Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2483
Title: The dramatic  in the Sommanam-Khuenphengpratheep  Roi-Et providence
นาฏกรรมในขบวนแห่ประเพณีสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป จังหวัดร้อยเอ็ด
Authors: Paramet Moonpim
ปารเมศ มูลพิมพ์
Ourarom Chantamala
อุรารมย์ จันทมาลา
Mahasarakham University
Ourarom Chantamala
อุรารมย์ จันทมาลา
ourarom.c@msu.ac.th
ourarom.c@msu.ac.th
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:            The research aimed to study the organization patterns and the performing arts in the procession of the Somma Nam Khuen Pheng Seng Pratip Festival in Roi-Et province. The instruments used were observation and unstructured interview which were conducted by three performing arts specialists, three costume design specialists, and three musicians. Research results were presented by the descriptive analysis.           The results revealed that the performing arts in the procession of the Somma Nam Khuen Pheng Seng Pratip Festival in Roi-Et province was a performance integrated traditional dance, Davaravati dance, and Khmer dance, in order to create the performance. The achievement of the performance depended on a performing format, a row format, dance styles, performance properties, costumes, and music, to create the harmonious performance and aesthetics of the show.           The study was found that cultural identities could be found in the costumes which indicate each culture in the procession.  Furthermore, the dance styles had different styles depending on each ethnic group. Therefore, the performing arts in the procession can be clearly indicated the origin of the history of ethnics which appeared in the performance.
         นาฏกรรมในขบวนแห่ประเพณีสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป  จังหวัดร้อยเอ็ด  มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบในขบวนแห่ประเพณีสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป และเพื่อศึกษานาฏกรรมในขบวนแห่ประเพณีสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป จังหวัดร้อยเอ็ด เครื่องมือที่ใช้ในการทำข้อมูลได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์  จากผู้รู้ด้านนาฏศิลป์ จำนวน 3 คน ด้านเครื่องแต่งกาย จำนวน 3 คน และ นักดนตรี จำนวน 3 คน และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์          ผลการวิจัยพบว่านาฏกรรมในขบวนแห่ประเพณีสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการแสดงที่ใช้ท่ารำของนาฏศิลป์พื้นเมือง การใช้ท่ารำแบบการรำสมัยทวารวดี การใช้ท่ารำแบบการรำขอม มาประดิษฐ์และประกอบสร้างเป็นกระบวนท่ารำซึ่งการสร้างสรรค์จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยองค์ประกอบการสร้างสรรค์นาฏกรรมที่ประกอบด้วย รูปแบบการแสดง รูปแบบแถว ลีลาท่ารำ และอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการแสดง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ดนตรี เพื่อประกอบสร้างแสดงที่มีความสัมพันธ์กันอย่างลงตัวและเกิดสุนทรียภาพของการแสดง         จากการศึกษานาฏกรรมในขบวนแห่ประเพณีสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป  จังหวัดร้อยเอ็ดพบว่ามีเอกลักษณ์ที่สำคัญทางวัฒนธรรมที่พบจากการเครื่องแต่งกายที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของแต่ละวัฒนธรรมที่ปรากฏในขบวนแห่ อีกทั้งลีลาท่ารำที่แสดงยังมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามเชื้อชาติที่โดยนำมาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เมื่อนำมาแสดงแล้วยังคงมีความสวยงาม จึงเห็นได้ว่านาฏกรรมที่ปรากฏในขบวนแห่นั้นสามารถบ่งบอกถึงที่มาของเชื้อชาติทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในรูปแบบการแสดงประเพณีได้อย่างสวยงาม
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2483
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010682007.pdf13.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.