Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2361
Title: Guideline Development for Teacher in Literacy Learning Management under the Office of Buriram Primary Educational Service Area 2
แนวทางการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านออกเขียนได้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
Authors: Tipatorn Sirime
ทิพาธร ศิริเม
Pacharawit Chansirisira
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
Mahasarakham University
Pacharawit Chansirisira
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
wittaya.c@msu.ac.th
wittaya.c@msu.ac.th
Keywords: แนวทาง
การพัฒนาครู
การอ่านออกเขียนได้
Guideline
Development for Teacher
Literacy Learning
Issue Date:  2
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The aims of this research were 1) to study the types of the difficult Thai words in the basic word list of the first Grade, classified by word structure, according to the Basic Education Core Curriculum, B.E. 2551; 2) to study guidelines for teacher development in learning management for literacy, under the Office of Buriram Primary Educational Service Area 2. The research was divided into 2 phases. Phase 1, the data providing group comprised 5 experts; phase 2, the data providing group were 3 school administrators or acting in the position and 3 teachers of Thai language courses in Grade 1 from 3 best practice schools in literacy learning arrangements, obtained by purposive sampling and 5 experts. The tools used for data collection consisted of interviews and assessments. The statistics used for data analysis were mean, and standard deviation. The research results were as follows: 1. Types of the difficult Thai words in the first Grade basic word list classified by word structure according to the basic education core curriculum, B.E. 2551 consisted of 5 categories: 1) 18 words in Mae KoKa; 2) 63 words that have spellings in accordance with the section; 3) 2 words that do not meet the section spellings; 4 ) 32 diphthongs and 5) 27 prefixes with the highest overall suitability sorted in descending order, as follows: words with spellings not conforming to the section in Mae KoKa, prefix words, words with spellings conforming to the section and diphthongs, respectively. 2. Guidelines for teacher development in learning management for literacy under the Office of Buriram Primary Educational Service Area 2,consisted of principles of learning management for literacy in 4 elements and 18 guidelines were spellings, reading and writing words, and groups of words bounded into text, calligraphy, and dictation. And the 4 elements and 16 guidelines of teacher development in learning management for literacy were training, development in the work, the use of mentoring systems, and supervision. The evaluation by experts on learning management guidelines for Literacy under the Office of Buriram Primary Educational Service Area 2 found that the suitability was at a high level, and the possibility was at a high level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาประเภทของคำยากในบัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยแบ่งตามโครงสร้างของคำ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านออกเขียนได้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาหรือรักษาการในตำแหน่ง จำนวน 3 คน และครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 คน จากโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีเยี่ยม (Best Practice) ในด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านออกเขียนได้ จำนวน 3 แห่ง ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ประเภทของคำยากในบัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยแบ่งตามโครงสร้างของคำ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย 5 ประเภท ได้แก่ 1) คำในแม่ ก กา จำนวน 18 คำ 2) คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา จำนวน 63 คำ 3) คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา จำนวน 2 คำ 4) คำควบกล้ำ จำนวน 32 คำ และ 5) คำอักษรนำ จำนวน 27 คำ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา คำในแม่ ก กา คำอักษรนำ คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา และคำควบกล้ำ ตามลำดับ 2. แนวทางการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านออกเขียนได้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 มีแนวทางการดำเนินงาน ประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านออกเขียนได้ มี 4 องค์ประกอบ 18 แนวทาง ประกอบด้วย การแจกลูกสะกดคำ การอ่านเขียนคำ กลุ่มคำ และข้อความที่ผูกไว้เป็นเรื่อง การคัดลายมือ และเขียนตามคำบอก และวิธีการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านออกเขียนได้ 4 องค์ประกอบ 16 แนวทาง ประกอบด้วยการฝึกอบรม การพัฒนาในงาน การใช้ระบบพี่เลี้ยง และการนิเทศ ผลการประเมินแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านออกเขียนได้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2361
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010586020.pdf6.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.