Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2407
Title: DEVELOPMENT OF AN APPLICATION ON THE DRUG PREVENTION AND SOLUTION PROJECT (TO BE NUMBER ONE) UDONTHANI RAJABHAT UNIVERSITY BY USING PARTICIPATORY DESIGN AS THE BASE
การพัฒนาแอปพลิเคชั่นโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (ทูบีนัมเบอร์วัน) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วมเป็นฐาน
Authors: Manon Lumjeakhnoo
มานนท์ ลำเจียกหนู
Natirath Weeranakin
เนติรัฐ วีระนาคินทร์
Mahasarakham University
Natirath Weeranakin
เนติรัฐ วีระนาคินทร์
natirath.w@msu.ac.th
natirath.w@msu.ac.th
Keywords: แอปพลิเคชั่น
ทูบีนัมเบอร์วัน
ยาเสพติด
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
Application
TO BE NUMBER ONE
Drug
Udon Thani Rajabhat University
Issue Date:  30
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were; 1) to study the needs and appropriateness in the development of applications for drug prevention campaigns and solutions (TO BE NUMBER ONE) at Udon Thani Rajabhat University using participatory design as a base 2) to develop an application for a campaign to prevent and solve drug problems (TO BE NUMBER ONE) at Udon Thani Rajabhat University using participatory design as a base 3) to study the results of the use of applications for drug prevention campaigns and solutions (TO BE NUMBER ONE) at Udon Thani Rajabhat University using participatory design as a base for first-year students at Udon Thani Rajabhat University. The experimental group of 331 first-year undergraduate students from Udon Thani Rajabhat University from 6 faculties, obtained from Krejcie & Morgan's table. The experimental group was obtained by quota selection method. The research stages were divided into 3 stages; (I) needs study (II) design and production III) study the results. The research instruments were; 1) interview form for issues and needs of stakeholders 2) interview form for student needs 3) application quality assessment form  4) an application for a campaign to prevent and solve drug problems 5) awareness assessment form before and after using the application 6) students satisfaction assessment form. The mean, percentage, standard deviation, T-test and statistical significance level were used for data analysis. The findings of this research were as follows: 1) An application for a campaign to prevent and solve drug problems (TO BE NUMBER ONE) at Udon Thani Rajabhat University could be used with smart phone both IOS and ANDROID systems, including knowledge text, public relations text, logo, illustration and interactive system. 2) Application quality assessment conducted by 12 experts, the results of the quality assessment of data, content, and knowledge in the application. The result is very good, the average value is ( X = 4.76 , S.D. = 0.19 ).The quality evaluation result of the application design is very good, the average value is ( X = 4.51 , S.D. = 0.66 ). The application performance evaluation result in the aspect of the efficiency is very good, the average value is ( X = 4.60 , S.D. = 0.57 ).The application performance evaluation result in the aspect of the effectiveness is very good, the average value is ( X = 4.53 , S.D. = 0.54 ) 3) Results Analysis: the mean score before using and after using the application, the average score before using the application was 12.96  and after using the application with an average score of 26.74 and when comparing between scores Perception before and after it was found that the score after using the application of the experimental group was higher than before using the application. With statistical significance at the 0.05 level. The effectiveness index is 0.81 or 81 percent. 4) The satisfaction assessment results were at high level ( X = 4.70 , S.D. = 0.43 ).
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาแอปพลิเคชั่นโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (ทูบีนัมเบอร์วัน) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วมเป็นฐาน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการศึกษาความต้องการและความเหมาะสมด้านการพัฒนาแอปพลิเคชั่นโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (ทูบีนัมเบอร์วัน) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีโดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วมเป็นฐาน 2) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชั่นโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (ทูบีนัมเบอร์วัน) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีโดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วมเป็นฐาน 3) เพื่อศึกษาผลการใช้แอปพลิเคชั่นโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (ทูบีนัมเบอร์วัน) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีโดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วมเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาชั้นปี 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กลุ่มทดลองที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปี 1 มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี จาก 6 คณะ จำนวน 331 คน ซึ่งได้จากการคำนวณจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (krejcie & morgan) โดยมีการคัดเลือกแบบกำหนดโควต้า (Quota Sampling) ขั้นตอนในการวิจัยแบ่งได้เป็น 3 ระยะ 1) ศึกษาความต้องการ 2) การออกแบบและผลิต 3) ศึกษาผลการใช้งาน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ประเด็นปัญหาและความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2) แบบสัมภาษณ์ประเด็นความต้องการของนักศึกษา 3) แบบประเมินคุณภาพแอปพลิเคชั่น 4) แอปพลิเคชั่นโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 5) แบบประเมินการรับรู้ก่อนใช้และหลังใช้แอปพลิเคชั่น 6) แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบ T-test และระดับนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชั่นโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (ทูบีนัมเบอร์วัน) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สามารถใช้ได้กับ Smart Phone ทั้งระบบ IOS และ ANDROID ประกอบด้วย ข้อความความรู้ ข้อความประชาสัมพันธ์ ตราสัญลักษณ์ต่างๆ รูปภาพประกอบและระบบการโต้ตอบต่างๆ 2) การประเมินคุณภาพแอปพลิเคชั่นโดยผู้เชี่ยวชาญ 12 คน ผลการประเมินคุณภาพเกี่ยวกับข้อมูล เนื้อหา ในแอปพลิเคชั่น ผลประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก  มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ( X = 4.76 , S.D. = 0.19 ) ผลการประเมินคุณภาพเกี่ยวกับการออกแบบแอปพลิเคชั่น ผลประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ( X = 4.51 , S.D. = 0.66 ) ผลการประเมินคุณภาพด้านประสิทธิภาพการใช้งานแอปพลิเคชั่น ผลประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ( X = 4.60 , S.D. = 0.57 ) ผลการประเมินคุณภาพด้านประสิทธิผลการใช้งานแอปพลิเคชั่น ผลประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ( X = 4.53 , S.D. = 0.54 ) 3) การวิเคราะห์ผล ค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนใช้และหลังใช้แอปพลิเคชั่น ก่อนการใช้แอปพลิเคชั่น มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 12.96 หลังจากใช้ แอปพลิเคชั่น มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 26.74 และ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนการรับรู้ก่อนและหลัง พบว่า คะแนนหลังใช้แอปพลิเคชั่นของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนใช้แอปพลิเคชั่น อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.81 หรือเท่ากับร้อยละ 81 4) ผลประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับ พอใจมาก ( X = 4.70 , S.D. = 0.43 )
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2407
Appears in Collections:The Faculty of Informatics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011280002.pdf43.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.