Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2427
Title: Enforced Disappearance by the State in Thailand Between 1987 and 2017
การบังคับให้สูญหายโดยรัฐในประเทศไทย ระหว่างปี 2530 - 2560
Authors: Rattasath Moonmas
รัฐศาสตร์ มุลมาตร
Nattakant Akarapongpisak
ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์
Mahasarakham University
Nattakant Akarapongpisak
ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์
nattakant.a@msu.ac.th
nattakant.a@msu.ac.th
Keywords: การบังคับให้สูญหาย
ความรุนแรงโดยรัฐไทย
อาชญากรรมโดยรัฐ
enforced disappearance
Thai state violence
Crime by state
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research on "State enforced disappearance in Thailand during 1987-2017" aimed to study conditions affecting the occurrence and existence of enforced disappearance in Thailand during 1987-2017. The sample for an in-depth interview was divided into 3 groups as a group of academics studying enforced disappearance, a group of human rights lawyers and the last one is a group of victims of enforced disappearance. All of them consisted of 5 persons who are 1 academic studying enforced disappearance, 2 human rights lawyers, 2 victims of enforced disappearance. A purposive sampling technique was used to select the sample to meet the research objective. Data collection was divided into 2 parts as documentary research data and interview research data. The findings from the study showed that the conditions affecting the occurrence and existence of enforced disappearance in Thailand during 1987-2017 were divided into 2 aspects, i.e. individual condition and structural condition. Individual condition comprises being leaders in social movement, having different political views, movement related to criticizing, inspecting, revealing a secret including filing a lawsuit against State officials, making State officials feel those persons are doing harm to them and lose legitimacy, and leading to use enforced disappearance approach. Structural condition is the other aspect leading to the occurrence and existence of enforced disappearance in Thailand since the legal structure has a gap that supports the occurrence of enforced disappearance. In Thailand, a law on prevention and suppression of torture and enforced disappearance is not available, making perpetrators unable to be punished and not afraid of punishment. The cultural structure in Thai society also supports the occurrence of impunity since perpetrators are not punished but enjoy impunity. People in Thai society get familiar with the way the State uses violence and sometimes view it is normal while State officials most likely claim that such action has something to do with security in order to legitimize State violence. By the way, Thai society has culture of impunity that embraces the occurrence and existence of enforced disappearance. A problem-solving guideline of enforced disappearance in Thailand found that (1) an Act on prevention and suppression of torture should be carried forward, (2) the definition of the term “victim” should be amended to cover not only a person who suffers from a destructive action but must cover relatives or a family of that victim, (3) the police should prepare a record on procedures for detaining and releasing offenders to their relatives, families or community leaders for acknowledgement to prevent a claim from the police that offenders are released but unproven which will become a gap leading to enforced disappearance and (4) mass media should publish news about enforced disappearance and present the fact that the way the State uses violence against people is wrong and making a person disappear cannot be done and is the most serious violation so that people will be aware of this and are not familiar with State violence.
การวิจัยเรื่อง การบังคับให้สูญหายโดยรัฐในประเทศไทย ระหว่างปี 2530-2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเงื่อนไขที่ส่งผลให้การบังคับบุคคลให้สูญหายเกิดขึ้นและดำรงอยู่ในสังคมไทยระหว่างปี 2530-2560 กลุ่มตัวอย่างการสัมภาษณ์เชิงลึกถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการที่ศึกษาการบังคับสูญหาย กลุ่มนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มที่ตกเป็นผู้ที่ถูกกระทำ ซึ่งมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 5 คน ประกอบด้วยนักวิชาการที่ศึกษาการบังคับสูญหายจำนวน 1 คน นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนจำนวน 2 คน และกลุ่มที่ตกเป็นผู้ที่ถูกกระทำจำนวน 2 คน การเลือกผู้ให้ข้อมูลนั้นเป็นการเลือกแบบเจาะจง เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลการศึกษาครั้งนี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลการวิจัยเชิงเอกสาร (documentary research) และข้อมูลการวิจัยเชิงสัมภาษณ์ (interview research) การศึกษาพบว่า เงื่อนไขที่ส่งผลให้การบังคับบุคคลให้สูญหายเกิดขึ้นและดำรงอยู่ในสังคมไทยระหว่างปี 2530-2560 ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประการ ได้แก่ เงื่อนไขด้านบุคคล และเงื่อนไขด้านโครงสร้าง โดยเงื่อนไขด้านบุคคล ได้แก่ การเป็นแกนนำในการเคลื่อนไหว การมีความคิดเห็นต่างทางการเมือง การเคลื่อนไหวในลักษณะที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ ตรวจสอบ เปิดโปง รวมถึงการฟ้องร้องเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐ ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้เจ้าหน้าที่รัฐรู้สึกว่าเป็นภัยต่อตนเอง สูญเสียความชอบธรรมจนนำมาสู่การใช้วิธีการบังคับบุคคลให้สูญหาย และเงื่อนไขด้านโครงสร้างเป็นอีกเป็นหนึ่งเงื่อนไขที่นำมาสู่การเกิดขึ้นและคงดำรงอยู่ของการบังคับสูญหายในสังคมไทย เนื่องจากโครงสร้างทางกฎหมายมีช่องว่างเอื้อให้เกิดการบังคับให้สูญหาย ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานและการบังคับให้สูญหายส่งผลให้ไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ เอื้อให้ผู้กระทำความผิดไม่เกิดความเกรงกลัวต่อการลงโทษผู้กระทำความผิด รวมถึงโครงสร้างวัฒนธรรมในสังคมไทยเอื้อให้เกิดการลอยนวลพ้นผิด เนื่องจากผู้กระทำความผิดไม่ได้รับโทษ ลอยนวลพ้นผิด ประชาชนในสังคมไทยกลับเกิดความเคยชินต่อการที่รัฐใช้ความรุนแรง จนเผลอมองเป็นเรื่องปกติรวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐมักอ้างว่าการกระทำเป็นเรื่องของความมั่นคง เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับความรุนแรงโดยรัฐ อนึ่ง สังคมไทยมีวัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิดเป็นวัฒนธรรมที่คอยโอบอุ้มการการบังคับบุคคลให้สูญหายยังคงเกิดขึ้นและดำรงอยู่ในสังคมไทย แนวทางในการแก้ไขปัญหาการบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศไทย พบว่า (1) ควรมีการผลักดันให้ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมาน (2) ควรแก้ไขคำจัดความคำว่า "ผู้เสียหาย" ให้มีความครอบคลุม ไม่ใช่เพียงผู้ที่ถูกกระทำ หากแต่ผู้เสียหายต้องครอบคลุมถึงญาติหรือครอบครัวผู้เสียหาย (3) เจ้าหน้าที่ตำรวจควรมีการจัดทำบันทึกถึงขั้นตอนในการควบคุมตัว รวมถึงการปล่อยตัว ให้ญาติ ครอบครัว หรือผู้นำชุมชนลงบันทึกรับทราบในการปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัว เพื่อเป็นการป้องกันเจ้าหน้าที่อ้างว่ามีการปล่อยตัวแล้วแต่ไม่สามารถพิสูจน์ทราบได้ ซึ่งเป็นช่องว่างนำไปสู่การบังคับสูญหาย และ (4) สื่อควรเผยแพร่ข่าวสารการบังคับบุคคลให้สูญหาย และนำเสนอความจริงว่าการที่รัฐใช้ความรุนแรงกับพลเมืองเป็นสิ่งที่ผิด การที่จะทำให้ใครสักคนต้องหายไปเป็นสิ่งที่กระทำไม่ได้ เพื่อให้ประชาชนตระหนักและไม่เกิดความเคยชินแต่ความรุนแรงโดยรัฐ
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2427
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011380011.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.