Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2378
Title: The Results of the Open-Ended Storytelling Event are Accompanied by Using The R-C-A Questions Techniques to Promote Problem-Solving Skills with  Early Childhood
ผลการจัดกิจกรรมการเล่านิทานปลายเปิด ร่วมกับการใช้เทคนิคคำถาม R-C-A เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย
Authors: Hatainun Singkaew
หทัยนันท์ สิงห์แก้ว
Chittra Chanagul
จิตรา ชนะกุล
Mahasarakham University
Chittra Chanagul
จิตรา ชนะกุล
chittrachanagul@gmail.com
chittrachanagul@gmail.com
Keywords: นิทานปลายเปิด
เทคนิคคำถาม R-C-A
ทักษะการคิดแก้ปัญหา
เด็กปฐมวัย
Open-ended stories
R-C-A question techniques
problem-solving skills
early childhood
Issue Date:  31
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were: 1. To develop an activity plan for open-ended storytelling in conjunction with the use of R-C-A questioning techniques for problem-solving skills of preschool children. 2. To compare problem-solving thinking of preschool children before and after receiving open-ended storytelling activities in conjunction with the use of         R-C-A questioning techniques. The samples used in this research were 26of grade 3/1 kindergarten students, in 1st semester, academic year 2022 of Nong Kham Wittayakarn School, Chum Phae District, Khon Kaen Province, Khonkaen Primary Education Service Area Office 5. There were 24 plans for open-ended storytelling activities and 10 situations of problem-solving skill assessment form which had a reliability value of 0.71 for the whole issue.            This research was Quasi – Experimental Research; One - Group Pretest - Posttest Design during 6 weeks; 4 days per week analyzed by Mean (), Standard Deviation (S.D.), and t-test dependent.            The findings were as follows: 1. The quality of the open-ended storytelling activity plan in conjunction with the use of R-C-A questioning techniques to promote problem-solving skills of preschool children was 4.77, which was the highest level. 2. Preschool children who received open-ended story telling activities in conjunction with the use of the R-C-A question technique after receiving the activity was higher than before, statistically significant at the .05 level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1.) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานปลายเปิดร่วมกับการใช้เทคนิคคำถาม R-C-A เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย 2.) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานปลายเปิด ร่วมกับการใช้เทคนิคคำถาม R-C-A กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 จำนวน 26 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนหนองขามวิทยาคาร อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 จากการสุ่มแบบกลุ่ม ( Cluster random sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานปลายเปิด ร่วมกับการใช้เทคนิคคำถาม R-C-A จำนวน 24 แผน และแบบประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหา 10 สถานการณ์ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.71 แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ One - Group Pretest - Posttest Design ระยะเวลาในการวิจัย ใช้เวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( x̅ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบทีแบบไม่อิสระ (Dependent Samples t-test)            ผลการวิจัยพบว่า            1.) คุณภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานปลายเปิด ร่วมกับการใช้เทคนิคคำถาม R-C-A  เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย มีค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.74 - 4.77            2.) ทักษะการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานปลายเปิดร่วมกับการใช้เทคนิคคำถาม R-C-A สูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2378
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010870005.pdf5.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.