Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/245
Title: THE ADAPTATION OF PEOPLE IN PREVENTION AND MITIGATION FLOODING IN THAKHONYANG SUB-DISTRICT, KANTARAWICHAI DISTRICT, MAHA SARAKHAM PROVINCE
การปรับตัวของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในเขตตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Patchara Boonmee
พัชรา  บุญมี
Wanida Phromlah
วนิดา พรมหล้า
Mahasarakham University. The College of Politics and Governance
Keywords: การปรับตัวของประชาชน
การป้องกันและบรรเทาอุทกภัย
ADAPTATION OF PEOPLE
PREVENTION AND MITIGATION FLOODING
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:             The purpose of this research is to study and suggest about the difficulty on as well as the impact from the adaptation to prevent and recover from flood disaster of the people in Thakhonyang sub-district, Kantarawichai district, Maha Sarakham province. The people in this study, consisting of 27 villagers, represent those who have experienced and were in a flood disaster in the high-risk flooding area, chosen from 9 villages (in the area of Moo 1,2,3,4,5,6,10,11, and 13) 3 people each. The research instrument is the interview and analysis of data and information from the interview, comments, and suggestions, utilizing the Content Analysis approach, which is presented by narration. The research findings are as follows.             From the survey on the adaptation to prevent and recover from flood disaster of the people in Thakhonyang sub-district, Kantarawichai district, Maha Sarakham province, on the aspect of loss acceptance, it is found that 21 interviewees can accept the loss since it is caused by natural disaster, and is able to normally participate in the community activities; while 6 interviewees cannot accept the loss due to the lack of residence.             On the aspect of minimizing the loss, 13 interviewees plan and prepare to minimize the loss, for example, moving away from the river bank and building the house on a higher ground or levelling up the ground for building the house. Eleven interviewees would like the public sector to continuously and affirmatively support, and better the water management such as building the levee; 11 interviewees suggest the villagers should make suggestions and always follow the news; 10 interviewees suggest the collaboration of villagers to monitor the rain gauge and notify other people in the community; and 5 interviewees suggest the collaboration within the community to afforest and encourage the next generation to preserve it.             For the aspect of acquiring new options to alleviate the seriousness of the loss, 22 interviewees state that they would not move anywhere because they have been living in the area since they were born, and they do not have enough capital to do so. Nineteen interviewees state that technology should be used in production to increase the products; 18 interviewees state that the Government should reduce the cost of agriculture and develop the plants to yield highest crops; 16 interviewees state that there should be the training on production and agricultural product processing to increase people’s revenue; 13 interviewees state that the public sector should provide more support on and tangible sample of how to do the agriculture; 11 interviewees state that the association of agriculturists should be founded to negotiate the price of agricultural products; and 5 interviewees are looking for new area to settle down.             During the interview, the Interviewer has suggested how to prevent and alleviate the seriousness of the loss from flood disaster, to be the guideline on planning the training for people in the area, leading to policies and measures development for building people’s safety. The suggestions are as follows:                         1) Prepare in advance to cope with flood disaster; for example, distributing sand and sand bags prior to the actual flood incident to avoid the lack of the water-resistant equipment.                         2) Plan and brainstorm among people in the area or study from other areas’ approaches or local wisdom, and apply to prevent and alleviate disaster, expectedly leading to more effective and efficient approaches.                         3) Establish irrigation ditch system: open-and-close water gate and maintain the irrigation ditch by the collaboration of people in the area.                         4) Implement flood disaster management projects such as dike building, irrigation ditch maintaining, and dredging prior to raining season. Although they might not fully prevent flood, they can alleviate the loss and impact.                         5) Implement the project that prevent the Chee River bank erosion such as stone lining, road construction along Chee River, or reservoir/ detention basin construction to store mass of water for utilizing during drought time.                         6) Acquire new residence for those affected by flood and bank erosion, and implement projects to level up the residence of disaster casualties living in the lower ground, in case flood disaster cannot be solved.
           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพปัญหาเกี่ยวกับการปรับตัวของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับตัวของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยรวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ในเขตตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือตัวแทนประชาชนที่มีประสบการณ์ และเคยประสบอุทกภัยซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย จำนวน 27 คน โดยคัดเลือกตัวแทนจาก 9 หมู่บ้าน (หมู่ที่ 1,2,3,4,5,6,10,11,13) หมู่บ้านละ 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร (Content Analysis) แล้วนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า            ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในการปรับตัวในการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ด้านการยอมรับความสูญเสียพบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์มีความคิดเห็นว่า สามารถยอมรับได้เนื่องจากเป็นภัยธรรมชาติ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนตามปกติ จำนวน 21 คน และไม่สามารถยอมรับได้ แต่เพราะไม่มีที่จะย้ายไปอยู่ที่อื่นได้ จำนวน 6 คน            ด้านการลดความสูญเสียพบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์มีความคิดเห็นว่า มีการวางแผนและเตรียมตัวในการลดความสูญเสีย เช่น ย้ายบ้านให้ห่างจากริมน้ำ และถมดินให้สูงขึ้น เป็นต้น จำนวน 13 คน ภาครัฐต้องช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องและจริงจัง และต้องการให้ทางรัฐบริหารจัดการน้ำได้ดีขึ้น เช่น ทำผนังกั้นน้ำลำน้ำชี เป็นต้น จำนวน 11 คน ร่วมแสดงความคิดเห็นช่วยกันแก้ไขปัญหา ติดตามข่าวสารบ้านเมืองอยู่เสมอ จำนวน 11 คน ร่วมกับคนในหมู่บ้านเฝ้าระวัง ดูเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนและแจ้งให้คนในหมู่บ้านทราบ จำนวน 10 คน และร่วมกับชุมชนปลูกป่า และถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังช่วยกันรักษาป่า จำนวน 5 คน            ด้านการแสวงหาทางเลือกใหม่เพื่อบรรเทาความรุนแรงพบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์มีความคิดเห็นว่าไม่ย้ายถิ่นฐานไปที่ใหม่ เนื่องจากอยู่อาศัยมาตั้งแต่เกิด และไม่มีเงินทุนเพียงพอ จำนวน 22 คน นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น จำนวน 19 คน รัฐควรลดค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตร พยายามปรับปรุงพันธุ์พืชที่มีให้ผลผลิตสูงสุด จำนวน 18 คน ให้มีการอบรม การผลิต แปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อให้ขายนอกฤดูกาล จำนวน 16 คน พัฒนารายได้ ให้มีอาชีพเสริม นอกเหนือจากการทำเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน จำนวน 16 คน ขอความช่วยเหลือจากภาครัฐในการทำเกษตรให้มากกว่านี้ และทำเป็นตัวอย่างอย่างเป็นรูปธรรม จำนวน 13 คน สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อต่อรองราคาผลผลิตทางการเกษตร จำนวน 11 คน และกำลังหาสถานที่เพื่อย้ายถิ่นฐานไปที่ใหม่ จำนวน 5 คน            จากการสัมภาษณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์ได้มีการให้ข้อเสนอแนะการป้องกันและบรรเทาความรุนแรงจากอุทกภัย เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบการวางแผนการฝึกอบรม ให้ความรู้แก่ประชาชนตลอดจนสามารถนำไปพัฒนาเป็นนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ประชาชน ดังนี้                1) การเตรียมการรับมือกับน้ำท่วมล่วงหน้าโดยไม่ต้องรอให้เกิดเหตุ เช่น การแจกทรายและกระสอบควรดำเนินการโดยเร่งโดยไม่ต้องรอให้น้ำท่วมก่อนถึงจะดำเนินการ ซึ่งไม่ทันการณ์และเกิดขาดแคลนเมื่อเกิดภาวะน้ำท่วมขึ้น                2) มีการวางแผนงาน การระดมความคิดเห็นจากประชาชนหรือการศึกษาดูงานในการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งจะทำให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี                3) ควรมีการจัดการระบบเหมืองฝาย เช่น การเปิดปิดประตูน้ำ การดูแลบำรุงรักษาเหมืองฝาย ให้อยู่ในการดูแลของคนที่อยู่ในพื้นที่                4) ลงมือปฏิบัติโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเหตุอุทกภัยก่อนฤดูฝน เช่น การสร้างคันกั้นตลิ่งพัง การซ่อมแซมเหมืองฝาย การขุดลอกคูคลอง เป็นต้น จะทำให้ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ถึงแม้จะไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้แต่ลดผลกระทบก็เพียงพอ                5) ควรมีโครงการก่อสร้างที่สามารถป้องกันการพังทลายของตลิ่งลำน้ำชีได้ เช่น การเรียงหิน การสร้างถนนเลียบลำน้ำชี หรือการสร้างอ่างเก็บน้ำหรือแก้มลิงผันน้ำชีที่สามารถเก็บน้ำได้ในกรณีที่น้ำหลากมามากและสามารถนำกลับมาใช้ในฤดูแล้ง                6) หากไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ ควรจัดหาที่อยู่อาศัยใหม่ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมกัดเซาะที่ดิน และมีโครงการในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่ำให้ยกสูงพ้นจากระดับน้ำท่วม
Description: Master of Political Science Program in Politics and Governments (M.Pol.Sci.)
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/245
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57011380005.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.