Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2458
Title: ISAN Percussion Instruments in The Musical Cultural Dimension of The 21st Century
เครื่องกระทบดนตรีอีสานในมิติทางวัฒนธรรมการดนตรีแห่งศตวรรษที่ 21
Authors: Watchara Homhuan
วัชระ หอมหวล
Peerapong Sensai
พีรพงศ์ เสนไสย
Mahasarakham University
Peerapong Sensai
พีรพงศ์ เสนไสย
zucczezz.7@gmail.com
zucczezz.7@gmail.com
Keywords: เครื่องกระทบดนตรีอีสานในศตวรรษที่ 21
รูปแบบจังหวะของเครื่องกระทบดนตรีอีสาน
คลื่นเสียงและความถี่เสียงของเครื่องกระทบดนตรีอีสาน
Viva of River งานวิจัยสร้างสรรค์
Isan percussion instruments in the 21st century
Rhythm patterns of Isan percussion instruments
Sound waves and Sound frequency of Isaan percussion instruments
Creative Research of Viva of River
Issue Date:  8
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research was qualitative and creative research conducting by Ethnomusicology. The purposes of this research were to 1) investigate roles and emphasis of Isan percussion instruments, and cultural contexts, 2) study the styles of rhythms and sounds of Isan percussion instruments, and 3) create Isan percussion instruments work in the 21st century. The results of the study indicated that 8 types of percussion instruments from the cultural group play an important role in tradition, culture, and belief of Isan people in which the Isan percussion instruments bore importantly because they manifested us the flashback that the ancients created the entertainment culture for Isan people. The styles of rhythm and sounds of the 8 Isan percussion instruments were as follows: Ton Korat with its 5 rhythm and sound styles in Mahoree play; Glong Kan Treum or Sa Kuan with its 10 rhythm styles in the play which the names of each of them came from songs with 2 sound styles; Glong Seng with its 1 rhythm and 1 sound styles; Glong Tum and Phang Haad with their 3 rhythm and 1 sound styles respectively through Isan folk dance; Glong Teung and Glong Harng with its 14 rhythm and 3 sound styles through the antient tom-tom of Sil Isan in unobvious names; Mak Kub Kab with its 7 rhythm styles in the frequency of percussion instruments and with 3 sounds styles: short wooden sound, long wooden sound, and Kub Kab sound. Through the piece of creative work of Isan percussion instruments in the 21st century, the researcher used principles and forms of creative work and designed the series of the shows: Viva of River,  Khong  Chee  Mool: The Miracle of Isan divided into 4 parts were 1) Hom Rong, 2) Khong, the story of Na thee Si Than Dorn, 3) Chee, the queen of river, and 4) Mool, the brotherhood of the land. All mentioned pieces of work were presented as Percussion Symphony Orchrestra in ISAN Style. From the study and description above, Isan percussion instruments bear in music cultural dimensions in the 21 century that it indicates the era of integration of art and cultural ancestry with current technology for innovative production of Isan folk instruments. Isan percussion instruments symbolize creative thinking for Isan folk compositions on integration and combination of culture and development with new procedures that stay worth for education as well as the model of music creation as value creation. Furthermore, the study appears beneficial for people, economy, and society affecting on composing and using research methodology to others and leaners who engage in music that they are able to further in commercial way or music production.
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพและงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์  โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยาการดนตรี  โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ  1.เพื่อสำรวจ บทบาท ความสำคัญ ของเครื่องกระทบในดนตรีอีสานและบริบททางวัฒนธรรม  2.เพื่อศึกษารูปแบบจังหวะและรูปแบบเสียงของเครื่องกระทบดนตรีอีสาน  และ  3.เพื่อสร้างสรรค์ผลงานเครื่องกระทบดนตรีอีสานแห่งศตวรรษที่  21  ผลการศึกษาพบว่า เครื่องกระทบทั้ง 8 ชนิด  จาก  3 กลุ่มวัฒนธรรม  ล้วนแล้วแต่มีบทบาท และความสำคัญทั้งทางด้าน ประเพณีวัฒนธรรม  และความเชื่อ  ของชาวอีสาน  และเครื่องกระทบจังหวะพื้นบ้านอีสานเป็นสิ่งสําคัญเพราะช่วยให้เรามองย้อนกลับไปที่วัฒนธรรมที่บรรพบุรุษอีสานของเราในการรังสรรค์วัฒนธรรมบันเทิงของชาวอีสาน รูปแบบจังหวะและรูปแบบเสียงของเครื่องกระทบทั้ง 8 ชนิด  คือ  โทนโคราช  รูปแบบจังหวะที่ใช้บรรเลงในวงมโหรีโคราชมีทั้งหมด  5  รูปแบบจังหวะ  รูปแบบเสียงของโทนโคราช  กลองกันตรึม หรือ สก็วล  รูปแบบจังหวะที่ใช้บรรเลงในวงกันตรึมมีทั้งหมด  10  รูปแบบจังหวะ  ซึ่งแต่ละรูปแบบมาจากชื่อเพลงในการบรรเลงโดยรูปแบบเสียงของกลองกันตรึมหรือสก็วล  มีทั้งหมด  2  เสียง  กลองเส็ง  รูปแบบจังหวะที่ใช้บรรเลงกลองเส็งในการ  เส็งกลอง  มีอยู่ 1 รูปแบบ  แต่ก็ไม่ตายตัวเสมอไป รูปแบบเสียงของกลองเส็ง  มีอยู่ 1  เสียง  กลองตุ้ม  และ  พางฮาด  รูปแบบจังหวะของฟ้อนกลองตุ้มมีทั้งหมด  3  รูปแบบ  โดยรูปแบบเสียงของกลองกลองตุ้ม  มีอยู่  1  เสียง  ส่วนรูปแบบเสียงของพางฮาด  มีอยู่  1  เสียง  กลองตึ้ง  และกลองหาง  รูปแบบจังหวะกลองยาวโบราณของวงกลองยาวศิลป์อีสานมีทั้งหมด  14  จังหวะซึ่งชื่อเรียกของจังหวะต่าง ๆ ไม่มีได้มีระบุไว้อย่างชัดเจนตามลำดับ  โดยรูปแบบเสียงของกลองกลองตึ้ง  มีอยู่ทั้งหมด  3  เสียง หมากกั๊บแก๊บ  รูปแบบจังหวะมีทั้งหมด  7  รูปแบบ  ทางด้านความถี่เสียงของเครื่องกระทบทั้ง  โดยรูปแบบเสียงมีเสียงทั้งหมด  3  เสียง  ได้แก่ เสียงไม้สั้น เสียงไม้ยาว  และเสียงกั๊บแก๊บ  ผลงานสร้างสรรค์เครื่องกระทบดนตรีอีสานแห่งศตวรรษที่  21  ผู้วิจัยได้ออกแบบผลงาน สร้างสรรค์ ชุด  Viva of River  ,  Khong  Chee  Mool : The Miracle of Isan  แบ่งรูปแบบการนำเสนอ  ออกเป็น  4  องค์  คือ  องค์ที่  1  โหมโรง  องค์ที่  2  “โขง”  ปกรณัมแห่งนทีสีทันดร  องค์ที่  3  “ชี”  ราชินีแห่งสายน้ำ  และ  องค์ที่  4  “มูล”  ภารดรภาพแห่งแผ่นดิน  โดยผู้วิจัยได้ใช้หลักการสร้างสรรค์  และรูปแบบการสร้างสรรค์ผลงาน  และได้นำเสนอเป็น Percussion Symphony Orchrestra in ISAN Style จากการศึกษาและพรรณนาความข้างต้น เครื่องกระทบดนตรีอีสานในมิติทางวัฒนธรรมแห่งการดนตรีศตวรรษ์ที่ 21  ในงานวิจัยฉบับนี้ ยุคสมัยแห่งการบูรณากรรเชื่อมโยงรากเหง้าทางศิลปวัฒนธรรมผสานกับวิทยาการเทคโนโลยีแห่งปัจจุบันกาลเพื่อสร้างนวัตกรรมด้านดนตรีพื้นบ้านอีสาน : เครื่องกระทบจังหวะ (Folk Musical and Innovation : Percussion) ซึ่งหมายถึง การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อประพันธ์ดนตรีพื้นบ้านอีสานประเภทเครื่องกระทบจังหวะสู่การบูรณาการ การผสมผสานวัฒนธรรม และการพัฒนา ด้วยกระบวนการใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ต่อการศึกษา รวมทั้งเป็นแนวทางเพื่อการสร้างสรรค์ดนตรีในเชิงเการตลาดคุณค่า (Value Creation) และมีประโยชน์ต่อผู้อื่น เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเมื่อมีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อผู้เรียน ต่อผู้ปะกอบการทางดนตรี และผู้ฟังดนตรีทั่วไป ซึ่งอาจจะเป็นแนวทางการต่อยอดด้านการประพันธ์เพลงและการใช้ระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งผลงานดังกล่าวจะสามารถขยายผลต่อได้เชิงพาณิชย์ หรือขายงานสร้างสรรค์ทางดนตรีได้
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2458
Appears in Collections:College of Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62012060001.pdf29.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.