Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2476
Title: | The Potential Development of Cultural Tourism Sites by Community Participation in Nakorn Champasri การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตนครจัมปาศรี |
Authors: | Jariya Sikongple จริยา สีกงพลี Sithisak Jupadang สิทธิศักดิ์ จำปาแดง Mahasarakham University Sithisak Jupadang สิทธิศักดิ์ จำปาแดง sitthisak.c@msu.ac.th sitthisak.c@msu.ac.th |
Keywords: | นครจัมปาศรี แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว Nakhon Champasri Cultural attraction Tourism Management Tourism development |
Issue Date: | 1 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Cultural tourism is a source of income for the community. This research aims to study the background, current conditions, problems, and management and potential development of cultural attractions through community participation. The study was conducted using qualitative research methods, collected from documents and field studies with observations, interviews, group discussions. and operating meetings From the group of informants consisted of knowledge group, practice group and general public groups, Data were analyzed according to objectives and presented research results by analytical method.
The results of the research showed that 1) Champasri tourist attraction There are historical developments divided into 5 eras: Prehistoric, Dvaravati, Khmer Empire, The founding of the Thai-Lao community. The 8 major tourist attractions are: Pratatnaun, Walailukkhawet Park, Ban Isan Museum, Ku Santarat Local Museum, Ku Santarat archaeological site, millennium market in Nakhon Champasri, holy well,Sala Nang Khao archaeological site,and the ancient Ku Noi. 2) Current conditions and problems of tourist attractions, it was found that: 8 places have unsystematic development, resulting in tourist resource problems, organizational Management learning and budget.
3) Guidelines for management and potential development of cultural attractions by community participation found that: 3.1) Determine potential development plans in 5 areas, namely, tourism resources, organization, and management. learning and budget in line with the strategy to promote tourism in Thailand.3.2) Development of tourist attraction facilities to meet the standards, It is a facility that is clean, beautiful, safe, and reasonably priced, which consists of Accommodation should have restaurants, souvenirs, routes to tourist attractions. tourist service point Area access information and basic utilities.
The conclusion of this research will be useful. It is the basic information for the public and private sectors to use as. Development guidelines by using cultural roots resources to the process of creating a common sense to develop economy,society, culture and environment to be stable and sustainable. การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน งานวิจัยนี้กำหนดความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเป็นมา สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการจัดการและการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ศึกษาโดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพรวบรวมจากเอกสารและภาคสนามด้วยการสังเกต สัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการประชุมปฏิบัติการ จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มประชาชนทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์นำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรนณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) แหล่งท่องเที่ยวนครจัมปาศรี มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น 5 ระยะ คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคทวาร อาณาจักรขอม ยุคก่อตั้งชุมชนไทยลาว แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ 8 แห่ง ได้แก่ พระบรมธาตุนาดูน สวนวลัยรุกขเวชพิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกู่สันตรัตน์ โบราณสถานกู่สันตรัตน์ ตลาดต้องชมพันปีนครจัมปาศรี บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ โบราณสถานศาลานางขาว และโบราณสถานกู่น้อย 2) สภาพปัจจุบันและปัญหาของแหล่งท่องเที่ยว พบว่า เกิดจากการพัฒนาสถานที่สำคัญให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใน มาผนวกกับแหล่งโบราณสถาน และสถานที่อื่น ๆที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 แห่ง มีปัญหาด้านทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว ด้านองค์กร ด้านการจัดการ ด้านการเรียนรู้ และด้านงบประมาณ 3) แนวทางการจัดการและการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า 3.1) กำหนดแผนพัฒนาศักยภาพ 5 ด้าน คือ ด้านทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว ด้านองค์กร ด้านการจัดการ ด้านการเรียนรู้ และด้านงบประมาณ โดยสอดรับยุทธศาสตร์ส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทสไทย และ 3.2) การพัฒนาสิ่งอำนวยสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน คือสิ่งอำนวนความสะดวก สะอาด สวยงาน ปลอดภัย และราคาเหมาะ อันประกอบไปด้วย ที่พักควรมีร้านอาหาร ของที่ระลึก เส้นทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว จุดบริการนักท่องเที่ยว ข้อมูลการเข้าถึงพื้นที่และสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน สรุปผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับภาครัฐ เอกชน ที่จะใช้เป็นแนวทางการพัฒนาโดยนำทรัพยากรรากเหง้าทางวัฒนธรรม สู่กระบวนการสร้างสำนึกร่วม เพื่อพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ให้มั่นคงยั่งยืนสืบไป |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2476 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61012160009.pdf | 6.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.