Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2424
Title: Everyday Politics of the Vendors in the Indo-China Border Market of Mukdahan Province (2015 - 2019)
การเมืองในชีวิตประจำวันของผู้ค้าในตลาดชายแดนอินโดจีน จังหวัดมุกดาหาร (2558 - 2562)
Authors: Thippawan Banlusan
ทิพวรรณ บรรลุสันต์
Nattakant Akarapongpisak
ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์
Mahasarakham University
Nattakant Akarapongpisak
ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์
nattakant.a@msu.ac.th
nattakant.a@msu.ac.th
Keywords: การเมืองในชีวิตประจำวัน
การเคลื่อนย้าย
เสรีนิยมใหม่
Everyday Politics
Mobility
Neoliberalism
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis aims 1) to study everyday politics of vendors in Indochina border market, Mukdahan province under the implementation of the NCPO's Special Economic Zones and National Security Policy in Mukdahan between 2015-2019 and 2) to study movement of goods and labour in Indochina border market, Mukdahan in the context of the implementation of the NCPO's Special Economic Zones and Security Policy in Mukdahan between 2015-2019,using qualitative research methodology. The findings reveal the everyday politics of vendors in Indochina border market, under the Special Economic Zones policy the Thai government intended to derive benefits from the Economic Corridor plan resulting in new projects and activities in Mukdahan and Indochina market. These were, for example, inflows of capital in the form of cooperation between the government and private domestic banks, an Indochina market renovation project, reformation of Indochina market, as well as order restoration of the border. Such projects and activities caused traders to develop certain everyday political behavior, finding opportunities and opening negotiations in projects and activities so as to obtain self-benefits. These included fostering patronage relationships with local politicians and maintaining good relationships with government officials, which was a strategy large traders in a network of local power offer help and support, financially, when one party was in trouble,offering help as siblings or close friends would, and providing financial support in local politics, both in the past and as continuing support. In addition,traders also settled existing informal debts by replacing them with loans received from a government programme.There was also public communication in the form of criticism and condemnation of operations of government officials.This reflects the fact that traders refused to surrender to domination of the government. Rather,there were always changing patterns of political behaviour,seen through finding opportunities from relationships in a multiple actor social network.  Regarding the mobility of goods and labour, it is found that, in practice, the implementation of the Security Policy by the government to control the movement of goods and labour still left space which allowed negotiations. This space was made available by operations of government officials at various levels, including central, regional, and local government officials who took into consideration not only laws, but also a practical context. At the same time, non-government people, especially traders and villagers in the border area perceived that although the movement of goods in the area may have been illegal, but it was not ‘licit’ because it was resulted from relations that are already part of everyday life of people in the border area. Moreover, it is found that business interests, ethnicity, and kinship all affected negotiation and violation of government regulations, such as traders applied tactics to avoid importing garlic through the Customs due to a high import duty trade barrier set by the government. This indicates that although the technology of government to monitor the movement of people and goods across the border such as Immigration Act, Customs Act, and Internal Security Act, but traders and labourers still, however, violated these acts by continuing to transport goods and labour using existing local networks, which were established as result of long-observed border-crossing practices that made movement of goods and labour into Indochina market effective.
วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาการเมืองในชีวิตประจำวันของผู้ค้าในตลาด ชายแดนอินโดจีนจังหวัดมุกดาหาร ภายใต้การนำนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษและนโยบายความมั่นคงของรัฐบาล คสช. มาปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดมุกดาหารระหว่างปี 2558 - 2562 และ 2) เพื่อศึกษาการเคลื่อนย้ายสินค้าและแรงงานในตลาดชายแดนอินโดจีนจังหวัดมุกดาหาร ภายใต้บริบทของการนำนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และนโยบายความมั่นคงของรัฐบาล คสช. มาปฏิบัติ ระหว่างปี 2558 ถึงปี 2562 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาได้สะท้อนการเมืองในชีวิตประจำวันของผู้ค้าในตลาดชายแดนอินโดจีนภายใต้นโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่รัฐมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากโครงการระเบียงเศรษฐกิจ ทำให้เกิดโครงการและกิจกรรมต่างๆ ในจังหวัดมุกดาหารและตลาดชายแดนอินโดจีน อันได้แก่ การเข้ามาของแหล่งทุนในรูปแบบความร่วมมือระหว่างรัฐกับธนาคารเอกชน โครงการปรับปรุงตลาดชายแดนอินโดจีน การจัดระเบียบตลาดชายแดนอินโดจีน และการจัดระเบียบชายแดน ทำให้ผู้ค้ามีพฤติกรรมทางการเมืองในชีวิตประจำวันในการฉวยใช้โอกาสและการต่อรองภายใต้โครงการและกิจกรรมอันจะเป็นไปในทางที่ตนได้รับประโยชน์ ได้แก่ การมีความสัมพันธ์ในรูปแบบอุปถัมภ์กับนักการเมืองท้องถิ่นและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับข้าราชการ ซึ่งมักจะเป็นยุทธวิธีของผู้ค้ารายใหญ่ที่อยู่ในเครือข่ายของอำนาจท้องถิ่นที่อยู่ในความสัมพันธ์ในลักษณะการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันในเรื่องการช่วยเหลือด้านการเงินในยามที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเดือดร้อน การให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลในลักษณะเป็นพี่น้องหรือเพื่อนสนิท การให้ความช่วยเหลือในด้านเงินทุนในการเมืองท้องถิ่นในอดีตและช่วยเหลือกันเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ผู้ค้ายังใช้สินเชื่อจากโครงการของรัฐเพื่อนำมาใช้หนี้นอกระบบ รวมถึงการสื่อสารต่อสาธารณชนในลักษณะการวิพากษ์วิจารณ์และการประณามการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งสะท้อนว่าผู้ค้าไม่ได้ยอมจำนนต่อการครอบงำอำนาจรัฐ หากแต่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมทางการเมืองอยู่ตลอดเวลาผ่านการเข้าไปแสวงหาโอกาสภายใต้ความสัมพันธ์ในเครือข่ายทางสังคมที่มีตัวแสดง (actor) หลากหลาย                 ในประเด็นการเคลื่อนย้ายสินค้าและแรงงาน พบว่าการที่รัฐนำนโยบายความมั่นคงมากำกับควบคุมการเคลื่อนย้ายมีช่องว่างในการปฏิบัติ ซึ่งเอื้อให้เกิดการต่อรอง ช่องว่างนี้เกิดขึ้นจากการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐหลายระดับทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐนั้นไม่ได้ยึดโยงอยู่เพียงแค่กฎหมาย แต่ยังคำนึงถึงบริบทในทางปฏิบัติด้วย ขณะเดียวกันกลุ่มที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะผู้ค้าและชาวบ้านในชายแดนมองว่า การเคลื่อนย้ายสินค้าในพื้นที่นั้นอาจไม่ถูกกฎหมายแต่ไม่ถือว่า “เถื่อน” สิ่งเหล่านี้เป็นผลจากความสัมพันธ์ในชีวิตประจำวันของคนในบริเวณชายแดน นอกจากนี้ ยังพบว่าว่าเงื่อนไขของผลประโยชน์ทางธุรกิจ ความเป็นชาติพันธุ์ ระบบเครือญาติ มีผลต่อการต่อรองและหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ของรัฐ เช่น กรณีผู้ค้าใช้ยุทธวิธีหลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้ายกระเทียมในช่องทางกฎหมายศุลกากรเนื่องจากรัฐตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสูง ชี้ให้เห็นว่าถึงแม้ว่ารัฐจะใช้วิธีการสอดส่องการข้ามแดนของบุคคลและสิ่งของผ่านกฎหมาย  เช่น พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พระราชบัญญัติศุลกากร และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าและแรงงานยังหลีกเลี่ยงกฎหมายกลุ่มนี้โดยยึดรูปแบบวิธีในการเคลื่อนย้ายผ่านเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมในพื้นที่ที่มีแต่เดิม ซึ่งเครือข่ายนี้เกิดขึ้นจากวิถีปฏิบัติเรื่อง การข้ามแดนที่เกิดขึ้นมายาวนาน อันทำให้การเคลื่อนย้ายของสินค้า และแรงงานข้ามชาติ  สู่ตลาดชายแดนอินโดจีนสัมฤทธิ์ผล  
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2424
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011380008.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.