Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/249
Title: Imprementation of National Alcohol Policy Strategy in Amnatcharoen and Sisaket in 2016. 
การศึกษาการดำเนินยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติในจังหวัดอำนาจเจริญและศรีสะเกษ ปี 2559
Authors: Chuttima Boonklang
ชุติมา บุญกลาง
Surasak Chaiyasong
สุรศักดิ์ ไชยสงค์
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: ยุทธศาสตร์
แอลกอฮอล์
การดำเนินยุทธศาสตร์แอลกอฮอล์
Strategy
Alcohol
Performance of the national alcohol
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research was to evaluate implementation of the national alcohol policy strategy in Amnat Charoen Province and Sisaket Province in 2016 using the Stufflebeam's CIPP Model. This research is evaluation research  based on data for three sources including ; annual reports of the provinces, In-depth interviews of 33 stakeholders, and the surveys of general population of Health Promotion Policy Research Center. Quantitative and qualitative data were analyzed to evaluate the implementation in terms of context, input, process and product. The results revealed  that in Amnat Charoen province, context: prevalence of 15-19-year drinkers was 54.49% higher than national average and drinking was very high in new-year period. For input,   manpower is sufficient with  supporting budget from Thai Health Promotion Foundation For process, the province had official letters to all organizations to support the implementation. For product, the province had done a number of alcohol prevention campaigns and surveillance of alcohol law violation but there was lack of enforcement. In Srisaket province, its context was similar to Amnat Charoen with 40.51% of 15-19-year drinkers and very high drinking during new-year period, For input, there is sufficient manpower and budget from Thai Health Promotion Foundation and Provincial Administration Organization. For process, the province had set a working committee. There were partners and networks working with the committees especially the youth network. For product, the province officially announced that Srisaket would be an alcohol-free province.  It had a successful no-alcohol community, as a role model community, located in  Siao sub-district, Posrisuwan district). In conclusion, Amnat Charoen and Srisaket had outputs of the implemented strategies differently based on context, input and process of the provinces. This study suggests that the provinces should further implement the strategies targeting to protect young people from alcohol and should extend its scope to other people affected from alcohol-related problems.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์แอลกอฮอล์ระดับชาติในจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดศรีสะเกษ ปี 2559 ตามกรอบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam)  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยประเมินผล โดยใช้ข้อมูลจาก 3 ส่วน คือ รายงานผลการดำเนินงานของจังหวัด การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 33 คน และการสำรวจข้อมูลในประชาชนทั่วไป ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อประเมินผลด้านบริบท (Context) ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลการดำเนินงาน (Product)  ผลการวิจัย พบว่า ในจังหวัดอำนาจเจริญ ด้านบริบท มีผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อายุ 15-19 ปี ร้อยละ 54.49 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ดื่มมากที่สุดในช่วงเทศกาลปีใหม่ ด้านปัจจัยนำเข้ามีบุคลากรเพียงพอในการปฏิบัติงาน และงบการดำเนินงานจาก สสส. ด้านกระบวนการ มีการติดตามงานผ่านหนังสือสั่งการภายในจังหวัด มีการรณรงค์งดเหล้าครบพรรษาหน่วยงานทุกหน่วยงาน  มีการเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ร่วมกับภาคีเครือข่าย และด้านผลการดำเนินงาน  ผลที่ได้เน้นการรณรงค์ ป้องปรามการกระทำผิดกฎหมาย แต่การบังคับใช้กฎหมายยังไม่มีความเข้มงวด ในจังหวัดศรีสะเกษ ด้านบริบทมีผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อายุ 15 -19 ปี ร้อยละ 40.51  ดื่มมากที่สุดในช่วงเทศกาลปีใหม่ ด้านปัจจัยนำเข้าบุคลากรเพียงพอในการปฏิบัติงาน งบการดำเนินงานจากสสส.และองค์การบริหารส่วนจังหวัด ด้านกระบวนการมีการดำเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการฯ มีเครือข่ายเยาวชนร่วมดำเนินงาน ด้านผลการดำเนินงานมีการประกาศ “จังหวัดศรีสะเกษจะเป็นจังหวัดปลอดเหล้า” มีตำบลต้นแบบปลอดเหล้า คือ ตำบลเสียว อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ  โดยสรุป จังหวัดอำนาจเจริญและศรีสะเกษมีผลการดำเนินยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ไปตามบริบท ปัจจัยนำเข้าและกระบวนการของจังหวัดที่แตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้จังหวัดดำเนินยุทธศาสตร์โดยเน้นการป้องกันกลุ่มเด็กและวัยรุ่นจากแอลกอฮอล์ และควรขยายกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมไปยังผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/249
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56051480005.pdf6.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.