Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2430
Title: The Personnel Administration of Local Government Organization in Chiang Kwan District of Roi Et Province
การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด
Authors: Kedsaraporn Khunwiboon
เกตศราภรณ์ คุณวิบูลย์
Jeerasak Pokawin
จีรศักดิ์ โพกาวิน
Mahasarakham University
Jeerasak Pokawin
จีรศักดิ์ โพกาวิน
jeerasak.p@msu.ac.th
jeerasak.p@msu.ac.th
Keywords: การบริหารงานบุคคล
งานบุคคลท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Personnel Administration
Local Government Personnel
Local Government Organization
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were to study Personnel Administration of Local government organization in Chiang Kwan District, Roi Et Province and to compare Personnel Administration of Local government organization in Chiang Kwan District, Roi Et Province classified by sex, age, educational level, position, and experience and study to guidelines for personnel administration of Local government organization in Chiang Kwan District, Roi Et Province. The 211 samples of personnel in Local government organization in Chiang Kwan District, Roi Et Province. The 5 rating scale questionnaires and structured interviews are used in this research. item discrimination powers ranging from 0.32 to 0.77 and the reliability of 0.95. The statistics used for data analysis are frequency, percentage, mean, standard deviation t – test and F – test. The results of the study are as follows. 1. The administration process of personnel administration of local government organization in Chiang Kwan District, Roi Et Province as an overall and as individual components was at a high level of performance. The following aspects shown accordingly to the means ranking from high to low are personnel planning, personnel recruiting, Performance appraisal, personnel development, personnel dismissing, and personnel maintenance. 2. The comparison concerning a degree of the overall personnel administration of local government organization in Chiang Kwan District, Roi Et Province according to the opinions of those who were different in, educational level, position and experience showed a significant difference at the .05 level ; but there are no significant differences in their opinions classified according to their sex and age levels. 3. The guidelines for personnel administration of Local government organization in Chiang Kwan District, Roi Et Province found that;                                                    3.1 Personnel planning Personnel plans should be prepared to be appropriate for the mission and goals of the organization in order to be able to solve problems for the people.                                                             3.2  Recruiting and selection Personnel should be selected with moral principles in accordance with government regulations in order to obtain knowledgeable personnel competence match the position.                                                         3.3  Personnel maintenance There should be orientation training for newly recruited personnel. To know the roles, duties and benefits of one's own work in the position.                                                         3.4  Performance appraisal There should be an empirical and concrete assessment of the personnel's performance. and look at the real intention of working.                                                           3.5 Personnel Development Personnel should be encouraged to participate in training whether organized by local government organizations or organized by other agencies. according to the course of each position regularly.                                                 3.6 On the side of dismissal from work When personnel in the organization committing crimes, they must strictly comply with government regulations. It should be checked to be clear that it is indeed wrong. deserving of retirement To set an example for others.
การศึกษาเรื่อง การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคล เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานบุคคล และเพื่อศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยศึกษาความคิดเห็นจากบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 211 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าซึ่งมี 5 ระดับ จำนวน 25 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .32 ถึง .77 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยวิธี t - test (Independent Samples) และ F - test (One-way ANOVA) ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ 1. บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผนบุคลากร ด้านการสรรหาและการคัดเลือก ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการให้พ้นจากงาน และด้านการธำรงรักษาบุคลากร 2. บุคลากรที่มีระดับการศึกษา ประเภทบุคลากร และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศ และอายุ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า                                                             3.1 ด้านการวางแผนบุคลากร ควรจัดทำแผนบุคลากรให้มีความเหมาะสมตามภารกิจและเป้าหมายขององค์การ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาให้ประชาชนได้                                3.2 ด้านการสรรหาและการคัดเลือก ควรเลือกสรรบุคลากรด้วยหลักคุณธรรมเป็นไปตามระเบียบของทางราชการเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถตรงกับตำแหน่งงาน              3.3 ด้านการธำรงรักษาบุคลากร ควรมีการอบรมปฐมนิเทศบุคลากรที่บรรจุใหม่ เพื่อให้ทราบบทบาทหน้าที่และสิทธิประโยชน์ของตนเองในการปฏิบัติงานในตำแหน่งงาน              3.4 ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ควรมีการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรทั้งในเชิงประจักษ์เป็นรูปธรรม และดูความตั้งใจจริงในการปฏิบัติงาน                                  3.5 ด้านการพัฒนาบุคลากร ควรส่งเสริมให้บุคลากรได้เข้าร่วมการฝึกอบรมไม่ว่าจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหรือหน่วยงานอื่นจัด ตามหลักสูตรของแต่ละตำแหน่งงานอย่างสม่ำเสมอ                                                                                                                        3.6 ด้านการให้พ้นจากงาน เมื่อบุคลากรในองค์กรกระทำผิดต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการอย่างเคร่งครัด ควรตรวจสอบให้ชัดเจนว่าผิดจริง สมควรแก่การพ้นจากงาน เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่บุคคลอื่น ๆ 
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2430
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62011380001.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.