Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2431
Title: Quality of Life Development of Older Persons in Elderly School of Tha Khon Yang Subdistrict Municipality Kantharawichai District Mahasarakham Province
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาล ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Ponpirunpatr Boonkon (Chitmeto)
พรพิรุณภัทร บุญก้อน (จิตเมโธ)
Jeerasak Pokawin
จีรศักดิ์ โพกาวิน
Mahasarakham University
Jeerasak Pokawin
จีรศักดิ์ โพกาวิน
jeerasak.p@msu.ac.th
jeerasak.p@msu.ac.th
Keywords: พัฒนาคุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุ
โรงเรียนผู้สูงอายุ
Quality of Life Development
Older Persons
Elderly School
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis was composed of two objectives as follows : 1) study level the quality of life of the elderly in Tha Khon Yang Subdistrict Municipality Kantharawichai District Mahasarakham Province, 2) study the guidelines to develop the quality of life of the elderly in Tha Khon Yang Subdistrict Municipality Kantharawichai District Mahasarakham Province. The samples consisted of 80 Older Persons in the Elderly School of Tha Khon Yang Subdistrict by Purposive random sampling. The 5 rating scale questionnaires and structured interviews are used in this research. The reliability of Cronbach's alpha coefficient is 0.92. Statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The results of the study were as follows. 1. The quality of life of the elderly in Tha Khon Yang Subdistrict Municipality Kantharawichai District in overall were at a moderate level, considering aspect it was by aspect found that all of the 4 aspects were also at a moderate level, ordering from high to low as follows: the environmental aspect, social relations aspect, physical aspect and psychological aspect. 2. The guidelines to develop the quality of life of the elderly in Tha Khon Yang Subdistrict Municipality Kantharawichai District were as follows;                           2.1 Physical aspect, Tha Khon Yang Subdistrict Municipality should work collaboratively with hospital health district and elderly club in the community Kantharawichai district and health offices Kanchanaburi visit the elderly to educate and advise seniors about health care.                                       2.2 Psychological aspect, temple should teach the principles of Buddhism, together with the principles of life by starting awareness about gratitude to their relative since youth, and teaching practice meditation.                               2.3 Social aspect, should organize activities for elderly family members and elderly people in the community to attend activities provided by temples, schools, organizations, or institutions transcription experience to young.                     2.4 Environmental aspect, should support the elderly to earn extra income.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 2) ศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลท่าขอนยาง จำนวน 80 คน ซึ่งใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าซึ่งมี 5 ระดับ มีค่าค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ 1. ระดับคุณภาพคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเรียงจากมาก ไปหาน้อยคือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ 2. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สรุปได้ดังนี้                         2.1 ด้านร่างกาย เทศบาลตำบลท่าขอนยางควรประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ชมรมผู้สูงอายุในชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันทรวิชัย และจังหวัดมหาสารคามออกเยี่ยมเยือนผู้สูงอายุ เพื่อให้ความรู้คำแนะนำแก่ผู้สูงอายุเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ อนามัยที่ถูกต้อง                                                                        2.2 ด้านจิตใจ วัดในพื้นที่ควรจัดโครงการนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาสอนควบคู่กับหลักการดำเนินชีวิต โดยเริ่มปลูกฝังจิตสานึกเกี่ยวกับความกตัญญูกตเวที รู้จักพระคุณของบิดามารดาปู่ย่าตายายตั้งแต่วัยเรียน และมีการสอนการปฏิบัติธรรมนั่งกรรมฐาน                         2.3 ด้านสังคม ควรจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุกับสมาชิกในครอบครัว และผู้สูงอายุกับคนใน ชุมชนมาทำกิจกรรมร่วมกัน ตลอดจน วัด โรงเรียน องค์กร หรือสถาบันสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่ในชุมชนเปิดโอกาสให้ ผู้สูงอายุเข้าร่วมถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์แก่ นักเรียน นักศึกษา และคนในชุมชนเพิ่มเติม                                                                     2.4 ด้านสิ่งแวดล้อม ควรจัดกิจกรรมอาชีพเสริมให้กับผู้สูงอายุที่ต้องการมีรายได้เสริม สงเคราะห์ผู้สูงอายุที่เดือดร้อน โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เป็นของตนเอง
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2431
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62011380005.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.