Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2474
Title: Montien Boonma: Representation of the Local and Thai-ness in International Contemporary Art
มณเฑียร บุญมา: ภาพตัวแทนท้องถิ่นและความเป็นไทยในศิลปะร่วมสมัยสากล
Authors: Worathep Akkabootara
วรเทพ อรรคบุตร
Metta Sirisuk
เมตตา ศิริสุข
Mahasarakham University
Metta Sirisuk
เมตตา ศิริสุข
sakboworn.t@msu.ac.th
sakboworn.t@msu.ac.th
Keywords: มณเฑียร บุญมา
ศิลปะร่วมสมัยสากล
ท้องถิ่นนิยม
ศิลปะสื่อประสม
Montien Boonma
international contemporary art
localism
mixed-media art
Issue Date:  29
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:               Thesis titled Montien Boonma: Representation of the Local and Thai-ness in International Contemporary Art aims to study the mixed media art of the artist. It focuses in the life and works of the artist, Montien Boonma (1953-2000) whom pioneered the mixed-media art and installation. This study applied qualitative research covered the key informants who were closely connected and familiar with Montien, along with an informal observations through several contemporary art exhibitions from the artist personal archive stored at Montien atelier and museum’s permanent collection. The main objectives of this research includes               1. Study of life-history, background and development of the artist’s works.               2. Study of Montien Boonma’s work as representation of the local and Thai-ness.               3. Study the representations by Montien Boonma’s work interacted to the international contemporary art. The research conducted by two approaches to apply as the study framework are the representation and local identity.    The result found the artist uses his experience to reflect personal attitudes towards nature and society’s transformation, which was influenced by tense contradiction of the rural society transformed into industrial-capitalist mode of production. The works reflected his tension by using the mixture of material that ubiquitously appeared and consumed in order to represent the urban outskirt that was engulfed by modernization and globalization that superseded or eroded local values and custom. His works appropriated in the form of local craftworks, pagoda, archeological sanctuary to portray such phenomenon. The later years of his life, Montien's works were internationally recognized as his works re-interpreted and criticized the dissolution of local beliefs. Disregarding the successful art style that reproduced the national canon or high art, his works could communicate in line with the global issues including environmental and cultural crisis that triggered by interaction between local tradition, spiritualism - which are motivated by many transforming factor such as consumerism and industrialization. By analyzing Montien’s work and life, also shows that they help to heal his doubt and suspicious, also provided him with the answer. The medium or material he used were also related to his economic condition. The use of local medium and material both reflected his self and demonstrated that the artist had successfully intermingled between his work and life. The artist’s creation as representation can cut across ethnic, language and belief frontiers, because of its potential to convey both local issue whereas induce international recognition.
วิทยานิพนธ์ เรื่อง มณเฑียร บุญมา: ภาพตัวแทนท้องถิ่นและความเป็นไทยในศิลปะร่วมสมัยสากล  เป็นการศึกษาผลงานศิลปะของมณเฑียร ในฐานะภาพตัวแทนของท้องถิ่น  ที่กระตุ้นให้เกิดการทบทวน และสานต่อองค์ความรู้ เพื่อทำความเข้าใจศิลปะซึ่งถูกประกอบสร้างขึ้นจากบุคคล  ความเชื่อ และภูมิปัญญาดั้งเดิมที่เป็นส่วนหนึ่งของท้องถิ่นให้ปรากฏในงานศิลปะร่วมสมัยในระดับชาติและนานาชาติ  ซึ่งผลงานศิลปะร่วมสมัยของมณเฑียรได้ทำหน้าที่เป็นภาพสะท้อนด้านหนึ่งในปรากฏการณ์ ที่มีปฏิสัมพันธ์ภายในท้องถิ่น แต่ขณะเดียวกันยังเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะร่วมสมัยสากลในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ยังมีความเข้มข้น  ซึ่งมีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้   1 ศึกษาประวัติศาสตร์ชีวิต ความเป็นมา และพัฒนาการในการสร้างสรรค์ศิลปะสื่อผสมของมณเฑียร บุญมา 2 ศึกษาผลงานศิลปะสื่อผสมของมณเฑียร บุญมา ในฐานะภาพตัวแทนท้องถิ่นกับความเป็นไทย 3 ศึกษาผลงานศิลปะสื่อผสมของมณเฑียร บุญมา ในฐานะภาพตัวแทนท้องถิ่นไทย ที่มีปฏิสัมพันธ์กับศิลปะร่วมสมัยสากล การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แนวคิด ภาพตัวแทน และอัตลักษณ์ท้องถิ่น  เป็นกรอบในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางศิลปะที่มีความเชื่อมโยงระหว่างท้องถิ่น ชาติและความเป็นสากล โดยศึกษาผ่านตัวศิลปินและผลงานศิลปะของมณเฑียร  ดำเนินการศึกษาโดยเก็บรวบรวมข้อมูลภาคเอกสาร  สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับศิลปิน ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ รวมถึงศึกษาผลงานศิลปะของมณเฑียร บุญมาที่ปรากฏในแหล่งอ้างอิง  รวมถึงพื้นที่แสดงงานศิลปะต่างๆ  สรุปวิเคราะห์ อภิปรายผลผ่านการเขียนพรรณาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า มณเฑียร  บุญมาใช้ประสบการณ์ดำเนินชีวิต เพื่อสะท้อนมุมมองตนเองต่อธรรมชาติและสังคม ผลงานของมณเฑียร เป็นผลจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ที่ทำให้เกิดความตึงเครียดและขัดแย้งจากพื้นฐานประเพณี ชนบทและวิถีเกษตรกรรมมาเป็นทุนนิยม อุตสาหกรรม โดยศิลปินใช้รูปทรงและวัสดุที่เป็นตัวแทนวิถีการดำรงชีวิตของชุมชนท้องถิ่นที่ยังพึ่งพาและใกล้ชิดธรรมชาติ  สื่อผสมเปิดโอกาสให้ผสมผสานทดลองวัสดุ เพื่อสื่อถึงการเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่น ตามหัวเมืองใหญ่ที่การรุกคืบของความทันสมัยหรือโลกาภิวัตน์เข้ามาแทนที่ หรือชะล้างรากฐานของความเชื่อหรือประเพณีท้องถิ่น โดยผลงานสื่อผสมของเขาเสนอภาพแทนของภูมิปัญญาเก่าแก่ ได้แก่ รูปทรงจากงานหัตกรรม เจดีย์ หรือศานสถานโบราณ มาเป็นสื่อเสนอขบวนการความคิด  ในช่วงท้ายของการใช้ชีวิตและการทุ่มเททำงานอย่างหนักจนกระทั่งได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ  ผลงานของมณเฑียรสามารถตีความและนำเสนอความเชื่อท้องถิ่น โดยไม่จำเป็นต้องอ้างอิงอุดมคติชั้นสูงของศิลปะประจำชาติ เพื่อสื่อสารถึงประเด็นร่วมระดับโลก ได้แก่ วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม อันเป็นผลจากกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเพณี ความเชื่อด้านจิตวิญญาณ ใต้กระแสความเปลี่ยนแปลงที่แผ่ขยายด้วยอิทธิพลจากกระแสบริโภคนิยมและอุตสาหกรรม  จากการศึกษาประวัติ และศิลปะสื่อผสมของมณเฑียร เขายังใช้ศิลปะเพื่อเยียวยาความกังวลสงสัย และค้นหาคำตอบให้กับการดำเนินชีวิต สื่อวัสดุที่เขาเลือกใช้ยังสอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจของตน จึงนับว่าศิลปะของเขาทั้งสะท้อนตัวตน และผสานการสร้างสรรค์ให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต การสร้างผลงานในฐานะภาพตัวแทนดังกล่าวยังสามารถสื่อสารข้ามขีดจำกัดด้านความเชื่อ ภาษาและชาติพันธุ์ เนื่องจากผลงานเสนอความเป็นท้องถิ่น พร้อมกับสื่อสารในประเด็นที่เป็นสากลไปพร้อมกัน  การศึกษาแสดงให้เห็นปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผลงานสร้างสรรค์ของศิลปินจากท้องถิ่น ที่สร้างปฏิสัมพันธ์ไปยังเวทีศิลปะร่วมสมัยในระดับสากล ซึ่งเป็นประโยชน์และแนวทางสำคัญในการสร้างสรรค์ศิลปะทั้งต่อสังคมและวงวิชาการด้านศิลปะต่อไป
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2474
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010651002.pdf13.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.