Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2358
Title: Development of Teacher Competency Strengthening Program on STEM Education Learning Management under the Secondary Educational Service Area Office 21
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
Authors: Chanathip Sopapol
ชนาธิป โสภาพล
Tharinthorn Namwan
ธรินธร นามวรรณ
Mahasarakham University
Tharinthorn Namwan
ธรินธร นามวรรณ
tharinthorn.n@msu.ac.th
tharinthorn.n@msu.ac.th
Keywords: สมรรถนะครู
สะเต็มศึกษา
การจัดการเรียนรู้
Competency
Stem Education
Learning Management
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of the research were 1) to study the current state and desirable condition of Teacher Competency Strengthening of STEM Education Learning Management under Secondary Educational Service Area Office, Area 21, and 2) to develop of Teacher Competency Strengthening Program of STEM Education Learning Management under the Secondary Educational Service Area Office 21. The samples were 326 participants teachers under Secondary Educational Service Area Office, Area 21. The samples were derived by stratified random sampling.  The research tools were 1) a set of questionnaires to assess the current state and desirable condition of Teacher Competency Strengthening of STEM Education Learning Management under Secondary Educational Service Area Office, Area 21, 2) an interview form and 3) an assessment form of Teacher Competency Strengthening Program of STEM Education Learning Management. The statistics employed in this research were frequency, percentage, mean, standard deviation and reliability, mean, standard deviation and percentage and Modified Priority Needs Index: PNImodified.   The research results were as follow: 1. the current state and desirable condition of Teacher Competency Strengthening of STEM Education Learning Management under Secondary Educational Service Area Office, Area 21 revealed that the current state of all and each components were at more level, ordering from the highest to the lowest as follows; knowledge, attribute and skill respectively. The desirable condition of all components was at the most level, ordering from the highest to the lowest as follows; skill, knowledge, and attribute respectively. The needs assessment to development of teacher competency strengthening program of STEM education learning management which ordered of the needs assessment from more to less were skill, attribute and knowledge. 2. Development of Teacher Competency Strengthening Program of STEM Education Learning Management under the Secondary Educational Service Area Office 21 consists of 5 parts; 1) principle 2) objectives 3) material 4) Method of operation 5) evaluation. A scope of the program was classified to 3 modules. The first was knowledge, the second was skill and the third was attribute. The program showed that it was suitable as a whole at the most level and was possible as a whole at the most level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จำนวน 326 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น PNImodified ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์สมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 พบว่าสภาพปัจจุบันของสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยรวมทุกด้านและแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านความรู้ ด้านคุณลักษณะ และด้านทักษะ ตามลำดับ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุดได้ดังนี้ ด้านความรู้ และด้านคุณลักษณะ ตามลำดับ ส่วนลำดับความต้องการความจำเป็นของสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ค่า PNImodified เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านทักษะ ด้านคุณลักษณะ และด้านความรู้ 2. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบจำนวน 5 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) วิธีดำเนินการ 5) การวัดและประเมินผล ขอบข่ายเนื้อหาของโปรแกรมฯ แบ่งออกเป็น 3 Module ได้แก่ Module 1 ความรู้ Module 2 ด้านทักษะ Module 3 ด้านคุณลักษณะ ซึ่งโปรแกรมฯ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2358
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010586014.pdf5.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.