Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2472
Title: Plant Species Diversity and Utilization and Microbial Diversity in Kok Nong Pok Community Forest in Kosumphisai District, Maha Sarakham Province  
ความหลากชนิดและการใช้ประโยชน์ของพืช และความหลากหลายของจุลินทรีย์ ในป่าชุมชนโคกหนองพอก   อำเภอโกสุมพิสัย  จังหวัดมหาสารคาม                  
Authors: Narin Saisor
นรินทร์ สายซอ
Preecha Prathepha
ปรีชา ประเทพา
Mahasarakham University
Preecha Prathepha
ปรีชา ประเทพา
preecha.p@msu.ac.th
preecha.p@msu.ac.th
Keywords: ความหลากชนิด
พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน
จังหวัดมหาสารคาม
ความหลากหลายของจุลินทรีย์
Species diversity
Ethnbotany
Mahasarakham Province
Microbial Diversity
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Study of plant diversity, uses and diversity of microorganisms In the Khok Nong Phok community forest Kosum Phisai district, Maha Sarakham province from 20 sample plots and 10x10 meter in each plot, 41 families, 89 genera, 93 species of the sample have been found. The dominant plants were plants of the dipterocarp forest, such as Xylia xylocarpa (Roxb.) Taub., Shorea obtusa Wall. ex Blume, Shorea siamensis Miq., Dipterocarpus tuberculatus Roxb. and D. obtusifolius Teijsm. ex Miq. of all the plants, they can be classified as follows. 13 families, 27 genera, 29 species were found in the top five most important or important plant species: Shorea obtusa Wall. Ex Blume, Xylia xylocarpa (Roxb.) Taub., Dipterocarpus tuberculatus Roxb., Sindora siamensis Miq., Pterocarpus macrocarpus Kurz. The small tree plants were found in 11 families, 26 genera, 29 species. The top five were the dominant or most important young plants, namely Shorea obtusa Wall. ex Blume, Xylia xylocarpa (Roxb.) Taub., Ellipanthus tomentosus Kurz. Grewia eriocarpa Juss., Diospyros castanea Fletcher. The underground plants were found 40 families, 68 families, 77 species. The most common family number was nine species of pea family (FABACEAE), followed by 7 species of family grass family (MALVACEAE) and five species of grass family (POACEAE). The highest frequency was Polyalthia debilis Finet & Gagnep., Chromolaena odorata (L.) RMKing & H.Rob. and Vietnamosasa pusilla (A. Chev. & A. Camus) TQ. Nguyen), respectively. Utilization index found the most seem with UV value of 2.17. 50 plants were found for food, found the family that used for food the most was the pea family (Fabaceae), 6 parts were used as food: head, stem (core, bark, vines and shoots), leaves, shoots, flowers and fruit ( seed). There are 13 groups of therapeutic plants, and 69 types of plants have been used to treat diseases, most of which are used to treat symptoms related to the digestive system, such as pain in the stomach, hemorrhoids, bloating, and flatulence. 42 species of plants that are used in this field are commonly used for housing, utensils and fuel, including stems (bark and vines) and leaves. The study of the pH value, temperature, light intensity of the soil during summer and rainy season were studied. The diversity of bacteria from soil samples was studied during the summer and the rainy season. The results of the study, the Bacillus genus are the most prominent genus. The results of this study showed that the seasons had an effect on changing the amount of mold microorganisms in the soil of Khok Nong Phok forest, Kosum Phisai district, Maha Sarakham province. The study can also be used as a guideline for the conservation of mold diversity. This also includes utilization of fungi in biological control of plant diseases, or it may be able to utilize effective mold separation and selection in promoting plant growth for use in forest restoration and agriculture in the future.
การศึกษาความหลากชนิดและการใช้ประโยชน์ของพืช และความหลากหลายของจุลินทรีย์ ในป่าชุมชนโคกหนองพอก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โดยการทำแปลงตัวอย่างขนาด 10x10 เมตร จำนวน 20 แปลงตัวอย่าง พบจำนวนพืช จำนวน 41 วงศ์ 89 สกุล 93 ชนิด พรรณไม้เด่นเป็นพรรณไม้ของป่าเต็งรัง เช่น แดง เต็ง รัง พลวง เหียง จากพรรณไม้ทั้งหมดสามารถจำแนกได้ ดังนี้ พรรณไม้ใหญ่ พบจำนวน 13 วงศ์ 27 สกุล 29 ชนิด พบพรรณไม้ใหญ่ที่เด่นหรือมีความสำคัญ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เต็ง (Shorea obtusa Wall. ex Blume)  แดง (Xylia xylocarpa (Roxb.) Taub.) พลวง (Dipterocarpus tuberculatus Roxb.) มะค่าแต้ (Sindora siamensis Miq.) ประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus Kurz) พรรณไม้หนุ่ม พบจำนวน 11 วงศ์ 26 สกุล 29 ชนิด พบพรรณไม้หนุ่มที่เด่นหรือมีความสำคัญสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ เต็ง (Shorea obtusa Wall. ex Blume) แดง (Xylia xylocarpa (Roxb.) Taub.) ตานกกด (Ellipanthus tomentosus Kurz) ปอแก่นเทา (Grewia eriocarpa Juss.) และตะโกพนม (Diospyros castanea Fletcher) พรรณไม้พื้นล่าง พบจำนวน 40 วงศ์ 68 สกุล 77 ชนิด จำนวนวงศ์ที่พบมากที่สุด คือ วงศ์ถั่ว (FABACEAE) จำนวน 9 ชนิด รองลงมา คือ วงศ์ปอ (MALVACEAE) จำนวน 7 ชนิด วงศ์หญ้า (POACEAE) จำนวน 5 ชนิด ชนิดที่มีความถี่มากที่สุด คือ ก้นครก (Polyalthia debilis Finet & Gagnep.) รองลงมา คือ สาบเสือ (Chromolaena odorata (L.) R.M. King & H. Rob.) และ เพ็ก (Vietnamosasa pusilla (A. Chev. & A. Camus) T.Q. Nguyen) ตามลำดับ ดัชนีการใช้ประโยชน์ พบมีการใช้ สะเดา มากที่สุด มีค่า UV เท่ากับ 2.17 พบใช้พืชเป็นอาหาร 50 ชนิด พบวงศ์ที่นำมาเป็นพืชอาหารมากที่สุดคือ วงศ์ถั่ว (Fabaceae) ส่วนที่นำมาใช้เป็นอาหารมี 6 ส่วน คือ หัว ลำต้น (แก่น เปลือก เถา และหน่อ) ใบ ยอดอ่อน ดอก และผล (เมล็ด) พบมีการใช้พืชรักษาโรคจำนวน 13 กลุ่มอาการ พบว่าได้นำพืชมาใช้ในการรักษาโรคจำนวน 69 ชนิด ส่วนใหญ่นำมารักษาอาการที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร (Digestive system) เช่น อาการเจ็บท้อง ริดสีดวง ขับลม ท้องอืดท้องเฟ้อ พรรณไม้ที่นำมาใช้ประโยชน์ด้านนี้ 42 ชนิด นิยมนำมาทำที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ และเป็นเชื้อเพลิง ได้แก่ ลำต้น (เปลือก และเถา)  และ ใบ ได้มีการศึกษาค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)  ค่าอุณหภูมิ   ค่าความเข้มแสง (Light intensity) ของดินในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน  มีการศึกษาความหลากหลายของแบคทีเรียจากตัวอย่างดินในช่วงฤดูร้อน และช่วงฤดูฝน จากผลการศึกษาแบคทีเรียสกุล Bacillus เป็นแบคทีเรียสกุลที่เด่นที่สุด ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าฤดูกาลมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณจุลินทรีย์กลุ่มราในพื้นดินของป่าโคกหนองพอก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม  การศึกษานี้ยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการอนุรักษ์ความหลากหลายของรา  รวมไปถึงการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์กลุ่มราในการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีหรืออาจสามารถใช้ประโยชน์ในการแยกและคัดเลือกราที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญของพืชเพื่อใช้ประโยชน์ในการฟื้นฟูป่าและการเกษตรในอนาคตได้
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2472
Appears in Collections:Walai Rukhavej Botanical Research Institute

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60016660001.pdf12.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.