Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2438
Title: | The Development of an Oral Health Care and Surveillance Model for Older Adults with Community Network in Jikterng Village, Tansum District, Ubonratchatani Province การพัฒนารูปแบบการดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ โดยเครือข่ายชุมชน ในเขตตำบลจิกเทิง อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี |
Authors: | Pichayasuda Cherdsakool พิชญสุดา เชิดสกุล Niruwan Turnbull นิรุวรรณ เทิร์นโบล์ Mahasarakham University Niruwan Turnbull นิรุวรรณ เทิร์นโบล์ niruwan.o@msu.ac.th niruwan.o@msu.ac.th |
Keywords: | ผู้สูงอายุ รูปแบบการดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพช่องปาก กระบวนการมีส่วนร่วม Elderly oral health care surveillance model participation |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This action research studied the development of a programme of oral health care and surveillance of the elderly by a community network in Chik Thoeng Subdistrict, Tan Sum District, Ubon Ratchathani Province. The subjects was selected by stratified sampling with proportional model is 231 elderly people within 9 villages in Chikteng sub-district, including 20 stakeholders who involved in the oral health care system in the research area. Data were collected by questionnaire, observation form, group discussion log form, and operational monitoring form. The quantitative data analysis was used descriptive statistics and the content analysis for qualitative data.
Action research programme included; Planning, implementation as Action plan, Observation of the operations and Reflection as information returned to the development process (PAOR). The programme consists of 6 steps: 1) study the context of the area, such as criticise for area problems, 2) Set up a meeting for the workshop, 3) Arrange for the action plan, 4) Implementation for the plan, 5) Follow-up and supervision, and 6) Lessons learned by summary of the problems and planning to solve problems.
The results showed that after implementation the programme of care and surveillance for oral health of the elderly by community networks, the elderly had increased knowledge and behaviour of oral health care with statistical significance at the 0.05 level, as well as had the mean knowledge and health behaviour scores at a high level, at 10.41+ 1.95 and 2.34+0.52, respectively. The stakeholder as participatory key information group increased at a high level by 90 per cent. In addition, this programme developed a C2P model, which combined with a community network (C), Practice for skills (P) and the guidelines for enhancing oral health of the elderly to participate the programme (P), the cooperation between the elderly, their caregivers, and the healthcare staff to be involved for continuing activities to promote dental healthcare for the elderly.
Therefore, the programme of oral health care and surveillance of the elderly by community networks encourage the elderly and their community network to be aware of the causes of oral diseases, working together in caring for the elderly's dental health and enabling the elderly to have access to dental services thoroughly. Therefore, this model should be used as a guideline for oral health care in the elderly in other areas. การวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน ในเขตตำบลจิกเทิง อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) แบบเป็นสัดส่วน คือ ผู้สูงอายุทั้ง 9 หมู่บ้านในเขตตำบลจิกเทิง จำนวน 231 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในพื้นที่ 20 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบนิเทศติดตามการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบ paired t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เนื้อหา รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการใช้กระบวนการ การวางแผน (Plan) การปฎิบัติตามแผน (Action) การสังเกตการดำเนินงาน (Observation) และ การให้ข้อมูลกลับคืนสู่กระบวนการพัฒนา (Reflection) (PAOR) โดยกระบวนการดำเนินงานประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาบริบทของพื้นที่ วิเคราะห์ สภาพปัญหา 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) จัดทำแผนปฏิบัติการ 4) ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ 5) นิเทศติดตาม และ 6) ถอดบทเรียน สรุป ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานเพื่อใช้วางแผนในการแก้ไขปัญหา ผลการศึกษาพบว่า หลังจากพัฒนารูปแบบการดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน ผู้สูงอายุมีความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรม ในระดับสูง เท่ากับ 10.41 (SD = 1.95) และ 2.34 (SD = 0.52) ตามลำดับ การมีส่วนร่วมของกลุ่มให้ข้อมูลหลักเพิ่มขึ้นในระดับมาก ร้อยละ 90 นอกจากนี้ การพัฒนานี้ได้รูปแบบ C2P Model มีเครือข่ายในชุมชน (Community network) เกิดกิจกรรม โครงการ และแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ (P: Project) เกิดการมีส่วนร่วม (P: Participation) ระหว่างผู้สูงอายุ ผู้ดูแล และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมทันตสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นรูปแบบการดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน ทำให้ผู้สูงอายุและชุมชนมีความตระหนักถึงสาเหตุและปัญหาโรคในช่องปาก รู้วิธีที่จะร่วมด้วยช่วยกันดูแลทันตสุขภาพของผู้สูงอายุ และทำให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงบริการทันตกรรมได้อย่างทั่วถึง จึงควรมีการนำรูปแบบนี้ไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุในพื้นที่อื่นๆ |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2438 |
Appears in Collections: | The Faculty of Public Health |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61051480004.pdf | 6.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.