Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/251
Title: Wood Vinegar Production from Areca nut (Areca catechu L.)
การผลิตน้ำส้มควันไม้จากเปลือกหมาก
Authors: Budsara Srichai
บุศรา ศรีชัย
Pinyapach Dungkokkruad
ภิญญาพัชญ์ ดุงโคกกรวด
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: น้ำส้มควันไม้
เปลือกหมาก
การทำน้ำส้มควันไม้ให้บริสุทธิ์
Wood Vinegar
Areca nut
Removal of tar
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The problem of Peel Left over from the dried pieces of Areca nut. that accumulated around the house or agricultural area. Become on the environment and health of the people. This study aimed to produce wood vinegar using the Areca nut; Carbonization the peel at various temperatures, Temperature range (1 301-320๐C, (2) 321-340๐C, (3) 341-360๐C and vinegar was condensed at room temperature water (27๐C) compared with cool water (20๐), then purified the vinegar by method (1) Filter together with adsorbent by amphetamines, (2) Aerated-activated carbon together with filter compare with method (3) Silt for 90 days. Vinegar characteristic was investigate both physical and chemical properties. Data were analyzed by descriptive statistics comparing with community product standards, and using Nonparametric Kruskal Wallis Test and The Mann-Whitney U Test compare the quality of wood vinegar. The results of the study showed that the quantity of carbonization production at range (1) temperature, cooling with cool water gave highest quantity of wood vinegar at 4.92 % w/v. The carbonization temperature range and cooling temperature gave statistically different quantity (P = 0.027 and 0.046). Properties analysis of wood vinegar found that the physical properties of raw wood vinegar in all production processes are not met by the community standard. However all purification processes increase the specific gravity and the transmittance (clearance). To product highest quantity of wood vinegar is carbonized at range (2) temperature, cooling with cool water then purified by method (3) showed pH, specific gravity, transmittance and production quantity were 3.96, 1.0115, 59.8 and 4.10 % v/w respectively. The chemical properties of the wood vinegar is composed of 22 different types of compounds. Organic compounds found highest production at 46.85% the production range (1) temperature, cooling with cool water then purified by method (1) with acetic acid content was 11.72 mg / ml. In addition, Phenol compounds found highest production at 63.87% the production range (3) temperature, cooling with cool water then purified by method (2) with phenol content was 11.49 mg / ml. In conclusion, Production of wood vinegar from Areca nut peel by those method is equipment materials can be obtained locally. The wood vinegar can be obtained locally. The vinegar use in agriculture, to removal of plant pathogens such as, fungi, bacteria and viruses. However all the vinegar should be diluted to the appropriate conditions before using of those objectives.
ปัญหาเศษเปลือกหมากเหลือทิ้งจากการทำหมากแห้ง ที่สะสมหมักหมมไว้รอบบริเวณบ้าน หรือพื้นที่ทางการเกษตร กลายเป็นของเสียที่ ส่งผลต่อสภาพแวดล้อม และ สุขภาพอนามัยของประชาชน การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเปลือกหมากมาใช้ประโยชน์ในการผลิตน้ำส้มควันไม้ โดยการเผาถ่านเปลือกหมากช่วงหภูมิ (1) 301-320 oC ,(2) 321-340oC และ (3) 341-360 oC เก็บน้ำส้มควันไม้โดยอุณหภูมิหล่อเย็นในการควบแน่นน้ำส้มควันไม้ด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง และ น้ำเย็น นำไปผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ 3 วิธี ได้แก่ (1) กรองด้วยกรวดและทรายร่วมกับการดูดซับด้วยธูปฤษี, (2) การเติมอากาศ-ถ่านกัมมันต์ ร่วมกับกรองด้วยกรวดและทราย เปรียบเทียบกับ (3) การทิ้งให้ตกตะกอน 90 วัน ตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพ และทางเคมี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดบใช้สถิติเชิงพรรณนาเปรียบเทียบกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และสถิติเชิงอนุมาน คือ nonparametric Kruskal Wallis Test และ The Mann-Whitney U Test เปรียบเทียบ อัตราการผลิต คุณภาพของน้ำส้มควันไม้ จากผลการศึกษา ปริมาณการผลิต พบว่า การเผาถ่านเปลือกหมากช่วงอุณหภูมิที่ (1) และ หล่อเย็นด้วยน้ำเย็นได้ปริมาณน้ำส้มควันไม้มากที่สุด อัตราการผลิตอยู่ที่ 4.92 % w/v โดย ช่วงอุณหภูมิการผลิต และ อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น แตกต่างกัน จะทำให้ได้ปริมาณน้ำส้มควันไม้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.027และ0.046) คุณสมบัติของน้ำส้มควันไม้ พบว่า คุณลักษณะทางกายภาพของน้ำส้มควันไม้ก่อนการทำให้บริสุทธิ์ไม่ผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำส้มควันไม้ การนำไปผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ทุกวิธี ส่งผลให้ค่าความถ่วงจำเพาะ และ ค่าความส่งส่งผ่านของแสง (%T) มากขึ้น ซึ่งเมื่อเปรียเทียบกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน การผลิตน้ำส้มควันไม้ดีที่สุดคือ การเผาถ่านเปลือกหมากช่วงอุณหภูมิที่ (2) และหล่อเย็นด้วยน้ำเย็น จากนั้นทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีที่ (3) ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าความถ่วงจำเพาะ ค่าความส่งผ่านของแสง (%T) (ความใส) และ อัตราการผลิต เท่ากับ 3.96 ,1.0115, 59.8 และ 4.10 % w/v ตามลำดับ และพบว่า คุณสมบัติทางกายภาพของน้ำส้มควันไม้ที่ผ่านการทำให้บริสุธิ์ด้วยวิธีที่ (1) และวิธีที่ (3) ไม่แตกต่างกัน ด้านคุณลักษณะทางเคมีของน้ำส้มควันไม้ พบสารประกอบ 22 ชนิด โดยพบ สารกลุ่ม Organic acid มากที่สุด 46.85 % จากการเผาถ่านเปลือกหมากช่วงอุณหภูมิที่ (1) และ หล่อเย็นด้วยน้ำเย็น จากนั้นทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีที่ (1) ปริมาณ Acetic acid และ11.72 mg/ml และ พบสารกลุ่ม Phenol compound มากที่สุด 63.87 % จากการเผาถ่านเปลือกหมากช่วงอุณหภูมีที่(3) และหล่อเย็นด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง จากนั้นทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีที่ (2) ปริมาณ Phenol และ 11.49 mg/ml โดยสรุป การผลิตน้ำส้มควันไม้จากเปลือกหมากโดยวิธีการดังกล่าว เป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่ายใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น สามารถนำไปใช้แทนสารเคมีในการกำจัดเชื้อโรคในพืช เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส อย่างไรก็ตามก่อนที่จะนำไปใช้ควรนำน้ำส้มควันไม้มาเจือจางให้เกิดสภาวะที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/251
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57011480022.pdf6.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.