary Students Affiliated under the Secondary Educational Service Area Office Roi Et: Multilevel Confirmatory Factor Analysis
การพัฒนาแบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด : การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ
Authors: Pithayaporn Horrasith
พิทยาภรณ์ หรสิทธิ์
Waraporn Erawan
วราพร เอราวรรณ์
Mahasarakham University
Waraporn Erawan
วราพร เอราวรรณ์
keartisak.s@msu.ac.th
keartisak.s@msu.ac.th
Keywords: การพัฒนาแบบวัด
กรอบความคิดแบบเติบโต
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ
Scale Development
Growth Mindset
Multilevel Confirmatory Factor Analysis
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were 1) to develop and assess the quality of the growth mindset scale for the lower secondary students affiliated under the Secondary Educational Service Area Office Roi Et 2) to build the norm of growth mindset scale for Grade 9 students and 3) to develop a handbook for using the growth mindset scale for the lower secondary students. The multi-stage random sampling was used to recruit the study samples who were 1,058 lower secondary students affiliated under the Secondary Educational Service Area Office Roi Et. The instrument was the growth mindset measurement scale for lower secondary students in 6-level rating scale. The data analysis included descriptive statistics and inferential statistics: means, standard deviation, skewness, kurtosis, Pearson’s product moment correlation coefficient, and multilevel confirmatory factor analysis.  The results of the study are presented as follows. 1. The growth mindset scale for the lower secondary students was developed in 48 items with 0.80–1.00 IOC (index of item objective congruence), 0.160–0.656 discrimination, .917 reliability. According to the construct validity from the multilevel confirmatory factor analysis, the growth mindset scale was found in model fits the empirical data (Chi-square = 42.597, df = 25, CFI = 0.992, TLI = 0.986, RMSEA = 0.026, SRMRw = .017, and SRMRb = 0.049 and Chi-square/df = 1.70). 2. Regarding the norm of the growth mindset scale for the lower secondary students, the normalized t-scores were at the range of T17–T83. 3. The handbook of the growth mindset scale for the lower secondary students included scale objectives, definition of the growth mindset scale, scale characteristics, scale structure, scale quality, testing methods, score marking, norms, and score interpretation. The developed handbook of the growth mindset scale was assessed on its appropriateness, and the assessing results showed that its overall quality was at the ‘much’ level (x̅ = 4.46).
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพแบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ 2) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อสร้างคู่มือการใช้แบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 1,058 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi–Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 6 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติอ้างอิงการวิเคราะห์ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ความโด่ง การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่สร้างขึ้น จำนวน 48 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.160 ถึง 0.656 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .917 ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ พบว่า แบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโตสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 42.597, df = 25, CFI = 0.992, TLI = 0.986, RMSEA = 0.026, SRMRw = .017, SRMRb = 0.049 และ Chi-square/df = 1.70) 2. เกณฑ์ปกติของแบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีเกณฑ์ปกติในรูปคะแนนทีปกติอยู่ระหว่าง T17 ถึง T83 3. คู่มือการใช้แบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย ความมุ่งหมายของแบบวัด นิยามของแบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโต ลักษณะของแบบวัด โครงสร้างของแบบวัด คุณภาพของแบบวัด วิธีการดำเนินการสอบ การตรวจให้คะแนน และเกณฑ์ปกติและการแปลความหมายคะแนน ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้แบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโต ผลการประเมินคุณภาพคู่มือการใช้แบบวัด พบว่า โดยภาพรวมรูปแบบมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.46) 
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2352
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010584003.pdf7.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.