Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2379
Title: Inquiry-based Learning (5E) and Logical Physics Problem-solving Strategies to Develop the Ability to Solve Physics Problems of Mathayomsuksa 4
การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบกับกลวิธีแก้โจทย์ปัญหา ฟิสิกส์เชิงตรรกะ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Authors: Kanda Nimala
กานดา นิมะลา
Titiworada Polyiem
ฐิติวรดา พลเยี่ยม
Mahasarakham University
Titiworada Polyiem
ฐิติวรดา พลเยี่ยม
titiworada.p@msu.ac.th
titiworada.p@msu.ac.th
Keywords: การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
กลวิธีแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์เชิงตรรกะ
ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์
Inquiry-based Learning (5E)
Logical Problem-solving Strategy
Ability to Solve Physics Problems
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were 1) To develop inquiry-based learning (5E) combined with logical physics problem-solving strategies. 2) To compare the logical physics problem-solving ability after class of students who received inquiry-based learning (5E) together with physics problem-solving strategies. 3) To study the satisfaction towards the inquiry-based learning (5E) together with logical physics problem-solving strategies of Mathayomsuksa 4 students. The sample used in this study were students who are studying in Mathayomsuksa 4, semester 2, academic year 2022, Suakokwittayasan School., 59 people were obtained by group random sampling. The research tools were an inquiry-based learning management plan (5E) with logical physics problem-solving strategies, logical physics problem-solving ability test, learning achievement test and satisfaction questionnaire The statistics used to analyze the data were percentage, mean, and standard deviation. and hypothesis testing statistics, test statistics was t-test (Independent Samples). The result were as follows: 1. The efficiency of the inquiry-based learning (5E) combined with logical problem-solving strategies of Mathayomsuksa 4 students' efficiency was 74.28/71.84 2. The students in the group that received the inquiry-based learning (5E) combined with logical physics problem-solving strategies had higher average scores for solving physics problems than the students in the group that received inquiry-based learning (5E) was significant at the 0.05 level. 3. Mathayomsuksa 4 students were satisfied with the inquiry-based learning (5E) combined with logical physics problem-solving strategies. Overall, it was at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบกับกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์เชิงตรรกะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์เชิงตรรกะ หลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบกับกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์เชิงตรรกะ กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบกับกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์เชิงตรรกะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์ จำนวน 59 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบกับกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์เชิงตรรกะ แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์เชิงตรรกะ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบกับกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์เชิงตรรกะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 74.28/71.84 ซึ่งเป็นตามเกณฑ์ 70/70 ที่ตั้งไว้ 2. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบกับกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์เชิงตรรกะจะมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบกับกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์เชิงตรรกะ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2379
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010552002.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.