Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2366
Title: The Program of Reinforced Competency Learning Management through The Project-based Learning (PBL) for Teachers under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham
โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม
Authors: Pailom Boodsamongkol
ไผ่ล้อม บุษมงคล
Sutham Thamatasenahant
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์
Mahasarakham University
Sutham Thamatasenahant
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์
sutum.t@msu.ac.th
sutum.t@msu.ac.th
Keywords: การพัฒนาโปรแกรม
สมรรถนะครู
การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL)
Developing Program
Teacher Competency
Learning Management of The Project-based Learning (PBL)
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research aimed to 1) study current, desirable conditions and needs for learning management of Project-based Learning (PBL) under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham and 2) develop the program of reinforced  competency Learning Management through The Project-based Learning (PBL) for teachers under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham. The research was conducted in mixed methods divided into 2 phases. The 1st phase was to study current, desirable conditions and needs for learning management of The Project-based Learning (PBL) for teachers under the Secondary Educational Service  Area Office Mahasarakham. The sample consisted of 323 teachers under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham selected by satisfied random sampling technique. The research instrument was questionnaire. The 2nd phase was to develop the program of reinforced  competency Learning Management through The Project-based Learning (PBL) for teachers under the Secondary Educational Service  Area Office Mahasarakham. The target group was 6 teachers and administrators from School with best practices and 9 educational experts using focus group discussion to verify and evaluate program using purposive sampling method and research instruments were semi-structured interview, focus group discussion and appropriateness and feasibility assessment of the program. The frequency, percentage, means, standard deviation, Pearson product-moment correlation, Cronbach's alpha coefficient and Modified Priority Needs Index were employed to analyze data. The findings of this research were as follows: 1. The overall of current condition for learning management of the project-based learning (PBL) was at high level, the desirable condition for learning management of the project-based learning (PBL) was at high level and needs to enhance teacher competency for learning management of the project-based learning (PBL) for teachers under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham by ranking from maximum to minimum following 1) project evaluation 2) project operation 3) report writing 4) presentations 5) defining and selecting project topics and 6) data collection planning design. 2. The Program of Reinforced Competency Learning Management through The Project-based Learning (PBL) for Teachers under the Secondary Educational Service  Area Office Mahasarakham composed of 1) principle, 2) objective, 3) content and activities which included 4 modules. 4) 70:20:10 LEARNING MODEL, development process which included self-directed learning, attendance training and seminar, workshop and action learning And 5) program evaluation. The overall of the assessment of learning management of the project-based learning (PBL) for teachers under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham in term of appropriateness and possibility was at highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม การดำเนินการวิจัยมีลักษณะเป็นการวิจัยแบบวิธีผสม แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม จำนวน 323 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิและใช้ขนาดของสถานศึกษาเป็นหน่วยของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนจำนวน 6 คน จากโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 โรงเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบยืนยันโปรแกรมด้วยการสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) โดยรวมอยู่ในระดับมาก และลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม เรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การประเมินโครงงาน การปฏิบัติการโครงงาน การเขียนรายงาน การนำเสนอผลงาน การกำหนดและเลือกหัวข้อโครงงาน และการออกแบบวางแผนการรวบรวมข้อมูล ตามลำดับ 2. โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาและกิจกรรม แบ่งออกเป็น 4 Module 4) หลักการพัฒนาแบบ 70:20:10 วิธีพัฒนา ประกอบด้วย การเรียนรู้ด้วยตนเอง การฝึกอบรมและสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และ 5) การประเมินผลโปรแกรม ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2366
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010586036.pdf7.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.