Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2363
Title: The Development of Guidelines for Online Learning Management for Schools under The Secondary Education Service Area Office Mahasarakham
การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
Authors: Thitiphon Thokaew
ธิติพล โทแก้ว
Karn Ruangmontri
กาญจน์ เรืองมนตรี
Mahasarakham University
Karn Ruangmontri
กาญจน์ เรืองมนตรี
Karn.r@msu.ac.th
Karn.r@msu.ac.th
Keywords: การพัฒนาแนวทาง
การจัดการเรียนการสอนออนไลน์
Guidelines Development
Development of Online Learning Management
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to 1) study current , desirable conditions and the needs assessment of online learning management for school under the secondary education service area office  Mahasarakham and 2) develop guidelines for online learning management for school under the secondary education service area office  Mahasarakham. The research was carried out into 2 phases. Phase 1 was to study the current and desirable conditions of online learning management for school under the secondary education service area office  Mahasarakham. The samples were 400 school administrstors and teachers using stratified random sampling technique and research instrument was questionnaire. Phase 2 was to develop guidelines for online learning management for school under the secondary education service area office  Mahasarakham. The target group were 3 administrators and were 3 teachers from School with best practices and 7 educational experts using purposive sampling method and research instrument were semistructure interview and an assessment of appropriateness and feasibility of the program. Data were analyzed by using percentage, mean and standard deviation and Priority Needs Index. The results showed that; 1. The overall of current condition of guidelines for online learning management for school under the secondary education service area office  Mahasarakham was at moderate level and the desirable condition of guidelines for online learning management for school under the secondary education service area office  Mahasarakham was at the highest level and the needs assessment of online learning management for school were that the modified priority needs index (PNImodified) = 0.123-0.160 by Instructional design for Online learning are the most important needs first. Followed by assessment and evaluation of learning and Online learning management system.  2. Development of online learning management for school under the secondary education service area office  Mahasarakham were consisted of principle Instructional design for Online learning , assessment and evaluation of learning and Online learning management system. Learning by doing and thinking, The result of study a guideline of Development of online learning management for school under the secondary education service area office Mahasarakham in term of appropriateness was at the highest level and possibility was at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม  2) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม  การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพ สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม  จำนวน 400 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 3 คน และครูผู้สอนจำนวน 3 คน จากโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และการศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับสถานศึกษา ปรากฏว่าดัชนีความต้องการจำเป็นมีค่าอยู่ระหว่าง 0.123 - 0.160 โดยองค์ประกอบด้านการออกแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ มีความสําคัญของความต้องการจำเป็นสูงสุดเป็นลําดับแรก รองลงมาเป็นองค์ประกอบด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และด้านระบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนออนไลน์  2. แนวทางการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม  ประกอบด้วย 1) ด้านการออกแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์  2) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และ 3) ด้านระบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ ผลการประเมินแนวทางการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม  โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2363
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010586029.pdf4.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.