Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2439
Title: The Development of Medicine Therapy for Health Promotion Model for Type-2 Diabetes Mellitus Patients with Chronic Kidney Disease at Phosai Hospital, Phosai District, Ubon Ratchathani Province
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเสื่อม โรงพยาบาลโพธิ์ไทร อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี
Authors: Shaweewan Klinhom
ฉวีวรรณ กลิ่นหอม
Niruwan Turnbull
นิรุวรรณ เทิร์นโบล์
Mahasarakham University
Niruwan Turnbull
นิรุวรรณ เทิร์นโบล์
niruwan.o@msu.ac.th
niruwan.o@msu.ac.th
Keywords: โรคเบาหวาน
ภาวะไตเสื่อม
การใช้ยา
Diabetes Mellitus
Chronic Kidney disease
Medicine therapy
Issue Date:  9
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This action research aims to develop a model of medicine therapy for health promotion for diabetic patients with chronic kidney disease by employing the participant including: 1) caregivers, 2) village health volunteers and 3) public health personnel. The subjects were created an appropriated medicine therapy to solve the problems of medicine use of diabetic patients. The study included 99 patients who were attended diabetes clinic service at Phosai hospital and 114 of the stakeholders who involved in caring patients. The quantitative data were collected using questionnaires through quality checks from experts with validity 0.67-1.00. The reliability level with Cronbach’s alpha coefficient of the three questionnaires was 0.873, 0.877 and 0.965, respectively. The qualitative data was collected from observations and suggestions from the participants. The quantitative data analysis used descriptive statistics and the qualitative data using content analysis for classification principles to organize information systems to answer questions to find out the cause in the relationship and process of changing. The results found that the majority of diabetic patients with renal impairment were female (55.60%), average age 71.78+9.86 years, agricultural occupation (58.58%), average monthly income less than 1500  baht  (66.67%) (mean=1765.15+2015.05) living with their family as their children as caregivers (52.53%) . The programme of a medicine therapy for health promotion indicated to be success by participation of caregivers and village health volunteer working with public health personnel, encourage their educating especially for diabetes and nephrotic syndrome as well a proper medication use, follow-up visits to the patient with diabetes at their home, including encouraging patients for medication behaviour and appropriated medication use. The problem of medicine therapy use was decreased from 88 problems (average of 0.89 problems per patient) to 16 problems (average of 0.16 problems per case). The knowledge of patients and their caregivers were increased to high level by 31.31% and 39.39%, respectively, the medicine use behaviour scores  increased to the high level by 43.43% and 60.61, respectively, and statistical significance at the 0.05 level (p- value<0.001). In summary, the model of medical therapy for health promotion for type-2 diabetes mellitus patients with renal impairment indicated the PCHK model, which consists:  1) Participants as patients, 2) Counselling to solve problems by pharmacists, 3) Home visits and 4) Knowledge to make sure that patients and their caregivers using the appropriately medicines to reduce medicine using problems.
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเสื่อม โรงพยาบาลโพธิ์ไทร เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 3 โดยการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลผู้ป่วย อสม. และบุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้เกิดการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสมและแก้ไขปัญหาด้านการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ร่วมวิจัยคือกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลโพธิ์ไทร จำนวน 99 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วย จำนวน 114 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ มีคุณภาพด้านความเที่ยงตรง (Validity) เท่ากับ 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดย Cronbach’s alpha coefficient ของแบบสอบถามทั้ง 3 ชุดเท่ากับ 0.873 0.877 และ 0.965 ตามลำดับ ด้านข้อมูลเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสังเกตและข้อเสนอแนะ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาด้วยหลักการจำแนกเพื่อจัดระบบข้อมูลเพื่อตอบคำถาม และหาสาเหตุในความสัมพันธ์เเละกระบวนการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะไตเสื่อมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 55.60) อายุเฉลี่ย 71.78 ปี (S.D.=9.86) มีอาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 58.58) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 1,500 บาท (ร้อยละ 66.67) (ค่าเฉลี่ย=1765.15, S.D.=2015.05) อาศัยอยู่กับครอบครัวโดยมีลูกเป็นผู้ดูแล (ร้อยละ52.53) การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเสื่อม โดยการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลผู้ป่วยและ อสม. ร่วมกับบุคลากรสาธารณสุข การให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคไตเสื่อมและการใช้ยาที่ถูกต้อง การติดตามเยี่ยมผู้ป่วยเบาหวานที่บ้าน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรมการใช้ยาและแก้ไขปัญหาด้านการใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม จำนวนปัญหาการใช้ยาลดลงจาก 88 ปัญหาหรือเฉลี่ย 0.89 ปัญหาต่อราย เหลือ 16 ปัญหา หรือเฉลี่ย 0.16 ปัญหาต่อราย ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ดูแลผู้ป่วย มีความรู้ในระดับมากเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.31 และ 39.39 ตามลำดับ และคะแนนพฤติกรรมการใช้ยาและการดูแลผู้ป่วยในระดับมากเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.43 และ 60.61 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value<0.001) โดยสรุปรูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเสื่อมที่ได้จากการศึกษาวิจัยนี้ คือ PCHK model ประกอบด้วย 1. ผู้มีส่วนร่วม (Participants) 2. การให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาโดยเภสัชกร (Counseling) 3. การเยี่ยมบ้าน (Home visit) 4. การให้ความรู้ (Knowledge) ทำให้การใช้ยาถูกต้องเหมาะสมและลดปัญหาด้านการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวาน
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2439
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61051480010.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.