Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2437
Title: The Health Promotion Model for Improving the Quality of Life of the Elderly Under the Epidemic Situation of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)
รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
Authors: Parichat Sattayarak
ปาริชาติ สัตย์ญารักษ์
Sumattana Glangkarn
สุมัทนา กลางคาร
Mahasarakham University
Sumattana Glangkarn
สุมัทนา กลางคาร
sumattana.g@msu.ac.th
sumattana.g@msu.ac.th
Keywords: การส่งเสริมสุขภาพ
คุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุ
โควิด-19
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
Health Promotion
Quality of Life
Elderly
COVID-19
Corona Virus Disease 2019
Issue Date:  30
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The epidemic of the 2019 Coronavirus Disease has caused changes in the lifestyles of people in society around the world, including affecting the quality of life (QOL) of the elderly. This study was a Mixed Method Research. The aim was to develop a health promotion model to improve the QOL of the elderly. The sample group were the elderly, health workers, village leader ,village health volunteers and elderly caregivers. Research tool employed the health promotion model for improving the QOL of the elderly; questionnaires, in-depth interviews; and focus group discussion. The study found : gender, married status, age, income, occupation, congenital disease, family history of exposure to the disesse were the factors that affect the QOL of the elderly. The health promotion model for improving the QOL of the elderly consists of 5 aspects: 1) Health promotion according to 3E principles 2) Physical health 3) Mental health 4) Social relations 5) Environment which were linked together to improve the quality of life of the elderly under the epidemic situation. After applying the generated model, it was found that : the target group had QOL under the epidemic situation statistically significant increase (p<0.001). The QOL were better than before the program development interms of perceiving the benefits of health promotion practices, recognition of barriers to health promotion practice, self-efficacy in health promotion, interpersonal influence, and health promotion behaviors. Success factors in promoting health and improving the QOL of the elderly in society were family support, neighbor, hood community, local, promoting the products of the elderly group, home visit, and primary health check. Health factors include understanding and seeking health knowledge of the elderly. Individual factors such as skill in craftsmanship leads to economic expansion and readiness to change the lifestyle of the elderly in order to live a regular life with happiness.
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในสังคมทั่วโลกรวมไปถึงผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน  56 คน คือ ผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้ดูแลผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษา พบว่า เพศ สถานภาพ อายุ รายได้  อาชีพ โรคประจำตัว ประวัติการได้รับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคนในครอบครัว เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ 2) ด้านสุขภาพกาย 3) ด้านจิตใจ 4) ด้านสัมพันธภาพทางสังคม 5) ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเชื่อมโยงประสานกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรค หลังจากการใช้รูปแบบที่สร้างขึ้น พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ผลการศึกษาที่ดีขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตัวในการส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติตัวในการส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการส่งเสริมสุขภาพ อิทธิพลระหว่างบุคคล และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทางสังคม ได้แก่ การสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อนบ้าน ชุมชน ท้องถิ่น การสนับสนุนต่อยอดผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้สูงอายุ การเยี่ยมบ้าน และตรวจสุขภาพเบื้องต้น ปัจจัยทางสุขภาพ ได้แก่ ความเข้าใจและการแสวงหาความรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ความสามารถในด้านงานฝีมือส่งผลให้เกิดการต่อยอดด้านเศรษฐกิจ และการพร้อมปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อให้การดำรงชีวิตประจำเป็นไปอย่างมีความสุข
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2437
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011460004.pdf5.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.