Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2384
Title: | Development of modeling abilities with learning management using Model-based Learning the circulatory system of students in grade 10 การพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลอง ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 |
Authors: | Kullasatree Manee กุลสตรี มะณี Prasart Nuangchalerm ประสาท เนืองเฉลิม Mahasarakham University Prasart Nuangchalerm ประสาท เนืองเฉลิม prasart.n@msu.ac.th prasart.n@msu.ac.th |
Keywords: | การสร้างแบบจำลอง การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน ระบบหมุนเวียนเลือด modelling ability model-based learning circulatory system |
Issue Date: | 18 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This action research aims to develop the modelling ability of Grade 10 students to pass the criterion of 70 percent of full score using model-based learning in biology on the topic Circulatory system. The target group consisted of 23 students in grade 10 at Mahasarakham University Demonstration School (Secondary). The research instrument was: plan of instrument using model-based learning. The instruments used to reflect the results were: modelling process assessment, modelling ability test, structure interviews, and student journal. The data were analyzed by percentage, average, and standard deviation. Action research is completed in two cycles. The results showed in the first cycle, students received an average modelling ability score of 17.26 out of a total of 24 points, representing 71.93 percent, 14 students passed their criteria of 70 percent of full score and 9 students did not meet criterion of 70 percent of full score. In the second cycle, develop and improve problems from the first cycle, adapting interesting and related news situations or videos as well as questions to encourage students to express their answers to lead to student model expression, also encourage students to discuss and exchange learning with their friends and evaluate compare the differences between their own group models and other group models and used questions for students to analyze the strengths and limitations of the model and lead to improvement of group's model, students received an average modelling ability score of 19.49 out of a total of 24 points, representing 81.20 percent, all 23 students target group passed their criteria of 70 percent of full score. งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม ด้วยการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผล ได้แก่ แบบประเมินกระบวนการสร้างแบบจำลอง แบบทดสอบวัดความสามารถในการสร้างแบบจำลอง แบบสัมภาษณ์นักเรียน และอนุทินของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดำเนินการวิจัย 2 วงจรปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการสร้างแบบจำลองเฉลี่ยเท่ากับ 17.26 จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 71.93 มีนักเรียนที่คะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม จำนวน 14 คน และนักเรียนที่คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม จำนวน 9 คน และในวงจรปฏิบัติการที่ 2 ทำการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขจากวงจรปฏิบัติการที่ 1 โดยปรับการนำสถานการณ์ที่พบในชีวิตประจำวันหรือเหตุการณ์จากข่าววิดีโอที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจมากระตุ้นความสนใจของนักเรียนและใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนแสดงคำตอบเพื่อนำไปสู่การแสดงออกแบบจำลองของนักเรียน และกระตุ้นให้นักเรียนอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนในกลุ่มและประเมินเปรียบเทียบความแตกต่างของแบบจำลองของกลุ่มตนเองกับกลุ่มอื่นมากยิ่งขึ้น รวมทั้งใช้คำถามให้นักเรียนได้วิเคราะห์ข้อดีและข้อจำกัดแบบจำลองของกลุ่มตนเองเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขแบบจำลองให้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการสร้างแบบจำลองเฉลี่ยเท่ากับ 19.49 คะแนน จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.20 นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม ทั้งหมด 23 คน ดังนั้นการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานสามารถพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองของนักเรียนได้ |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2384 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64010554005.pdf | 3.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.