Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2354
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Sasipat Pongteerawut | en |
dc.contributor | ศศิพัชร์ พงศ์ธีรวุฒิ | th |
dc.contributor.advisor | Songsak Phusee - orn | en |
dc.contributor.advisor | ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University | en |
dc.date.accessioned | 2023-12-20T13:21:45Z | - |
dc.date.available | 2023-12-20T13:21:45Z | - |
dc.date.created | 2021 | |
dc.date.issued | 31/7/2021 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2354 | - |
dc.description.abstract | This research aims 1) to study and develop a causal relationship model of variables influencing future thinking of Mathayomsuksa 3 students and 2) to study the guidelines to promote future thinking Mathayom Suksa 3 students. The research was divided into 2 phases; phase 1, activity 1 the sample consisted of 8 Mathayomsuksa 3 students and 3 thinking experts selected by purposive sampling, activity 2 the sample were 860 students in the second semester of the academic year 2020 from 12 schools, selected by multi-stage random sampling, phase 2 the sample consisted of 8 Mathayom 3 students and 3 experts of thinking selected by purposive sampling. The research instruments used in the first phase consisted of 1) structured interview form in order to find factors influencing students' future thinking, 2) factors Influencing future thinking and the student's future thinking questionnaire. Phase 2, the instrument used was a structured interview form in order to find ways to promote future thinking of students. The data were analyzed using descriptive statistics, simple correlation analysis (Pearson Product Moment Correlation) and data analysis using reference statistics to test the structural equation model. The results of the research revealed as follows; 1. The developed causal relationship model of futuristic thinking was harmonious with the empirical data. It was found that the causal factors influencing future thinking which the most were emotional intelligence, followed by governance. self-democratic parenting attitude towards learning achievement motivation and personality with the influence size of 0.61, 0.51, 0.38, 0.33, 0.23 and 0.18 respectively. Factors directly influencing future thinking were emotional intelligence, personality, self-directed and attitude toward learning and democratic upbringing with the influence size at 0.61, -0.28, 0.27, 0.20 and 0.08 respectively. The factors indirectly influencing future thinking were personality, democratic parenting and self-directed achievement motivation and attitude towards learning. The influence sizes were 0.46, 0.30, 0.24, 0.13 and 0.13 respectively with statistical significance at the .01 level. All variables contributed to 86% of the variance of future thinking. 2. Guidelines to promoting students' futuristic thinking due to intelligence factor emotions have the greatest influence. There were guidelines for promotion as follows; there should be encouraged to practice systematic thinking and organize teaching and learning activities that emphasize teamwork activities. There should be allowance students learn from direct experience. Development students' thinking processes under the six thinking hats theory, including promoting 21st century skills. A variety of activities were organized to develop emotional intelligence for students to be able to think creatively about their future plans. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการคิดเชิงอนาคตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการคิดเชิงอนาคตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 กิจกรรมที่ 1 เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการคิด จำนวน 3 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) กิจกรรมที่ 2 เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จาก 12 โรงเรียน จำนวน 860 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) ระยะที่ 2 เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการคิด จำนวน 3 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 1 ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง เพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิดเชิงอนาคตของนักเรียน 2) แบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิดเชิงอนาคตและแบบวัดการคิดเชิงอนาคตของนักเรียน ระยะที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการคิดเชิงอนาคตของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่าย (Pearson Product Moment Correlation) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอ้างอิงเพื่อทดสอบสมการโครงสร้างเชิงเส้น (Structural Equation Model) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการคิดเชิงอนาคตที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพบว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการคิดเชิงอนาคตมากที่สุด คือ ความฉลาดทางอารมณ์ รองลงมาคือ การกำกับตนเอง การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย เจตคติต่อการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และบุคลิกภาพ โดยมีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.61, 0.51, 0.38, 0.33, 0.23 และ 0.18 ตามลำดับ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการคิดเชิงอนาคต คือ ความฉลาดทางอารมณ์ บุคลิกภาพ การกำกับตนเอง เจตคติต่อการเรียน และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย โดยมีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.61, -0.28, 0.27, 0.20 และ 0.08 ตามลำดับ และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการคิดเชิงอนาคต คือ บุคลิกภาพ การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย การกำกับตนเอง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และเจตคติต่อการเรียน โดยมีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.46, 0.30, 0.24, 0.13 และ 0.13 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรทั้งหมดร่วมอธิบายความแปรปรวนของการคิดเชิงอนาคตได้ร้อยละ 86 2. แนวทางการส่งเสริมการคิดเชิงอนาคตของนักเรียน เนื่องจากปัจจัยด้านความฉลาดทางอารมณ์มีอิทธิพลสูงสุด มีแนวทางในการส่งเสริมดังนี้ ควรมีการส่งเสริมฝึกให้คิดเป็นเชิงระบบและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการทำกิจกรรมร่วมกันเป็นทีม ให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง พัฒนากระบวนการคิดของนักเรียนภายใต้ทฤษฎีหมวก 6 ใบ รวมถึงการส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ให้นักเรียนสามารถคิดวางแผนอนาคตของตนเองอย่างสร้างสรรค์ | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ | th |
dc.subject | การคิดเชิงอนาคต | th |
dc.subject | The Development Causal Relation Model | en |
dc.subject | Futuristic Thinking | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Education | en |
dc.title | The Development a Causal Relation Model of Futuristic Thinking for Students at the Secondary School Level 3 Sisaket Province | en |
dc.title | การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการคิดเชิงอนาคต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดศรีสะเกษ | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Songsak Phusee - orn | en |
dc.contributor.coadvisor | ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน | th |
dc.contributor.emailadvisor | songsak.p@msu.ac.th | |
dc.contributor.emailcoadvisor | songsak.p@msu.ac.th | |
dc.description.degreename | Master of Education (M.Ed.) | en |
dc.description.degreename | การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) | th |
dc.description.degreelevel | Master's Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาโท | th |
dc.description.degreediscipline | Research and Educational Development | en |
dc.description.degreediscipline | ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62010584013.pdf | 7.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.