Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/248
Title: The Effectiveness of a Cushion to Reduce Fatigue from Sitting Work in Department of Detergent Fold in Community Hospitals in Sisaket Province
ประสิทธิผลของการใช้เบาะรองนั่งเพื่อลดอาการเมื่อยล้าจากการนั่งทำงานแผนกซักฟอกในส่วนของการพับผ้าในโรงพยาบาลชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ 
Authors: Wilaiporn Srisaman
วิลัยภรณ์  ศรีสมาน
Kallaya Harnpicharnchai
กัลยา หาญพิชาญชัย
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: ประสิทธิผลของเบาะรองนั่ง
กรดแลคติกในเลือด
Effectiveness of cushion
Lactic acid in blood
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study was a quasi-experimental study. Quasi-Experimental Research: One Group Pretest Posttest Design Because there are limits on the number of samples There are not enough numbers in the control group. To study the effectiveness of seat cushioning to reduce fatigue from working in the laundry section of the community in the community hospital in Sisaket province. A total of 52 randomly selected samples were evaluated for RULA posture. Awareness of ergonomic posture and blood donation for acid value The blood was analyzed for 2 times before and after sitting for 2 hours before and after using the cushion. Subsequently, a 5-week follow-up was performed for the cushion, seat cushion, and ergonomics. Then compare the values ​​to see the difference between the cushioning and the cushion The study found that Based on the RULA's performance evaluation, workers were at a high risk level of 3. The workload was problematic. Should further study and should improve. Most of the sitting posture is in the wrong posture, resulting in fatigue. From the problem, the cushion is applied to adjust the posture to sit correctly according to the principles to reduce fatigue. The overall satisfaction level was 3.75 and the lactic acid content was 1.04 ± 0.256 mol / L. After 2 hours of continuous work, the average lactic acid content was 2.10 ± 0.199 mmol / L. After using the cushion, the lactic acid content before sitting was 0.98 ± 0.213 mol / L. After two consecutive hours of work, the average lactic acid content was 1.59 ± 0.205 mmol / L. When testing the difference in lactic acid levels in the blood before upholstery and after using the cushion, the t-test was significantly different (p-value <0.000)
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบ 1 กลุ่ม วัดก่อนและหลัง (One Group Pretest Posttest Design) เนื่องจากมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งมีจำนวนไม่มากพอในการจัดกลุ่มควบคุม เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้เบาะรองนั่งเพื่อลดอาการเมื่อยล้าจากการนั่งทำงานของผู้ปฏิบัติงานในแผนกซักฟอกในส่วนของการพับผ้าในโรงพยาบาลชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 52 คน ได้รับการประเมินท่าทางการทำงานด้วยวิธีการ RULA การให้ความรู้เกี่ยวกับการนั่งทำงานด้วยท่าทางที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์และการเจาะเลือดเพื่อนำค่ากรดแลคติกในเลือดมาวิเคราะห์หาค่าความเข้มข้น 2 ครั้ง โดยเจาะเลือดก่อนการนั่งทำงานและหลังการนั่งทำงานติดต่อกัน 2 ชั่วโมง ก่อนและหลังการใช้เบาะรองนั่ง หลังจากนั้นติดตามกลุ่มตัวอย่างนำเบาะรองนั่งและความรู้เกี่ยวกับท่าทางการนั่งทำงานที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ไปปฏิบัติเป็นเวลา 5 สัปดาห์ แล้วนำค่ามาเปรียบเทียบเพื่อดูค่าความแตกต่างระหว่างการนำเบาะรองนั่งมาใช้และประเมินความพึงพอใจของเบาะรองนั่ง การศึกษาพบว่า จากการประเมินท่าทางการทำงานด้วยวิธี RULA พบผู้ปฏิบัติงานมีค่าความเสี่ยงค่อนข้างสูงในระดับ 3 คือภาระงานนั้นเริ่มมีปัญหา ควรทำการศึกษาเพิ่มเติมและควรรีบปรับปรุง ซึ่งลักษณะท่าทางการนั่งทำงานส่วนมากอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมส่งผลให้เกิดอาการเมื่อยล้าตามมา จากปัญหาได้นำเบาะรองนั่งมาปรับใช้เพื่อปรับเปลี่ยนท่าทางการนั่งให้ถูกต้องตามหลักการยศาตร์เพื่อลดความเมื่อยล้า พบว่ามีความพึงพอใจต่อเบาะโดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย 3.75 และพบว่ามีค่ากรดแลคติกก่อนการนั่งทำงานเฉลี่ย 1.04±0.256 มิลลิโมลต่อลิตร หลังการนั่งทำงานติดต่อกัน 2 ชั่วโมงมีค่ากรดแลคติกเฉลี่ย 2.10±0.199 มิลลิโมลต่อลิตร หลังการใช้เบาะรองนั่งมีค่ากรดแลคติกก่อนการนั่งทำงานเฉลี่ย 0.98±0.213 มิลลิโมลต่อลิตร หลังการนั่งทำงานติดต่อกัน 2 ชั่วโมงมีค่ากรดแลคติกเฉลี่ย 1.59±0.205 มิลลิโมลต่อลิตร เมื่อทำการทดสอบความแตกต่างของระดับกรดแลคติกในเลือดก่อนการใช้เบาะและหลังการใช้เบาะรองนั่ง โดยทดสอบค่า t (t-test) พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.000) 
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/248
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56011489017.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.