Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2436
Title: Knowledge Management on Local Wisdom: A Case Study of Ban Non Cotton Weaving Group, Tambon Kham Pom, Amphoe Wapi Pathum, Maha Sarakham Province
การจัดการความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น : กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านโนนตำบลขามป้อม อำเภอ วาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 
Authors: Parit Sati
ปริชต์ สาติ
Wanida Phomlha
วนิดา พรมหล้า
Mahasarakham University
Wanida Phomlha
วนิดา พรมหล้า
wanida.ph@msu.ac.th
wanida.ph@msu.ac.th
Keywords: การจัดการความรู้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านโนน
Knowledge Mamagement
Local Wisdom
Ban Non Cotton Weaving Group
Issue Date:  12
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:             The thesis titled “Knowledge Management on Local Wisdom: A Case Study of Ban Non Cotton Weaving Group, Tambon Kham Pom, Amphoe Wapi Pathum, Maha Sarakham Province” aims to 1) study the patterns and process of cotton weaving knowledge management at Ban Non Cotton Weaving Group, Tambon Kham Pom, Amphoe Wapi Pathum, Maha Sarakham. 2) to collect cotton weaving knowledge data at  Ban Non Cotton Weaving Group, Tambon Kham Pom, Amphoe Wapi Pathum, Maha Sarakham.              The related research, documents, and fieldwork data are used as materials for this research. Those data are from Ban Non Cotton Weaving Group, Tambon Kham Pom, Amphoe Wapi Pathum, Maha Sarakham. The methodologies used in this research are participant observation, non-script interview, and deep interview of focused group.              The cotton weaving knowledge management process are composed of 2 factors. There are 1) The cotton weaving knowledge management at Ban Non Cotton Weaving Group relates to village wisdom, community wisdom, which are well preserved by the ancestors. Knowledge is formed by social learning, incubation, indoctrination, and community activities. 2) Knowledge management processes are as follows. 1.) knowledge indentification 2) searching for further knowledge 3) exchange knowledge 4) knowledge preservation 5) knowledge transfer 6) apply knowledge.               In conclusion, knowledge management of Ban Non Cotton Weaving Group, Tambon Kham Pom, Amphoe Wapi Pathum, Maha Sarakham comes from knowledge transfer of their ancestors. All household weave their cloths. In the past, all women were trained to weave by their parents. The knowledge transfer, experiments, training, and applying are from the demand of customer.              The weaving is one of the characteristics of community which are applied to match global customer.
              วิทยานิพนธ์ เรื่อง การจัดการความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทการทอผ้าฝ้ายของกลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านโนน ตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าฝ้ายของกลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านโนน ตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคามและเพื่อศึกษาการจัดการความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทการทอผ้าฝ้ายของกลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านโนน ตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคามทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยผ่านการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งการศึกษาจากข้อมูลภาคสนามในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านโนน ตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ทั้งนี้ สำหรับการเก็บข้อมูล เป็นการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม มีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม (Focus Group)               จากกระบวนการในการจัดการความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทการทอผ้าฝ้ายของกลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านโนน ตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม พบว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือกระบวนการจัดการความรู้ และความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลการศึกษา พบว่า 1) กระบวนการในการจัดการความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทการทอผ้าฝ้ายของกลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านโนน ตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม นั้น สมาชิกกลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านโนนมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตผ้าฝ้ายทุกขั้นตอนเป็นอย่างดี และสมาชิกในกลุ่มยังมีบทบาทสำคัญต่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของชุมชนที่บรรพชนได้อนุรักษ์ รักษา สืบทอดต่อกันมา จนกลายเป็นองค์ความรู้ทางภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม การเพาะบ่ม ปลูกฝังวิธีคิดและแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้ลูกหลานในชุมชนได้สืบสานต่อกันมา 2) กระบวนการรวบรวมและจัดการความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทการทอผ้าฝ้ายของกลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านโนน ตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้ 1) การกำหนดความรู้ 2) การแสวงหาความรู้เพิ่มเติม 3) การแลกเปลี่ยนความรู้ 4) การจัดเก็บความรู้ 5) การถ่ายทอดความรู้ 6) การนำความรู้ไปใช้               กล่าวได้ว่า การจัดการความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทการทอผ้าฝ้ายของกลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านโนน ตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม มีความเป็นมาจากการได้รับความรู้การทอผ้าฝ้ายมาจากบรรพชนคนรุ่นก่อน ซึ่งจะเห็นได้จากทุกครัวเรือนมีการทอผ้าฝ้ายเพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม โดยในอดีตผู้หญิงทุกคนจะได้รับการถ่ายทอดความรู้ในการผลิตผ้าจากบรรพบุรุษ ส่วนการถ่ายทอดความรู้ การสั่งสม ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาการทอผ้าฝ้าย และสั่งสมทักษะ ประสบการณ์ จนเกิดความชำนาญในการทำกลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านโนน รวมถึงความสามารถในการปรับประยุกต์เพิ่มเติม หรือลดทอนวิธีการในการทอผ้าฝ้าย เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม หรือสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ถือเป็นการปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงการตระหนักถึงคุณค่าในภูมิปัญญากลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านโนน ที่มีความสัมพันธ์แบบแน่นหรือเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ชุมชน โดยที่องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้านั้น เป็นองค์ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ ปรับปรุง และถ่ายทอดสืบสานต่อกันมา จนกลายเป็นองค์ความรู้ประจำท้องถิ่นในที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2436
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65011381023.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.